ReadyPlanet.com
dot


หนุ่ม พยากรณ์


ขออนุญาตแนะนำเวบใหม่ด้วยครับ
 
 
เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโหราศาสตร์ บริการสนับสนุนโปรแกรมโหราศาสตร์ยูเรเนียน Uranus ด้วยครับ
 
มีข้อเสนอทางวิชาการเพื่อเป็นการทดลองครับลองอ่านบทความว่าด้วย โค้งจันทร์ยาตร์
 
 
ขอแลกเปลี่ยนความเห็นครับ
 
ขอขอบคุณครับ


ผู้ตั้งกระทู้ หนุ่ม พยากรณ์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-08 17:02:23 IP : 58.8.122.211


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (889668)
ความรู้ผมไม่ถึงพอจะวิจารณ์ แต่ผมชอบแบบนี้แหละ อยากเห็นการเผยแพร่วิชาการและแนวความคิดเช่นนี้ แต่ที่สำคัญเมื่อใครนำไปทดลองใช้ได้ผลอย่างไร อยากให้อ้างอิงไว้ด้วยว่าเป็นแนวคิดของท่านผู้นั้นผู้นี้ และผมได้มาทดลองต่อได้ผลอย่างนี้อย่างนั้น
ผู้แสดงความคิดเห็น ขาจรประจำ วันที่ตอบ 2008-01-08 20:39:40 IP : 117.47.146.176


ความคิดเห็นที่ 2 (889810)

ยินดีมากครับที่มีเว็บไซต์โหราศาสตร์ยูเรเนียนเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บไซต์ โดยเฉพาะเป็นเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรม ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยสื่อสารกับผู้พัฒนาโปรแกรมได้ น่าจะช่วยให้การพัฒนาโปรแกรมเป็นไปได้ตรงใจผู้ใช้มากขึ้น

สำหรับบทความของคุณหนุ่มเรื่องโค้งจันทรยาตร์นั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผมเองเคยอ่านเรื่องนี้ในตำราโหราศาสตร์ยูเรเนียนทางไกลของอาจารย์ประยูร พลอารีย์ แต่ก็ไม่ได้นำมาใช้เป็นเรื่องเป็นราวซักที พอคุณหนุ่มเขียนบทความนี้ขึ้นก็ได้โอกาสไปอ่านทวนอีกครั้ง

เนื่องจากคุณหนุ่มแจ้งว่า ขอแลกเปลี่ยนความเห็น จึงขออนุญาตคัดลอกบางส่วนของตำราอาจารย์ต่างๆและขอแสดงความเห็นส่วนตัวบางส่วนเผื่อว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นบ้าง

ในตำราโหราศาสตร์ยูเรเนียนหลักสูตรการศึกษาถิ่นไกล ของโรงเรียนโหราศาสตร์กรุงเทพ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยอาจารย์ประยูร พลอารีย์ ได้เขียนในบทเรียนเรื่อง การพยากรณ์จรตามอายุขัย ตอน โค้งจันทร์ยาตร์  ว่า

".. โค้งจันทร์ยาตร์ คือระยะเชิงมุมระหว่าง จันทร์จรสุริยคติ  กับ จันทร์กำเนิด ซึ่งอาจคำนวณได้จาก สูตร
     โค้งจันทร์ยาตร์ = จันทร์ (จค) - จันทร์ (กน)

          เนื่องจาก จันทร์ เป็นปัจจัยทางโหราศาสตร์ที่ โคจรเร็วมาก เพราะฉะนั้น โค้งจันทรยาตร์อาจมีค่าถึง 360 องศา หรือกว่านั้น (คือทบไปอีก 1 รอบจักรราศี) ก็ได้ โดยเฉลี่ยแล้ว โค้งจันทรยาตร์ จะมีค่า เท่ากับ 360 องศา เมื่อเจ้าชะตาอายุ 28 ปี กล่าวคือ จันทร์ (จค) โคจรมา ทับ จันทร์กำเนิดในดวงชะตา.."

"..โค้งสุริยาตร์ ก็ดี โค้งจันทรยาตร์ ก็ดี ความจริงก็คือ กุญแจการพยากรณ์จรตามอายุขัย ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งเมื่อนำเอาไปบวกเข้ากับ สมผุส ของดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยต่างๆในดวงชะตา เราก็จะได้ดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยต่างๆ ในตำแหน่งใหม่ หรือพูดตามเทคนิคของวิชาโหราศาสตร์ ก็คือ ทำให้เกิด ดาวพระเคราะห์จร หรือ ปัจจัยจร ขึ้นอีกชนิดหนึ่ง.."

"..ดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยจรสุริยยาตร์ จะเป็นผู้กำหนด "ปี" ที่จะเกิดเหตุการณ์ ส่วนดาวพระเคราะห์หรือปัจจัยจรจันทรยาตร์ จะเป็นผู้กำหนด เดือน ที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่ปรากฏในดวงชะตากำเนิด และจะต้องเป็นที่เข้าใจกัน ว่า การพยากรณ์โดยอาศัย "โค้งจันทรยาตร์" จะต้องอยู่ในกรอบหรือขอบเขตของการพยากรณ์โดย "โค้งสุริยยาตร์" เสมอไป เพราะโค้งสุริยยาตร์ เป็นผู้บอก "ปี" ตามปรัชญาการพยากรณ์จร ดังได้กล่าวมาแล้ว.."

          จากนั้นอาจารย์ท่านก็ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องออกจากประเทศไทยไปเมื่อ ต.ค. 2516 โดยชี้ให้ดูแกนดาวสำคัญในดวงชะตากำเนิด 2 แกน เมื่อบวกโค้งสุริยยาตร์กับแกนดาวชุดหนึ่งก็จะทำมุมกับแกนดาวอีกชุดหนึ่ง (บอกปี) และตามด้วย เสาร์+โค้งจันทรยาตร์ (เสาร์จรจันทรยาตร์) ทำมุมเล็งกับจันทร์กำเนิดในเดือน ต.ค. 2516 พอดี

          สำหรับตัวย่อของปัจจัยจรจันทรยาตร์นั้น อาจารย์ประยูรท่านให้ตัวย่อว่า "จจย" เช่น เสาร์+โค้งจันทรยาตร์ คือ เสาร์ (จจย) ซึ่งต่างกับคุณหนุ่ม พยากรณ์ที่เขียนในบทความว่า "จยย"

          คุณหนุ่ม พยากรณ์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อัตราการโคจรของจันทร์จรสุริยคติ (หรือจันทร์โปรเกรส) เท่ากับ 28 ปีต่อรอบจักรราศี ทำให้ทุก 7 ปี จันทร์โปรเกรสจะเข้าแกน 1-4-7-10 หรือเท่ากับยูเรนัสย้ายราศีนั้น ผมขอเพิ่มข้อสังเกตนิดนึงว่า จะตรงกับรอบ 1-4-7-10 ของดาวเสาร์ด้วย เพราะฉะนั้น คำพังเพยทั้งไทยและฝรั่งจะมีกล่าวถึงรอบ 7 ปีอยู่เสมอ ที่สำคัญคือรอบ 28-29 ปี เพราะจะตรงกับรอบของดาวเสาร์, รอบจันทร์โปรเกรส, รอบยูเรนัสทำมุม 120 องศากับยูเรนัสเดิม และวงรอบสุริยคติ (จังหวะเวลาที่วันที่ของเดือนกับวันในสัปดาห์หวนกลับมาตรงกันอีก เช่น 8 ม.ค. 2551 ตรงกับวันอังคาร ดังนั้น 8 ม.ค. 2579 ก็จะตรงกับวันอังคารด้วย) เรื่องวงรอบเป็นเรื่องที่สนุกมากครับ อาจารย์วิโรจน์มักเน้นย้ำในห้องเรียนอยู่เสมอ

          ในบทความของคุณหนุ่ม พยากรณ์ได้เสนอมุมมองทางวิชาการใหม่ว่าด้วย จันทร์จรจันทรคติ นั้น ผมอ่านดูหลายรอบแล้ว ต้องขออนุญาตแสดงความเห็นที่ต่างกันออกไปว่า จันทร์จรจันทรคติที่คุณหนุ่มเสนอนั้น ยังไม่น่าจะใช่จันทรคติจริงๆ เพราะยังมีสุริยคติแฝงอยู่ ทำให้สูตรคำนวณค่าโค้งจันทรยาตร์จันทรคติยังไม่น่าจะถูกต้องนัก

          ที่ผมกล่าวอย่างนั้นเพราะว่า จากหลักการจรสุริยคติ (Progression) นั้น ใช้หลักที่ว่า 1 วัน เทียบได้กับ 1 ปี โดยเทียบจากการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบของโลกหรืออีกนัยหนึ่งระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้าอีกครั้ง (1 วัน) กับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกหรือดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกในมุมมองของ Geocentric (1 ปี)

          เมื่อพิจารณาข้อเสนอของคุณหนุ่ม พยากรณ์ ที่ว่า 1 วันของจันทร์ เทียบได้กับ 1 เดือนทางจันทรคติ เราก็ต้องพิจารณา 1 วันของจันทร์นั้นเท่ากับความนานเท่าไร ซึ่งตรงนี้เกิดปัญหาเพราะหากเราบอกว่า จันทร์โคจรไปประมาณ 12 องศาต่อวันนั้น คำว่า วัน เป็นการอ้างอิงจากดวงอาทิตย์ ไม่ใช่จันทร์ ผมจึงคิดว่า ยังไม่ใช่จันทรคติจริงๆ แต่ยังอาศัยสุริยคติบอกความนานของเหตุการณ์อยู่ หากเราต้องการจะบอกว่า 1 วันของจันทร์เมื่อเทียบกับโลก ก็อาจต้องสังเกตว่า ระยะเวลาที่จันทร์จะปรากฏซ้ำตรงขอบฟ้า ณ ตำแหน่งที่เราสังเกตนั้นใช้เวลานานเท่าไร และจันทร์โคจรไปได้กี่องศาตามจักรราศี ซึ่งไม่ง่ายเลย

          ความเห็นของผมที่เขียนมาเป็นความเห็นทางวิชาการล้วนๆ และเขียนตามความเข้าใจของผม ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ อย่างไรก็ตามก็ขอขอบคุณคุณหนุ่ม พยากรณ์มากครับ ที่เขียนบทความดีๆมาให้อ่าน ทำให้ผมได้โอกาสกลับไปทบทวนความรู้ที่เคยคิดว่ารู้แล้วให้เข้าใจมากขึ้น เชื่อว่านักโหราศาสตร์หลายท่านก็ได้ประโยชน์จากบทความคุณหนุ่มไปไม่น้อยเช่นกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2008-01-09 00:33:12 IP : 125.25.134.125


ความคิดเห็นที่ 3 (890162)
ขอบคุณที่ให้ความเห็นครับ
 
เรื่องคำย่อ จยย. ที่ผมใช้เป็นความผิดพลาดของผมเองครับ ที่จริงก็ใช้ จจย. แหละครับ จึงได้แก้ไขในบทความแล้วครับ
 
สำหรับข้อเสนอ จันทร์จรจันทรคติ เพื่อใช้ในการคำนวณหาโค้งจันทรยาตร์แบบจันทรคติ ต่อไปนั้น ข้อเสนอแนะของคุณ Pallas เป็นเรื่องที่ผมคิดอยู่เช่นกัน ซึ่งเห็นตรงกับคุณ Pallas ว่าทำให้ค่อนข้างยุ่งยากในการคำนวณเพื่อค่าจันทร์จรถึงจุดขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเดิม กล่าวคือต้องหาลัคนาพระเคราะห์(จันทร์)ประจำวันก่อน(คล้ายกับการคำนวณแบบ 10 ลัคน์ในโหราศาสตร์ไทย) หากพิจารณาแนวทางการคำนวณ อาจสรุปผลการคำนวณได้ 2-3 แบบ ซึ่งให้ผลลัพท์ต่างกันอยู่บ้าง บังเอิญผมยังไม่ได้แสดงวิธีการคำนวณจึงอาจทำให้ผู้อ่านตีความไปเป็นอย่างอื่นได้ ผมเลือกวิธีการคำนวณเป็น Pilot Project ก่อนโดยใช้วิธีการคำนวณจากแนวคิดดังนี้ครับ
1. หลักการพื้นฐานในการคำนวณเพื่อหาค่าโค้งสุริยยาตร์หรือจันทรยาตร์เดิม จะใช้วิธีหาวันดัชนี วันถัดไปจากวันกำเนิด เพื่อได้ค่าองศา เป็น อาทิตย์จรสุริยคติ หรือ จันทร์จรสุริยคติ เมื่อได้วันดัชนีแล้ว เราสามารถไปเปิดปฏิทินโหราศาสตร์เพื่อดูค่าสัมผุสดาวของอาทิตย์หรือจันทร์ จากนั้นเมื่อต้องการหาค่าโค้งก็น่า ค่าสุริยคติ อาทิตย์(สค)-อาทิตย์(กน) หรือ จันทร์(สค)-จันทร์(กน) แล้วแต่กรณี กรณีอายุเต็มก็ใช้วันที่ถัดไปตามอายุนั้น หรือหากเป็นอายุละเอียดเป็นเดือนวัน ก็ต้องคำนวณหาค่าเฉลี่ยอกกมาเป็นชั่วโมง นาทีดัชนีต่อไป
2. สำหรับการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในงานโหราศาสตร์ ก็สามารถใช้วิธีคำนวณดังกล่าวโดยให้เครื่องคำนวณให้ เพื่อให้ได้วันดัชนีดังกล่าวได้เลย
3. หรือ อาจใช้วิธีลัดโดยใช้ค่าวงรอบอาทิตย์โคจรถึงจุดเดิม ซึ่งมีค่าประมาณ 365.254 วัน โดยประมาณ นำไปหารจากอายุจริง จะได้เป็นค่าวันดัชนี ณ วันนั้น เวลานั้น ได้ทันที
3. การคำนวณจันทร์จรจันทรคติ ที่ผมใช้คำนวณตอนนี้ ใช้ตามหลักการข้อ 3 โดยใช้ ค่าคำนวณรอบจันทร์ทางจันทรคติ 1 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งมีค่าประมาณ 29.53 วัน
4. จึงเหมือนเป็นการอ้างอิงแบบจันทรคติอยู่แล้ว ผลจะไม่ต่างกับการคำนวณหาอัตราการโคจรของจันทร์ 1 วัน ตามข้อเสนอของคุณ Pallas มากนัก กล่าวคือจันทร์จรสุริยคติจะมีค่า 1 รอบจันทร์มากกว่า จันทร์จร 1 แบบสุริยคติ 1 วันอยู่เล็กน้อย (ประมาณ 30 ลิปดา)
 
อย่างไรก็ดี ผลคำนวณถึงจะมีความสำคัญ แต่ประเด็นหลักที่น่าจะแลกเปลี่ยนคือแนวคิดในการนำมาใช้ และการทดลองใช้จริงว่า ให้ผลเป็นที่ประทับใจเพียงพอหรือไม่
 
จากตัวอย่างกรณีของจอมพลถนอม หากดูต่อด้วยโค้งจันทรยาตร์จันทรคติ(จจย.จค) ปรากฏว่าวันที่ 16 ตค.16 มีค่าโค้งจันทรยาตร์จันทรคติ= 54.56 อาทิตย์(จจย.จค)จรทับ มร(กน), จันทร์(จจย.จค) = จันทร์(กน) , สร(จจย.จค)สะท้อน = สร(กน)=ลค(กน) , สร(จรบนฟ้า)= สร(จจย.จค) อท(บนฟ้า)=มร(จจย.จค)
 
เช่นกันครับ ข้อเสนอของผมเป็นการค้นคว้าทางวิชาการ ไม่ได้หมายถึงว่าจะถูกต้องแต่อย่างใด หากใครนำไปทดลองใช้ ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นแนวทางประกอบหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นระบบการพยากรณืใหม่แต่อย่างใด ยังคงยึดหลักปรัชญาพื้นฐานเดิม หากนำไปใช้แล้วไม่ได้ผลหรือติดขัดอย่างใด ยินดีน้อมรับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแล้ว
 
อนึ่ง ในโปรแกรมยูเรนัส ผมจึงได้ Update วิธีการพยากรณ์ด้วยโค้งจันทรยาตร์ทั้ง 2 แบบไว้แล้ว เพื่อให้นักโหราศาสตร์สามารถทดลองได้ สำหรับนักโหราศาตร์ที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม ก็สามารถทดลองคำนวณหาวันดัชนีตามวิธีการที่ผมเสนอได้
 
ขอขอบคุณที่ร่วมกันแสดงความเห็นทางวิชาการครับ
 
หนุ่ม พยากรณ์
ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-09 13:04:04 IP : 210.246.184.2


ความคิดเห็นที่ 4 (890372)

ขอบคุณคุณหนุ่มที่ช่วยอธิบายเพิ่มเติมครับ ตัวผมเองไม่ได้เลือกเอาดีทางการคำนวณซักเท่าไหร่ครับ ดังนั้น ความเห็นของผมครั้งก่อนจึงเน้นที่หลักปรัชญาที่ใช้อุปมาอุปมัย ไม่ใช่วิธีการคำนวณ เพราะผมอยากให้คนที่นำไปใช้เข้าใจปรัชญาที่มาก่อนที่จะนำไปใช้งานครับ ในบทความของคุณหนุ่มอาจจะอธิบายปรัชญาตรงนี้สั้นไปหน่อย ก็เลยอาจจะไม่เข้าใจที่มาที่ไปของผลลัพธ์

แนวคิดของคุณหนุ่มตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า

          1 วันทางจันทรคติ = 1 เดือนทางจันทรคติ

ก่อนที่จะพิจารณาปรัชญาดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจความหมายของคำดังกล่าวก่อน สำหรับด้านขวาของสมการ คือ 1 เดือนทางจันทรคติ คุณหนุ่มก็ได้อธิบายแล้วว่าหมายถึงรอบ 29.53 วันโดยประมาณ ซึ่งเป็นรอบ Synodic ซึ่งก็ตรงกับความเห็นส่วนตัวของผม แต่สำหรับด้านซ้ายของสมการคือ 1 วันทางจันทรคติ คุณหนุ่มยังไม่ได้อธิบายในบทความ ผมเลยตั้งเป็นสมมติฐานว่า หมายถึงรอบที่จันทร์ปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออก หรือไม่? ซึ่งดูเหมือนว่าคุณหนุ่มจะตอบว่าใช่ สำหรับการคำนวณ 1 วันทางจันทรคติ ผมได้ลองให้โปรแกรม Solar Fire คำนวณดูพบว่า 1 รอบของจันทร์ที่ปรากฏบนขอบฟ้าตะวันออกในแต่ละวัน จะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง 50 นาที หรือคำนวณเป็นอัตราโคจรของจันทร์ก็จะมากกว่าจันทร์จรแบบสุริยคติประมาณ 27 ลิบดา (แต่ละวันมีการผันแปรตามวงรอบของจันทร์อีกด้วย) ผลลัพธ์ออกมาก็ใกล้เคียงกับที่คุณหนุ่มบอกนั่นล่ะครับ

หากนิยามของคำทั้งสองที่ผมเข้าใจตรงกับสมมติฐานที่คุณหนุ่มเสนอมา ผมก็คิดว่า ทฤษฎีดังกล่าวน่าจะเป็นไปได้ตามหลักปรัชญา แต่ผลลัพธ์จะแรงและน่าประทับใจขนาดไหน ก็คงต้องฝากคุณหนุ่มและท่านอื่นที่สนใจศึกษาทดลองกันต่อไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2008-01-09 17:07:40 IP : 61.90.143.87


ความคิดเห็นที่ 5 (891957)
สมแล้วที่คุณ Pallas เป็นนักวิชาการค้นคว้าทางโหราศาสตร์ ที่โดดเด่นคนหนึ่งของเมืองไทย รูปแบบการเขียนบทความของคุณ ดี น่าประทับใจ วิธีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล เป็นไปตามหลักบรรณานุกรม เท่าที่ผมเห็นในเมืองไทย มีผู้ที่เขียนตำราหรือบทความทางโหราศาสตร์ที่ดีแบบนี้ ไม่เกิน 6-7 คน (ผมไม่เป็นหนึ่งในนั้นนะครับ) หวังว่าคุณคงพัฒนาออกมาเป็นตำราทางวิชาการโหราศาสตร์ต่อไป
 
ต่อไปคงเป็นเรื่องของการนำการพยากรณ์ด้วยจันทรยาตร์จันทรคติ ไปใช้นะครับ ว่าในทางปฏิบัติจะให้ผลออกมาน่าประทับเพียงพอหรือไม่ครับ
 
ขอบคุณครับ
 
หนุ่ม
ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-11 14:21:31 IP : 58.8.124.230


ความคิดเห็นที่ 6 (892495)
กลับมาดูกระทู้ อ้าวลืมก๊อปปี๊ ส่วนที่ตอบคำถามมาด้วย มัวแต่ชื่นชมคุณ Pallas เลยขอโพสต์ย้อนหลังนิดนึงครับ
 
ที่คุณ Pallas เข้าใจนั้นตรงตามแนวคิดที่ผมตั้งสมมติฐานไว้ครับ คือต้องการให้เป็นจันทรคติจริงๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้อิทธิพลของจันทร์อย่างเต็มที่ แต่ในทางคำนวณหากต้องมาหาจุดขอบฟ้าทางตะวันออกของจันทร์ (ลัคนาจันทร์) มันยุ่งยากเกินจะรับได้ ดังนั้นผมจึงใช้วงรอบทางจันทรคติ 29.53 วัน(Synodic ) โดยประมาณ เป็นตัวหารเพื่อหาวันดัชนี ผลลัพท์ที่ได้ก็ตรงกับที่คุณ Pallas ตรวจสอบ คือตำแหน่งของลัคนาจันทร์ จะเคลือนไปประมาณ 30 ลิปดา แปลงเป็นนาทีก็ประมาณ 50 นาทีนั่นแหละ ซึ่งก็คือเวลาน้ำขึ้น-ลง ของแต่ละวันที่เคลื่อนไปด้วยครับ ตรงนี้ในทรรศนะผม ยิ่งยืนยันว่าจันทร์มีอิทธิพลซึ่งผมจึงคิดว่าวงรอบจันทรคติ น่าจะนำมาใช้ได้ (แต่วิธีการไม่จำเป็นอย่างที่ผมนำเสนอก็ได้)
 
ยกตัวอย่างการนำฤกษ์พระจันทร์มาใช้ 28 ฤกษ์ (เรือนชะตาจันทร์) ก็น่าจะมาจากหลักการนี้เช่นกัน จะเห็นว่าฤกษ์ที่ 28 ของรอบ จะข้ามเกินจากฤกษ์ที่ 1 ของรอบไป ถึงอมาวสีครั้งถัดไป
หมายเหตุ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.astroclassical.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=412208
 
เรื่องนี้ผมยังมีแนวความคิดในการคำนวณเรือนชะตาจันทร์ ว่าควรจะคำนวณตามจันทร์จรตามจันทรคติแต่ละวัน (ทางโหราศาสตร์ไทยเรียกว่า ดิถี)แล้วกำหนดเป็นเส้นแบ่งเรือนชะตาจันทร์ แทนที่จะกำหนดองศา Fix อย่างที่ใช้กันด้วยซ๊ำ(ในทางปฎิบัติใช้แบบองศา Fix เพราะคงไม่สะดวกในการคำนวณ แต่หากใช้โปรแกรมช่วยน่าจะทำได้) อีกสักระยะจะค้นคว้าเรื่องนี้ต่อ เรียกว่า เรือนชะตาจันทร์แบบไม่เท่า
 
สรุปคือ คุณ Pallas เข้าใจถูกต้องแล้วคร๊าบ.........
ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-12 09:25:51 IP : 202.5.83.235


ความคิดเห็นที่ 7 (900097)

ว่าด้วยเรื่อง...ยาตร์

เนื่องจากช่วงเวลาราวหนึ่งเดือนมานี้ มีท่านผู้เขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อหาโค้งจันทรยาตร์ขึ้นใช้กันในไทยได้แล้ว เข้าใจว่าในเจตนาจริงแท้นั้นเพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องดังกล่าวได้สะดวกขึ้น เพราะมิความต้องติดขัดในด้านการคำนวณอันซับซ้อนที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาให้ลึกซึ้งเข้าไปในแนวคิดปรัชญาจันทร์ดังกล่าวมาแต่อดีตกาลนานแล้ว

ร่องรอยที่ปรมโหราจารย์บางท่าน (เคยได้อ่านเพียงของ อาจารย์ พลตรี ประยูร พลอารีย์) ได้ทิ้งไว้ให้กระตุ้นความอยากรู้ต่อก็มีเพียงไม่กี่สิบคำ กับเหตุการณ์ตัวอย่างที่น้อยนัก ราวกับจะเกริ่นให้เพียงรู้มากกว่าที่ตั้งใจให้เป็นหลักใหญ่อันอยากฝากไว้ให้ไปค้นจนเป็นจริงเป็นจัง

แต่นั่นกลับยิ่งเป็นเสน่ห์ให้แก่ผู้ชอบค้นคว้าเพื่อจะรู้ในเรื่ิองที่ยังมีน้อยคนนักที่รู้แล้ว อันอาจทำให้ได้สร้างชื่อเสี่ยงแก่ตนต่อไปว่าเป็นผู้รื้อฟื้นหรือผู้บุกเบิกในหลักวิชาที่หลงลืมหรือสาบสูญให้กลับรุ่งเรืองขึ้นได้ใหม่อีกหน

อ.พุธลัคน์นับว่าเป็นท่านหนึ่งที่ได้ทำการค้นคว้าต่อในหลักการบางเรื่องที่คล้ายกันนี้จนได้ผลดียิ่งในการใช้งาน โดยเป็นเรื่องที่ปรมโหราจารย์ท่านเน้นย้ำไว้ว่าเป็นหลักการที่ใช้ได้อย่างสำคัญแต่หาคนรู้น้อย คือได้ทำการวิจัยในเรื่องทฤษฎีดาวเด่นในดวงชะตาจนลึกซึ้งถึงกับเป็นสูตรชัดเจนตายตัวทางคณิตศาสตร์ได้ทีเดียว มีที่ได้เขียนไว้ในหนังสือของ อ.พุธลัคน์ หลายเล่ม และได้สร้างให้มีฟังก์ชั่นนี้ใช้งานได้อยู่ในโปรแกรมแห่งสำนักของท่าน

กลับมาที่หลักการจันทรยาตร์นั้นอีกที ท่านผู้เสนอเครื่องมือช่วยในการคำนวณหรือโปรแกรมนั้นก็มิได้หวังจะเก็บกักไว้เพื่อใช้ในการสร้างงานวิจัยส่วนตัวจนเจนจัดก่อน อันจะเพื่อนำเสนอเป็นบทความที่สมบูรณ์ครบถ้วนด้วยที่มา หลักการ สมมติฐาน การทดสอบ ตัวอย่างในแง่มุมต่าง ๆ และสรุปผล เป็นข้อเสนออย่างที่นักวิชาการตามแนววิทยาศาสตร์ดังที่เขาทำกันแต่อย่างไร

คงเห็นเจตนาได้ชัดเจนแล้วว่ามิได้จะหวงแหนไว้กับตัว แต่ปรารถนาจะแจกจ่ายให้ได้ทดสอบค้นคว้าไปพร้อม ๆ กันทั่ว ๆ ไป แม้นว่าจะมีผู้ติติงบ้างว่าเป็นการหวังจะขายโปรแกรมหรือไม่ แต่คิดเห็นว่าประเด็นนี้คงไม่จริงนัก เพราะเป็นที่ทราบกันดีในผู้คนวงการนี้ว่า โดยมากก็ซื้อโปรแกรมนี้กันไปเสียหมดแล้ว (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) จึงน่าจะเหลือน้อยคนนักที่จะซื้อโปรแกรมนี้เพิ่มได้อีก ดังนั้นจึงน่าจะเป็นอภินันทนาการแก่กันมากกว่า คือไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่มีความสามารถใหม่ ๆ ให้ใช้เพิ่มอีกเรื่อย ๆ

แต่ผู้เขียนก็แอบหวังอยู่ไม่น้อยที่จะได้เห็นท่านผู้เสนอเรื่องจันทรยาตร์นี้จะกรุณาแสดงตัวอย่างการใช้ที่สัมฤทธิ์ผลจำนวนมาก ๆ หน่อยในงานเสวนาของกลุ่ม SkyClock ที่จะจัดให้มีขึ้นในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ซึ่งคุ้มค่าที่จะต้องไปฟังกันอย่างแน่นอน

การใช้จันทรยาตร์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าจะพอมีตัวอย่างใช้ได้จริงจำนวนมากอยู่ในหนังสืออันฝรั่งเขียน หากแต่ว่าไปตรงกันกับที่เขาใช้จันทร์ในดวง Progressed คือจันทร์ที่เคลื่อนไปตามเวลาอาทิตย์แต่ละวันซะมากกว่า กล่าวคือ 1 วันตามอาทิตย์ จันทร์อยู่ไหนนั่นคือ Progressed MO และก็เสมือนกับเป็นดวงโค้งจันทรยาตร์ (MOv3 ตามสัญลักษณ์ในโปรแกรม) ที่ดูจันทร์เพียงปัจจัยเดียวนั่นเอง กล่าวคือไม่เอาค่าจันทร์ไปบวกกับปัจจัยอื่นเพื่อขยับปัจจัยอื่นไปตามโค้งของจันทร์ประจำวันในวันถัด ๆ ไปนั้น สรุปได้ว่าในกรณีที่ฝรั่งใช้ Progressed MO นั้น ก็คือ MOv3 หรือ จค นั่นเอง

ดวง Progressed ของโหราศาสตร์สากลใช้กันได้ใช้กันดีมีมานานแล้ว และนิยมกันในวงการนั้นมากเหลือเกิน หากแต่เขานิยมใช้เฉพาะแต่จันทร์อย่างยิ่ง (และปัจจัยเล็ก ๆ ที่เดินเร็วอื่น ๆ ซึ่งก็คือ พุธ, ศุกร์ เป็นต้น ซึ่งจะว่าไปก็เดินใกล้เคียงกับอาทิตย์ในสุริยยาตร์นั่นเอง ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลข้างเคียงอยู่เองที่ว่าทำไมจึงใช้ได้ผลคล้ายกันมากเมื่อใช้ปัจจัยเล็กของดวง Progressed กับโค้งสุริยยาตร์ของทางโหราศาสตร์ยูเรเนียน กล่าวคือเพราะองศามันเร็วเกือบจะเท่า ๆ กันนั่นเอง ส่วนปัจจัยใหญ่ ๆ เดินช้า ๆ ในดวง Progressed มันก็ไม่ค่อยขยับในชั่วร้อยวันอันหมายถึงร้อยปีของชีวิตคนเรานั้นอยู่แล้ว ก็เลยไม่นิยมใช้มาทำอะไรได้)

มาถึงตรงนี้คงพอจะสรุปให้เห็นได้แล้วว่า จันทร์ตามดวง Progressed กับจันทร์ในโค้งจันทรยาตร์ (ตามเวลาอาทิตย์) นั้นมันเกือบจะครือ ๆ ตัวเดียวกันนั่นเอง ทางโหราศาสตร์สากลใช้ชี้เหตุการณ์สำคัญกันเป็นประจำ ย่อมไม่น่าเห็นเป็นของแปลกประหลาดไปได้แล้ว
ดังนั้นจะน่าสนใจและถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมากถ้าเราจะได้เห็นตัวอย่างที่จะยกมาแสดงให้มาก ๆ โดยใช้ปัจจัยอื่น ๆ ที่เคลื่อนไปราวกับญาติพร้อมจันทร์ในโค้งจันทรยาตร์มาแสดงให้เห็นได้ว่าใช้ได้ผลดีหลาย ๆ ปัจจัย และหลาย ๆ ตัวอย่าง

ได้กล่าวขึ้นต้นมาแบบอย่างนี้ แต่ตั้งใจจะค้นคว้าหาเรื่องมาแชร์กันอีกต่อไปเรื่อย ๆ ก็ขอจบด้วยประวัติของ…ยาตร์อื่น ๆ อีกก็แล้วกัน คือในอดีตมันเคยมีเมอริเดียนยาตร์มาแล้ว ก่อนจะมาเป็นสุริยยาตร์ ดังนี้...

แหม แต่เสียดายที่หมดเวลาวันนี้เสียแล้ว ได้เวลามื้อมืด ขอให้ติดตามเรื่อง เมอริเดียนยาตร์กันต่อไปในตอนหน้าก็แล้วกัน จะได้เห็นกันว่ามันจะป็นญาติของสุริยะกะจันทร์หรือเปล่า!

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิ วันที่ตอบ 2008-01-22 19:37:24 IP : 58.10.61.52


ความคิดเห็นที่ 8 (900388)

ขออนุญาตเสริมคุณอธิใน 3 ประเด็นครับ

ประเด็นแรก เพื่อให้เกิดความชัดเจนในศัพท์แสงต่างๆที่นักโหราศาสตร์ใช้กันในเรื่องนี้ ขออนุญาตชี้แจงดังนี้

Secondary Progressed Moon = จันทร์โปรเกรส = จันทร์จรสุริยคติ (ย่อว่า จค.)

โค้งจันทรยาตร์ = ความต่างระหว่างตำแหน่งสมผุสจันทร์จรสุริยคติ และจันทร์กำเนิด = จันทร์ (จค) - จันทร์ (กน)

(ตรงนี้ขออนุญาตระบุไปเลยครับว่า จันทร์โปรเกรส ก็คือจันทร์จรสุริยคติ นั่นเอง)

เหตุที่ใช้คำว่า จรสุริยคติ ก็เพราะว่าใช้คติของดวงอาทิตย์ นั่นคือ 1 วันเท่ากับ 1 ปี

ส่วนคำว่า สุริยยาตร์ นั้น มาจาก สุริยะ = ดวงอาทิตย์ และ ยาตร์ = ยาตรา = การเดิน รวมความว่า การเดินของอาทิตย์
โค้งสุริยยาตร์ จึงแปลว่า ระยะเชิงมุม (ความโค้ง) ที่ดวงอาทิตย์เดินไป
ส่วนโค้งจันทรยาตร์ แปลว่า ระยะเชิงมุม (ความโค้ง) ที่ดวงจันทร์เดินไป
ทั้ง 2 วิธีนั้นยังตั้งอยู่บนฐานของการจรสุริยคติ คือ 1 วันเท่ากับ 1 ปีเหมือนกัน หมายความว่า ถ้าจะดูเหตุการณ์เมื่อเจ้าชะตาอายุ 10 ปี ก็ให้คำนวณตำแหน่งของอาทิตย์หรือจันทร์หลังจากวันเกิดไป 10 วัน โดยอาทิตย์โคจรประมาณ 1 องศาต่อวัน ก็เปรียบเสมือน 1 องศาต่อปี ส่วนจันทร์นั้นโคจรประมาณ 12 องศาต่อวัน ก็เปรียบเหมือน 12 องศาต่อปี หรือ 1 องศาต่อเดือนนั่นเอง

ส่วนวิธีที่คุณหนุ่ม พยากรณ์เสนอนั้นเป็นการจรแบบจันทรคติ โดยใช้ชื่อว่า โค้งจันทรยาตร์จันทรคติ แปลว่า การเดินของดวงจันทร์ที่ให้ความหมายคติแบบจันทร์ คือ 1 วันเท่ากับ 1 เดือน หมายความว่า ถ้าจะดูเหตุการณ์เมื่อเจ้าชะตาอายุ 10 ปี (120 เดือน) ก็ต้องคำนวณตำแหน่งจันทร์หลังจากวันเกิดไป 120 วันนั่นเอง วิธีนี้จะได้ผลหรือไม่ก็คงต้องพิสูจน์กันต่อไป

ประเด็นที่ 2 เรื่องดวงโปรเกรส เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานของโหราศาสตร์สากลครับ เป็นเรื่องที่ใช้กันมานานมากแล้ว (ตำราที่เขียนเรื่อง Progression ได้ละเอียดก็น่าจะเป็นตำราเก่าแก่ของ Alan Leo ที่ชื่อว่า The Progressed Horoscope ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1905) ซึ่งหลักการก็มาจาก 1 วันเท่ากับ 1 ปี ตามคติของดวงอาทิตย์ (สุริยคติ) สำหรับโหราศาสตร์ยูเรเนียนนั้น ท่านวิตเตอได้นำเอาโค้งสุริยยาตร์มาใช้ (เป็นการนำเอาของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่) ซึ่งคำนวณได้สะดวกรวดเร็ว ใช้งานได้คล่องตัวกว่าการคำนวณดวงโปรเกรสและไม่มีปัญหาในเรื่องดาวโคจรช้าอย่างดวงโปรเกรส ดังนั้นสำนักยูเรเนียนจึงนิยมใช้โค้งสุริยยาตร์มากกว่า

ประเด็นที่ 3 เรื่องการค้นคว้าหลักการโหราศาสตร์ที่ปรมาจารย์ได้สอนเอาไว้นั้น เท่าที่ผมอยู่ในแวดวงนักโหราศาสตร์มา ก็พบว่า มีนักโหราศาสตร์ชั้นเซียนประเภทหงส์ซ่อนมังกรหลับอยู่มาก (ส่วนที่เห็นชื่อนักโหราศาสตร์ในหนังสือที่เขียนหรือในเว็บไซต์ต่างๆเป็นเพียงส่วนน้อยครับ) หลายท่านค้นคว้าทฤษฎีบางเรื่องได้ลึกซึ้งกว่าที่เขียนไว้ในตำราเยอะ เพียงแต่ว่ามีไม่กี่ท่านเท่านั้นที่มีโอกาสได้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นตำราหรือช่องทางอื่นให้คนภายนอกได้รับทราบ ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเราที่จัดทำเว็บไซต์นี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่ว่านักโหราศาสตร์จะได้มีโอกาสแสดงความเห็นออกมาให้คนอื่นๆได้รับทราบกัน และหวังว่าบรรดาหงส์ซ่อนมังกรหลับจะยอมสละเวลามาถ่ายทอดให้นักโหราศาสตร์ท่านอื่นได้เรียนรู้บ้างครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2008-01-23 01:02:00 IP : 125.25.188.27


ความคิดเห็นที่ 9 (901806)

ว่าด้วยเรื่อง...ยาตร์ (ตอน 2)

คราวนี้จะเล่าเรื่องอันเรา ๆ เกิดไม่ทันให้ฟังกันนั้น นั่นคือประวัติศาสตร์ ก็ต้องคิดให้ดีว่าจะเริ่มจากจุดไหนดี แต่ที่ขอใช้เป็นกรอบไว้ก่อนคือจะไม่ขออ้างอิงที่มาของข้อมูล
เพราะตั้งใจจะเขียนให้อ่านกันได้ง่าย ๆ อย่างที่คอลัมนิสต์ทำกัน มิใช่อย่างนักวิชาการที่ต้องเขียนให้สมบูรณ์ในตัวไปตลอดเรื่อง และให้เกียรติแก่ที่มาของข้อมูลอย่างสำคัญ

เริ่มจากจักรราศีก็แล้วกัน ตามระบบโหราศาสตร์สากลหรือโหราศาสตร์ฝ่ายตะวันตกนั้น เป็นจักรราศีที่โหราศาสตร์ยูเรเนียนใช้เป็นมาตรวัดอ้างอิงพื้นที่ฟากฟ้า
ถูกสถาปนาขึ้นโดยชาวกรีกชื่อ Hipparchus ในราว ๆ 200 ปีก่อนคริสตกาล เรียกว่า Tropical Zodiac แปลเป็นแขกแล้วบ้านเราเรียกว่าจักรราศีแบบสายนะ
เพราะบ้านเรารับทั้งโหราศาสตร์และภาษาในขั้นต้นมาจากแขก ก็เลยใช้กันต่อมา ทั้งภาษาเขาก็ไพเราะดี และดีอีกที่ทำให้คนรุ่นหลังนั้นได้เรียนกันหลาย ๆ ภาษาไปในตัวพร้อม ๆ กัน (โดยไม่ต้องแยกแยะ เพราะเรารับทุกอย่างเป็นกิจวัตร)
จักรราศีแบบนี้ถูกวัดจากจุด Vernal Equinox (คือที่เขียนภาษาอังกฤษนี้ ต้องยอมรับว่าเพราะขี้เกียจเขียนเป็นภาษาแขกแล้วก็ต้องแปลให้ฟังอีกรอบว่า แล้วมันคืออะไรกัน ก็ให้ถือจำไปพราง ๆ แบบว่าอ่านเอาพอเข้าใจที่มาไปก่อน ถ้าอยากชัดท่านนั้น ๆ ก็คงสามารถไปศึกษาต่อกันได้ด้วยตนเอง มิต้องป้อนให้)
ซึ่งจุดนี้มันเคลื่อนถอยหลังไปในฟากฟ้าอยู่เสมอ (ไม่นิ่ง) ด้วยอัตราประมาณ 1 องศาในทุก ๆ 72 ปี
ซึ่งก็จะทำให้จุดอ้างอิงที่ใช้มองดาวฤกษ์ และกลุ่มดาวต่าง ๆ บนฟากฟ้านั้นเคลื่อนตามไปด้วยในอัตราเดียวกัน แต่เราสังเกตด้วยตาไม่ออก แต่ก็ผ่านการพิสูจน์ได้ถูกต้องเสมอด้วยการคำนวณ
กลุ่มดาวพวกนี้เราใช้เรียกให้เกาะกับพื้นที่ 12 ส่วนของราศีอยู่นั่นเอง ก็จะได้ว่ากลุ่มดาวพวกนี้มันก็เคลื่อนไปทับสนิทราศีถัดไปได้ภายในประมาณ 2,160 ปี
นี่เมื่อมองด้วยจักรราศีแบบอ้างเส้นละติจูดอันมีเส้นศูนย์สูตรเป็นอ้าง (งงไม๊ งงก็อ่านต่อไป)

แซวกันเล่นให้ผู้เริ่มศึกษาฟังว่า โหราศาสตร์ฝ่ายไทยนั้น ท่านยังเห็นว่าราศีต่าง ๆ ยังอยู่ที่เดิม มิได้เคลื่อนไปตามหลักการที่เล่ามานั้น นี่จึงทำให้เกิดจักรราศีที่ต่างกัน
นี่จึงเป็นเหตุของคำถามที่เราพบเสมอ ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ แล้วก็ไม่ตอบดีกว่า คือ อาจารย์ข๋า ตกลงหนูเกิดเป็นคนราศีไหนกันแน่คะ (นี่ยังไม่นับราศีที่เราคิดจากลัคนา หรืออาทิตย์อีกต่างหาก ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้หนู ๆ บางตัวกลายเป็นหนูหลายราศีหนักเข้าไปอีก หนักสุด ๆ อาจอยู่ถึง 4 ราศีเลยล่ะหนู)
แต่โหราศาสตร์ฝ่ายไทยเราก็มีกลวิธีในการ Interlocked ในหลาย ๆ เชิง ก็ได้คำตอบแม่นยำเหมือนกัน และจะแม่นกว่าในหลาย ๆ ครั้งเสียด้วย เพราะเรายังมีผี มีเจ้า มีทรง มีเทวดาร่วมด้วยช่วยกันอยู่อีกมาก ซึ่งฝรั่งไม่มี (ไม่มี ๆ) ก็บางท่านกล่าวได้ถูกต้องดีด้วยนะว่า มีญาณดีไม่ต้องตั้งดวงยังทายแม่นกว่าใช้เครื่องคอมพ์ช่วยเป็นไหน ๆ
ฟังแล้วไม่เชื่อก็ไปคิดต่อเอาเอง (ไม่ได้บอกว่าอย่าลบหลู่นะ!)

ชักจะออกแขกยาวไปแล้ว ตัดชับกลับเข้ามาที่ประเด็นเลยว่า กาลต่อมาประมาณศตวรรษที่ 2 (ประมาณ ค.ศ. 200) คนกรีกอีกนายหนึ่งคือ Claudius Ptolemy ผู้เป็นนักฉลาดหลายด้านเหลือเกิน อัจฉริยะมากทั้งด้านภูมิศาสตร์, คณิตศาสตร์, โหราศาสตร์, ดาราศาสตร์, แพทยศาสตร์ ผู้เขียนว่าท่านเก่งทุกสาขาบรรดามีที่แยกกันให้ศึกษาได้ในสมัยนั้นนั่นแหละ
ท่านได้ยกเครื่องหลักเดิมของชาวบาบิโลน (Babylonian) ที่ว่า หนึ่งองศาเท่ากับหนึ่งวัน ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยทำให้มันตีโค้งอย่างสอดคล้องกันไปกับเส้นศูนย์สูตรของโลก
นี่คือนวัตกรรมที่ท่านทำไว้แก่โหราศาสตร์ที่ใช้ทำนายดวงชะตาบุคคลได้ในอนาคตโดยคงความเที่ยงตรงตามธรรมชาติเสมอ ๆ

Ptolemy หรือ ปะโตเลมี ท่านได้วัดเวลา 1 องศาที่จุดจอมฟ้าเคลื่อนไปตรงเหนือศรีษะเราเป๊ะ ๆ นี่แหละ หรือเรานิยมเรียกกันในโหราศาสตร์ยูเรเนียนว่า จุดเมอริเดียน ฝรั่งเรียกสับสนเหมือนเราคือเรียกได้หลายอย่าง เช่น Midheaven เป็นต้น
เอาล่ะ วัดแป๊บเดียวก็ได้ว่า มันใช้เวลาประมาณ 4 นาที ซึ่งท่านก็เทียบว่าเท่ากับ 1 ปีของชีวิต กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า 4 นาทีแรกหลังจากที่เด็กคนหนึ่ง ๆ เกิดมานั้นเทียบได้กับ 1 ปีแรกของชีวิตเด็กคนนั้น ส่วน 4 นาทีถัดไปอีกก็เทียบได้กับปีที่ 2 ของชีวิตเด็กคนเดียวกัน ไล่ไปได้เรื่อย ๆ ในนาทีต่อ ๆ ไปอีก

เล่ามาถึงจุดสำคัญแล้ว ท่านก็ได้คำตอบแล้วว่านี่ไง โป๊ะเชะ มันคือสิ่งที่เราต้องเอามาสร้างเป็น เมอริเดียนยาตร์ ได้น่ะสิ เหมือนสุริยยาตร์, จันทรยาตร์ นั่นไงล่ะ

ถูกต้องแล้วคร๊าบบบ จะจบแค่นี้ก็จะคาใจ เล่าต่อไปดีกว่าว่า มันมีปัญหาเกิดขึ้นว่า ถ้าคิดแบบนี้มันก็จะกลายเป็นว่า เราจะใช้เวลาแค่เพียง 6 ชั่วโมงหลังจากเด็กเกิดเท่านั้นเองมาสร้างเป็นโค้งของเมอริเดียนยาตร์ แล้วเอามาทำนายชีวิตคนได้ถึง 90 ปี
เพราะ 4 นาทีต่อ 1 ปีนั้นมันก็คือ 60 นาทีต่อ 15 ปี และ 3 ชั่วโมงต่อ 45 ปี จึงได้ 6 ชั่วโมงเท่ากับ 90 ปี โดยลำดับ

ด้วยเหตุนี้การใช้เมอริเดียนยาตร์จะไม่ทำให้ดาว, จุด, หรือปัจจัยเคลื่อนที่ไปตามโค้งของเมอริเดียนยาตร์นั้นมากพอแก่การที่นักโหราศาสตร์ใช้งานได้ในทางปฏิบัติทั้งเพื่อการพยากรณ์หรือการพัฒนาใด ๆ ต่อ ๆ ไปได้
ช่างน่าเศร้าที่เราสูญเสียเมอริเดียนยาตร์ไปในเวลาอันรวดเร็ว หรือว่าจะมีใครคิดทำโปรแกรมขึ้นมาเล่น ๆ เพื่อทดสอบว่าจะจริงไม๊ที่ว่าโค้งเมอริเดียนยาตร์นี้ใช้ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ เพราะสมัยนี้เราคำนวณได้ละเอียดละออ อาจจะใช้ได้แล้วก็ได้นะ!
เตือนไว้ก่อนว่ามีฝรั่งทำเช่นนั้นไปแล้ว แต่รายงานว่าไม่ค่อยเวิร์กว่ะ (แปลแล้ว)

ด้วยหลักปรัชญาโดยแท้ของเมอริเดียนยาตร์นี่เอง เป็นหลักอันสำคัญที่คิดได้ก่อนยาตร์ใด ๆ
ปะโตเลมีช่างคิดดีเหลือเกิน คือที่คิดต่อว่า 1 องศาเท่ากับ 1 วัน และเท่ากับ 1 ปีของชีวิตน่ะ

มีผู้เชื่อว่า ปะโตเลมี ได้แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์มาจากบางบทในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล (ซึ่งมีอยู่หลายสำนวน, หลายฉบับนับตั้งแต่กษัตริย์กรีกชื่อ ปะโตเลมี ที่ 2 สกุล Philadelphus แห่งกรุงอเล็กซานเดรีย (ชื่อซ้ำกับนักปราชญ์คนตะกี้นี้ เพราะสมัยนั้นนิยมชื่อนี้มาก เหมือนที่ไทยเรานิยมชื่อ สมชาย กันอยู่ในยุคหนึ่ง) ได้ให้พระชาวยิวแปลจากพระคัมภีร์เดิม (Old Testament) ของพวกยิวให้เป็นภาษากรีก เหตการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 400 ปีก่อนช่วงอายุของ ปะโตเลมี ผู้เป็นนักปราชญ์)
จึงได้ต่อท้ายปรัชญาของชาวบาบิโลนที่ว่า 1 องศาเท่ากับ 1 วัน ให้เป็นว่า และเท่ากับ 1 ปีของชีวิต ขึ้นมาได้

ความปราชญ์เปรื่องของ ปะโตเลมี ที่คิดระบบนี้ขึ้นมาได้ (ต่อมาเรียกว่า Primary Direction แล้วต่อมาอีกโหราศาสตร์ฝ่ายตะวันตกจึงเรียกดวง Progressed ของตนว่าเป็น Secondary Direction และก็มอง Solar Arc ของโหราศาสตร์ยูเรเนียนว่าเป็น Secondary Direction ด้วย แต่ตีความแตกต่างกัน คำว่า Direction หรือ Progression , Progressed นี้ก็แปลว่าอย่างกันว่า อายุขัย ในภาษาไทยนั่นเอง)
ได้ส่งอิทธิพลต่อนักคณิตศาสตร์ในรุ่นต่อ ๆ มาอีกถึง 1,400 ปี นักการศึกษาต่าง ๆ พยายามอย่างมาก หมดเวลาไปหลายร้อยปีเพื่อที่จะทำหลักการมหัศจรรย์นี้ให้ง่ายขึ้น
ในที่สุดก็ถึงมือของคณิตกรผู้มีนามว่า Antonius Maginus ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงราว ๆ ปี ค.ศ. 1604 และเพื่อนร่วมงานอีกคนของเขาชื่อว่า Valentino Naboda ได้ร่วมกันทำให้ประจักษ์ชัดในเชิงปฏิบัติการได้
ปัจจุบันเรียกกันว่า Secondary Progression นัยว่าเป็นยุค 2 ที่พัฒนาต่อจากยุคเริ่มแรกของ ปะโตเลมี โดยได้คิดต่อไปจากหลักที่ว่า ทุก ๆ 1 วันที่ผ่านไปนั้นเท่ากับทุก ๆ 1 ปีของชีวิต โดยคิดเป็น 1 วันตามปฏิทิน มิได้ใช้เวลาของ 1 องศาที่เคลื่อนผ่านไปของจุดจอมฟ้า (เมอริเดียน) เหมือนที่ ปะโตเลมี ได้วัดเวลาไว้ว่าประมาณ 4 นาทีนั้น

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ฟ้าก็ทำให้มีผู้ฉลาดในอีกสถานที่แห่งหนึ่งเกิดขึ้นด้วย คือประมาณครึ่งแรกของศตวรรษที่ 17 นั้นเองที่นาย Johannes Kepler (เขาเคยเป็นผู้ช่วยของ Tycho Brahe นักโหราศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ชื่อหลัง ๆ สำคัญยังไงนี่ ถ้าจะเขียนให้อ่านก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของทวีปยุโรปไปเสียฉิบ) เขาเป็นนักปราชญ์ที่เก่งกาจในทุกสาขาอีกคนหนึ่ง
คือเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์, นักโหราศาสตร์, นักดาราศาสตร์ ที่ทำงานให้แก่จักรพรรดิ์ Rodolph II, กษัตริย์แห่งโรมาเนียและฮังการี (สมัยโน้นดินแดนของประเทศมันก็ยังคาบเกี่ยวกันไปมาอยู่) ได้ค้นพบว่า
ดาวเคราะห์มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่เป็นรูปวงรี และได้ค้นพบตำแหน่งสัมพันธ์ที่ใช้งานได้ใหม่อีก 10 จุด เขากล่าวว่า จะต้องพิจารณาจำนวนของวันหลังจากที่เด็กเกิดว่าดวงอาทิตย์ (สุริยะ, ทินะ ในภาษาแขกที่ไทยใช้) เคลื่อนไปอยู่ตรงไหนแล้วเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ในดวงกำเนิด นั่นแหละจึงจะแสดงถึงจำนวนปีที่ผ่านไปของชีวิตที่เกิดมานั้นอย่าเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งจะต้องผ่านไปก่อนที่อิทธิพลของมันในจุดที่เราสังเกตนั้นจะแสดงผลประจักษ์ออกมาได้
(แปลให้ไพเราะและให้งง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน!) นี่ก็พอจะเทียบเคียงต้องกันได้กับงานของ Maginus และ Naiboda อันเป็นจุดเริ่มของ Secondary Progression และต่อมาได้กลายเป็นทฤษฎี Solar Arc หรือโค้งสุริยยาตร์ในภาษาไทย

Naiboda ได้ใช้เวลาเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ของอาทิตย์ในดวงอายุขัย (Progression) คือใช้ค่าโค้งเฉลี่ย 59 ลิปดา 08 ฟิลิปดา แทน 1 ปีของชีวิต แต่ดวงอาทิตย์มีอัตราโคจรไม่คงที่ประมาณตั้ง 57 ลิปดา ไปจนถึง 61 ลิปดา (1 องศา 1 ลิปดา) ต่อโค้ง 1 วัน อันเอาไปเท่ากับ 1 ปี

ช่วงเวลานั้นช่างมีคนฉลาด ๆ โชคดีที่ได้เกิดมา ว่าไม๊!

200 กับอีก 40 กว่าปีต่อไป ใกล้กับศตวรรษที่ 19 นักโหราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า Sepharial ก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าพยายามทำให้หลักคิดของ ปะโตเลมี นั้นง่ายขึ้นอีก โดยเอาสิ่งที่ Naiboda คิดได้แล้วมาคิดต่อไปให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป โดยได้ทำให้ทั้งง่ายและแม่นยำในการใช้อาทิตย์ที่โคจรไปในแต่ละวัน วันต่อวัน (ปีต่อปีเมื่อมองจากปรัชญาขององศา) และประยุกต์ใช้กับโหราศาสตร์ดวงชะตาบุคคลในมุมมองว่าเป็น อายุขัย (ที่มาของการเกิดศัพท์นี้ขึ้น)
นั่นก็คือบวกค่าอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันนั้นเข้ากับดาวเคราะห์อื่น ๆ แต่ละดวง รวมทั้งจุดหรือปัจจัยอื่น ๆ ในดวงชะตาด้วย ใช้พยากรณ์เป็นอายุขัยในช่วงนั้น ๆ ของชีวิต (ชักจะแปลช้าไปแล้ว)

ตัดฉับเลยว่า นาย Sepharial นี้เองที่ได้ทดลองเทคนิคแห่งการเอาค่าเฉลี่ยที่จันทร์เคลื่อนที่ไปในแต่ละวันไปบวกให้กับดาวอื่น ๆ ในดวงชะตากำเนิด นี่แหละที่ตอนนี้เรากันเรียกว่า จันทรยาตร์

ในวงการโหราศาสตร์นั้น ความคลาดเคลื่อน, ความเข้าใจผิด, ความเข้าใจเบื้องต้น ได้ถูกทำให้ลดความผิดพลาดลงไป ๆ ผ่านไปยุคแล้วยุคเล่า จนมาเจริญมาก ๆ หน่อยในปลายศตวรรษที่ 16 มาเรื่อย ทั้งเครื่องมืออันประดิษฐ์ขึ้นและหลักการที่ค้นพบของ Brahe, Kepler และ Galileo ทำให้เกิดความก้าวหน้าไปมาก
การใช้ค่าเฉลี่ยโคจรของอาทิตย์ตามแนวของ Naiboda นั้นง่ายต่อการใช้งาน แต่ได้เป็นที่สังเกตเห็นความคลาดเคลื่อนในกาลต่อมาว่า สำหรับคนที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปชักจะไม่ค่อยแม่น คือเกิดเหตุการณ์ประจักษ์ออกมาห่างจากจุดที่พยากรณ์ไว้ประมาณ 1 ปี โดยเฉพาะดวงของคนที่เกิดในช่วงเดือนมีนาคม ถึงกันยายน ยิ่งคนกลุ่มนี้อายุมากขึ้นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์จริงกับที่พยากรณ์ได้ก็ยิ่งแตกต่างกันมาก
อย่างนี้ มันน่าจะมีอะไรผิดปกติอันพึงจะสังเกตให้เจอได้เสียแล้วสิ

วิธีง่าย ๆ ในการใช้ค่าเฉลี่ยโคจรของอาทิตย์นั้นไม่ละเอียดพอ จะต้องหาค่าการเคลื่อนที่ไปของอาทิตย์ตามช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละบุคคล เพราะมันมีอัตราเร็๋วของอาทิตย์แตกต่างกันไปในคนที่เกิดต่างเดือนกัน
อาจกล่าวได้ว่า หลักการทางปรัชญาที่ว่า 1 องศา คือ 1 ปี ให้ผลการพยากรณ์ที่ดีขึ้นมากโดยใช้ได้กับบางคนเท่านั้น

เราทุกคนจะรู้ได้จากการมีชีวิตมาพอสมควรว่า อาทิตย์ในแต่ละฤดูกาลโคจรเร็วช้าต่างกัน คือวันมันไม่เท่ากันนั่นเอง ภาษาชาวบ้านก็ว่า สว่างเร็ว สว่างช้า มืดเร็ว มืดช้า
ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงกุมภาพันธ์ อาทิตย์โคจรเร็ว แต่สำหรับในช่วงเดือนมีนาคม ถึงกันยายน อาทิตย์จะโคจรช้ากว่าหน่อยในแต่ละวันอย่างสังเกตได้ทุกคนทีเดียว (ถ้าใช้ชีวิตมาสัก 10 - 20 ปีแล้ว)

คนที่เกิดในเดือนที่อาทิตย์โคจรช้า ต้องรอให้ผ่านชีวิตไปถึง 31 ปี จึงจะเทียบได้กับ 1 องศาตามอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ไปในช่วงเวลาเกิด 30 วัน
เมื่อใช้อัตราเคลื่อนที่เฉลี่ยของอาทิตย์มาใช้ตามที่ Naiboda คิดขึ้น นำมาใช้พยากรณ์จึงทำให้เวลาเกิดเหตุการณ์คลาดเคลื่อนไปได้ถึง 1 ปี
ถ้าอายุ 60 ก็ยิ่งคลาดเคลื่อนได้ถึง 2 องศาทีเดียว

สมการที่ว่า 1 องศา เท่ากับ 1 ปี เป็นเทคนิคที่เชื่อถือได้มาก ได้ถูกกลั่นโดยประสบการณ์ยุคถัดมาจนต้นศตวรรษที่ 20 จึงวิวัฒน์ไปอีกก้าวหนึ่ง

เฉกเช่นที่วิกฤติการสร้างโอกาส ปัญหาก็นำไปสู่ความรู้แจ้ง ความสัมพันธ์ระหว่าง สสาร (อันมีเนื้อและมีมวล) กับพลังงาน (คลื่น, มีแสง เป็นต้น) คือการรู้แจ้งที่ยิ่งใหญ่ของไอน์สไตน์ ซึ่งทำให้ง่ายได้ด้วยสมการแค่ว่า E=mc2
ผู้เขียนมีความเห็นว่า โหราศาสตร์ยูเรเนียนในส่วนพระเคราะห์สนธินั้นคือโหราศาสตร์แห่งพลังงาน (คลื่น) ส่วนโหราศาสตร์ยูเรเนียนและโหราศาสตร์ดั้งเดิมที่ใช้ราศี และเรือนนั้นเป็นโหราศาสตร์แห่งสสาร
กล่าวคือ ถูกต้องทั้งคู่ แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูกสมแก่สถานการณ์ อทิเช่น จะสร้างรถยนต์ก็ใช้กลศาสตร์ฟิสิกส์ของนิวตัน (สสารอันมีเนื้อ มีมวล เกิดเป็นแรงโน้มถ่วง) ก็เหมาะควรดี หากแต่ถ้าจะสร้างยานอวกาศ เดินทางไปไกล ๆ ยังดาวรอบนอกสุริยะจักรวาล นอกจักรวาลนี้ไปในที่ใดแห่งกาแล็กซี่ทางช้างเผือก หรือไกลกว่านั้นไปก็ตาม ก็เหมาะยิ่งที่ต้องใช้ควันตัมฟิสิกส์ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ คลื่น นั้นเอง คิดได้ไง E=mc2 มันดูง่ายเกินไปไม๊ครับ!

สิ่งที่สูงส่งจะเรียบง่ายเสมอ สิ่งที่เร็วที่สุดจะดูว่าอยู่กับที่ สสารอันมีเนื้อมีมวลนั้นดูนิ่งแต่ที่จริงแล้วกลับกำลังเคลื่อนไหวอย่างสุด ๆ
ตัวตนของคนเราและสรรพสิ่งคือไม่มี เพราะมันแลกเปลี่ยนอนุภาคกันอยู่ตลอดเวลา เห็นได้ง่ายในยุคแล้วนี้คืออย่างน้อย อิเล็กตรอน
องค์พุทธะกล่าวเรื่องนี้ไว้ใน อัตตา, อนัตตา, ไตรลักษณ์ นั้นนานแล้ว หากแต่ประสาทสัมผัส และปัญญาคนโดยมากเข้าใจ รับรู้ไม่ได้เอง

วงโคจรที่ดาวหมุนต่อกันนั้นเมื่อจับมายืดออก จะได้เป็นคลื่น เอาจุดเริ่มของคลื่นแต่ละลูกมาชำแหละจะได้จุดเริ่ม จุดสูงสุดเป็นสันคลื่น
จุดตัดเส้นระนาบอันแสดงทิศทางของคลื่น จุดต่ำสุดเป็นท้องคลื่น และจุดสิ้นสุดของคลื่นแต่ละ ๆ ลูก นั่นคือมุม 0, 90, 270 และ 360 อันเป็นจุดเดียวกันกับจุด 0 นั่นเองในเชิงองศา
แบ่งย่อยไปอีกก็จะได้จุดเปลี่ยนแนวโน้มโค้งใหญ่ที่ 45, จุดเปลี่ยนแนวโน้มโค้งเล็กที่ 22:30
วงรอบของคลื่นนี้ขึ้นลง หมุนวนไปเรื่อย ๆ สิ้นสุดเมื่อสิ้นแรง นี่คือคำอธิบายฮาร์โมนิกส์มูลฐานของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
องค์พุทธะกล่าวเรื่องนี้ไว้ใน วัฏสงสาร หมุนวนอยู่เพราะเกิดแต่กรรม สิ้นสุดเมื่อสิ้นกรรม

กลับมาสรุปเรื่องยาตร์ให้จบกันดีกว่า อย่ายืดยาดแล้วจะยุ่งยากใจ

สรุปว่า Solar Arc หรือโค้งสุริยยาตร์ ที่จะนำมาสร้างเป็นดวง V1, V2 นั้นมาถึงที่สุดคือใช้ความเร็วอาทิตย์ของแต่ละคนที่เกิดในวัน, เวลา, สถานที่นั้น ๆ เองในการคำนวณว่าในแต่ละ 1 วัน มันเปลี่ยนไปเท่าใด อาจจะไม่ใช่ 1 องศาอีกต่อไปแล้ว น้อยกว่า มากกว่าแล้วแต่ว่าจะเกิดเดือนไหน (กล่าวโดยง่าย ๆ) ก็นำไปบวกกับดาว, จุด, ปัจจัยอื่น ๆ ในดวงชะตาก็จะได้มาซึ่งดวงตามโค้งสุริยยาตร์ หรือดวง V1
เพื่อให้มองง่ายขึ้นสำหรับบางคน เราเอาไปลบได้เป็นดวง V2

ที่จริงเรื่องเล่าของเมอริเดียนยาตร์จบไปนานแล้ว แต่ลากมาไกลถึงสุริยยาตร์เพื่อจะได้รู้ว่ามันเป็นญาติกัน เมอริเดียนนี่มันเป็นปู่ใหญ่ รุ่นก่อตั้ง สุริยะนี่เป็นรุ่นพ่อ คือเติบโต ถามว่าอะไรจะเป็นรุ่นลูก, หลาน และรุ่นหลัง ๆ นี่จะสร้างสรรค์อันใดกัน ซึ่งต้องพิสูจน์

จากปรัชญา 1 องศา คือ 1 วัน ของชาวบาบิโลน พาเรามาถึงปรัชญาที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบันว่า...
1 องศา คือ 1 ตะวัน หรือคืออาทิตย์ 1 วัน กล่าวคืออาทิตย์ที่โคจรไปได้ 1 วัน ได้ระยะเท่าใดก็เท่านั้น ไม่จำต้องเป็น 1 องศาเสมอไป
สุริยะ, ทินะ, ตะวัน ล้วนคืออาทิตย์ดวงเดียวกัน แต่โคจรไม่เหมือนกันในแต่ละยุค, วัน, วาร
แต่ตะวันนั้นที่แท้คือแหล่งพลังงาน ให้กำเนิดสรรพสิ่ง คือคลื่น คือแสง ที่แท้กุญแจคือตะวัน
สุดท้ายกุญแจไขเราไปสู่ 1 วัน หรือ 1 ตะวัน เท่ากับ 1 ปีชีวิต
ตะวันคืออาทิตย์ อาทิตย์คือชาย คือสามี คือพ่อ คือลูกชาย ถ้าคุณมีลูกชาย นั่นคืออาทิตย์หนึ่งดวงที่เพิ่มเข้ามาในดวงกำเนิดของคุณได้
เราจึงใช้ไขอายุพ่อได้ นั่นคือรู้วันเกิดลูกชาย ก็รู้วันตายพ่อ ทิ้งไว้ด้วยปริศนาที่บางคนอาจอยากไข แต่บางคนก็รู้แล้ว

ในโค้งสุริยยาตร์ อาทิตย์ผู้ให้กำเนิดได้แชร์พลังและพัฒนาการให้แก่ดาว, จุด, ปัจจัยอื่น ๆ ตลอดอายุขัย

ในศตวรรษที่ 20 นี้ ขอขอบคุณ Alfred Witte (มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1878 - 1941) ผู้เป็นต้นสำนัก Hamburg School of Astrology ผู้เป็นหลักในก้าวต่อไปของ Solar Arc หรือสุริยยาตร์ พร้อมด้วยยหลักการสำคัญอื่น ๆ อันมากมาย โดยเฉพาะดาวทิพย์ รู้จักกันใหม่ในชื่อโหราศาสตร์ยูเรเนียน

สำนัก Cosmobiological School of Astrology มี Reinhold Ebertin (มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1901 - 1988) ผสานรอยต่อระหว่างโหราศาสตร์ยูเรเนียนกับโหราศาสตร์สากล โดยไม่มีดาวทิพย์ และยอมรับใช้หลักดั้งเดิมมากสักหน่อย แต่นั่นคือรอยสลักที่ตอกด้วยสิ่วของโหราศาสตร์ยูเรเนียนโดยแท้

อาทิตย์ Solar Arc (หมายรวมถึงโหราศาสตร์ยูเรเนียน) ขึ้นที่เยอรมัน เติบโตที่อเมริกา ทะลุมาไทย โดยชายชาติทหาร พลตรี ประยูร พลอารีย์ เชี่ยวชาญหลายภาษา แม้ภาษาแห่งฟากฟ้าอันมีดาราประดับนับล้าน

มันจะจบไม่ลงจริง ๆ ไม๊หนอบทความนี้
ขอจบอย่างคณิตศาสตร์ไว้หน่อยก็แล้วกันว่า
จันทร์ อาจพอถือได้ว่าเป็นอนุพันธ์ (Derivative) ของอาทิตย์ (ด้วยรับแสงมาจากอาทิตย์อีกทีหนึ่ง เป็นลูกน้องวิ่งวน ๆ รอบลูกพี่อาทิตย์ ดึงดูดติดพันลูกพี่อาทิตย์ จึงมีวงรอบที่สอดคล้องกับลูกพี่ทั้งวงรอบเล็บ และวงรอบใหญ่ที่ต้องเกิดไปพร้อม ๆ กัน
และอีกหลาย ๆ เหตุ-ผล) อัตราเปลี่ยนแปลงจึงแกว่งไกวหรือเกิน
หากอาทิตย์เปลี่ยนแปลงเป็นเส้นตรง จันทร์ย่อมเปลี่ยนแปลงในอัตราที่โค้งเร็วจี๋
1 วันคืออะไร 1 เดือนคืออะไร 1 ปีอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร คงต้องมองเหตุไปหาผล --- เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี -- เป็นสายแห่งอิทัปปัจจยตา
หากมองผลไปหาเหตุ อาจโดนตรรกศาสตร์หลอกลวงเอาได้ เฉกเช่น เมื่อเห็นพฤหัสเดินราศีละ 1 ปี มันก็รอบละ 12 ปี
ก็อาจเลยพาคิดว่ามันเท่ากับ 12 เดือนพอดีได้เลขเดียวกันด้วย ดังนั้นพฤหัสคือผู้สร้างเดือน เทียบได้กับเดือน
เราอาจได้เห็นเป็นพฤหัสยาตร์ ก็จักได้ญาติใหม่กันอีกยาตร์

อ่อ ขอย้ำไว้ก่อนจบจริง ๆ ด้วยว่า ที่ปรากฎว่าในบทความของผู้เขียน มีเขียนใช้คำแยกแยะโหราศาสตร์สากล กับโหราศาสตร์ยูเรเนียนให้เห็นได้บ่อยครั้งนี้ พึงต้องชี้แจงไว้ตรงนี้ว่าเพื่อผลทางความคิดที่แยกแยะไตร่ตรองได้ชัดเจน หาได้จะแบ่งพวกแบ่งฝ่ายแต่อย่างใด
คือชี้ไว้ให้ชัดว่าอะไรเป็นอะไรเท่าที่พอยังอ้างอิงกันได้ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ก่อนที่ความรู้จะถูกผสมกลมกลืนกันไปเองตามธรรมชาติต่อไป เหมือนกับที่เมื่อเรามองว่าโหราศาสตร์มีระบบเดียวด้วยหลักว่ามันมีมาแล้ว 5 - 6 พันปีที่ล่วงไป และแพร่กระจายไปทั่วหลายประเทศ เกิดเป็นสำนักที่พัฒนาแต่ละแง่มุมต่างกันไป
แต่เมื่อมองว่าจุดเกิดมาจากไหน เราจึงกล่าวว่า โหราศาสตร์มีระบบเดียว แต่เมื่อจะแยกแยะเพื่อศึกษา หรือให้เกียรติแก่ผู้ที่ยังพอเกิดทันกัน มีบันทึกไว้ว่าใครคิดพัฒนาอะไรได้สำเร็จอย่างสำคัญ เช่น Alfred Witte นั้นก็ถือว่าสถาปนาโหราศาสตร์ยูเรเนียนขึ้น เป็นต้น
โดยนัยนี้จึงต้องขอกล่าวไว้ว่า จันทรยาตร์นั้นหาใช่กรอบของโหราศาสตร์ยูเรเนียนของ Alfred Witte ไม่ หากแต่เป็นโหราศาสตร์ที่พัฒนาต่อยอดกันไปในอีกกลุ่มสาขาหนึ่ง เช่นพวกเราชาวไทยที่กำลังจะวิจัยกันอยู่นี้ เมื่อวิจัยแล้วก็อาจจะถือว่าเป็นขั้นพัฒนาอันสำเร็จสำคัญเป็นชื่อเป็นเสียงแก่ตนหรือหมู่คณะเราได้
เช่นกัน Progressed Moon ที่ผมยกมาเขียนเล่านั้น ก็ต้องบอกว่ามิใช่อยู่ในกรอบโหราศาสตร์ยูเรเนียนของ Alfred Witte ไม่ แต่สามารถพูดได้ว่าเป็นของโหราศาสตร์สากล และเป็นของกลางมาแต่เดิมได้ โดยบางท่านที่ศึกษาและพัฒนาแยกไปจากโหราศาสตร์ยูเรเนียน เช่น Reinhold Ebertin แห่งสำนัก Cosmobiology นั้นก็ได้มีเขียนไว้ว่าท่านก็ใช้อยู่เหมือนกัน
ย้ำว่าที่เขียนแยกนี่เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มิได้จะให้แยกพวกแยกพรรคกันแต่อย่างใด คนเข้ามาอ่านทีหลังก็จะต้องเข้าใจด้วยบันทึกที่ทำไว้ให้นี้แล้ว

เวบไซต์ของไทยเรา ในบางส่วนนั้นก็ไม่ได้แยกไว้โดยชัด (ด้วยเหตุผลที่ว่าด้วยการสร้างความหลากหลาย ทางเลือก เปิดกว้าง เป็นต้น) ผู้มาทีหลังก็เลยมักถามว่านั่นใช่นี่ไหม ใช่ของสำนักนี้ไหมกันบ่อย ๆ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งแห่งความเข้าใจที่ต้องทำให้ชัด
ท่านอาจารย์ พลตรี ประยูร พลอารีย์ นั้นท่านก็เขียนหนังสือหลายเล่ม โดยบางเล่มมิได้แยกให้เป็นของโหราศาสตร์ยูเรเนียนโดยตรง เช่น ทฤษฎีการพยากรณ์ เป็นต้นนั้นท่านก็บอกชัดว่าเป็นของใช้ได้ในโหราศาสตร์ทุกระบบ หากตอนไหนใช้ได้เฉพาะกับโหราศาสตร์ระบบไหน ท่านก็จะเขียนแสดงไว้ให้ชัดเจนว่าหลักนี้ใช้ได้เฉพาะจักรราศีแบบนิรายนะ หรือสายนะ
อันไหนใช้ได้กับทั้งโหราศาสตร์ไทย หรือสากล ก็บอกไว้ชัดเจน นับว่าเป็นแบบอย่างที่ควรเอาเยี่ยง

ลาล่ะ จะไปตามหา จันทร์ไร้ญาติ เจอเมื่อใดจะมาเล่าให้ฟังกันแบบนี้อีก (ถ้ายังเหลือญาติโยมอยู่)

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิ วันที่ตอบ 2008-01-24 12:36:09 IP : 58.10.61.52


ความคิดเห็นที่ 10 (902079)
อืมอ่าน The History of Time ข้างบนซะเหนื่อยเหมือนกัน มีบางประเด็นน่าสนใจ
 
ขออนุญาตทำความเข้าใจเรื่องคำศัพท์ที่ใช้หน่อยนะครับ เนื่องจากกอ่านบทความข้างบน แล้วเกรงผู้อ่านจะสับสน เข้าใจว่าผู้เขียนอาจจะอ้างอิงจากแหล่งตำราภาษาอังกฤษ พอแปลมาเป็นไทยบางจุดเลยอาจทำให้ความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งที่คุณ Pallas ได้ชี้แจงเพิ่มเติม ก็ชัดเจนดีครับ เรื่อง จรสุริยคติ กับ จรสุริยยาตร์
 
มันมีคำสองคำ เราเอามาแปลความต่างความหมายกันคือ Progression กับ Direction เราเอามาใช้ในคำไทยว่า จรสุริยคติ กับ จรสุริยยาตร์
ดังนั้น ดวงจรอายุขัยที่เราคุ้นเคยในโหราศาสตร์สากลโดยปกติ ก็จะเป็น Secondary Progression เรียกแบบไทยง่ายๆว่า ดวงโปรเกส ใช้วิธีคำนวณองศาดาวทุกดวงในวันถัดไปแทน 1 ปี
ส่วนในโหราศาสตร์ยูเรเนียนที่เราคุ้นเคยก็จะเป็น Secondary Direction เรียกแบบไทยง่ายๆว่า ดวงโค้งสุริยาตร์ หรือ ดวงกำเนิด+บวกโค้ง
 
ดังนั้นจึงมีคำที่ใช้กันก็เช่น เมอริเดียนจรสุริยคติ , อาทิตย์จรสุริยคติ , จันทร์จรสุริยคติ เป็นต้น บางทีก็เรียกแทนคำ จรสุริยคติ ว่าโปรเกรสก็มี
 
บทความข้างบนมีพูดถึงเมอริเดียนจรไป 4 นาที แทนหนึ่งองศา ว่าจะเป็นที่มาของ เมอริเดียนยาตร์ตามที่กล่าวข้างบนเข้าใจว่าตำราต่างประเทศหลายเล่มจะเขียนในทำนองนี้ แต่ผมเห็นต่างไปนิดนึงครับ(ความเห็นส่วนตัว)ว่า น่าจะมาจากการสังเกตุว่าจุดเมอริเดียนเคลื่อนจากเดิมไปหนึ่งองศา ณ เที่ยงวันของทุกวัน มากกว่า เพราะหากเราสังเกตุให้ดี 1 วันเมอริเดียนจะโคจรมีค่าองศาประมาณ 361 องศา น็อครอบ 1 รอบ แล้วเพิ่มอีกประมาณ 1 องศาตามค่าองศาของอาทิตย์ที่เพิ่มโดยประมาณ ซึ่งที่จริงค่าไม่ได้ต่างจาก 4 นาทีเท่าไรหรอกครับ เพียงแต่มันเข้ากับหลักปรัชญาเดิมที่ว่า 1 วัน  = 1 ปี มากกว่า (เรียกว่า ได้อารมณ์กว่ากระมัง) เราจึงเรียกเป็นเมอริเดียนจรสุริยคติ ไงครับ
 
ในตำราต่างประเทศ ยังมีพูดถึง Tertiary Progression หลายเล่มเหมือนกัน  หลักการคือคำนวณ 1 เดือน  แทน 1 ปี Tertiary Progressions equate every day in ephemeris after birth( one year of life) to one Lunar Month เพื่อใช้พยากรณ์ลงมาในระดับเดือนวันได้ ซึ่งทำให้ตำแหน่งดาวทุกเดือนเคลื่อนไปได้อย่างมีนัยยะสำคัญ พอที่นำมาใช้ได้โดยเฉพาะจันทร์จะโคจร 3.5 - 4 องศา ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 12.5 องศา ต่อเดือน)
 
ส่วนโค้งจันทร์ยาตร์ มาจะ Concept เดิมของโค้งสุริยยาตร์ (Secondary Direction Solar) หรือ Solar Arc จึงอาจใช้ว่า Secondary Direction Lunar หลักการคือจันทร์จรหนึ่งวัน = 1 ปี ได้เป็นค่าโค้งจันทร์นำไปบวกกับดวงกำเนิดได้เป็นดวงโค้งจันทรยาตร์  ซึ่งเป็นวิธีการที่มีการใช้กันอยู่แล้วในสายของยูเรเนียน ตามที่อ้างอิงถึงจากในตำราของ อ.ประยูร ตอนนี้ผมจึงเรียกเพิ่มให้แตกต่างกับอีกอันว่า โค้งจันทรยาตร์สุริยคติ
 
สำหรับแนวทางที่นำเสนอในครั้งนี้ ตอนนี้ผมขอใช้คำว่า โค้งจันทรยาตร์จันทรคติ ไปก่อน ซึ่งหากจะใช้คำภาษาอังกฤษอยากจะใช้ว่า Tertiary Direction Lunar ครับ สรุปหลักการก็คือ จันทร์จร 1 วัน = 1 เดือนทางจันทรคติ ครับ เพราะโดยหลักการก็คือการโคจรของดวงซึ่งเร็วขึ้น เพื่อใช้ตรวจบสอบลงในระดับเป็นวันได้นั่นเอง
 
ซึ่งเดิมผมก็สนใจหลักการแบบ Tertiary Progression มาปรับใช้เป็น Tetiary Direction ด้วยครับ แต่บังเอิญรู้สึกว่าแนวคิดนี้มันได้อารมณ์กว่า เลยลองดูก่อน อีกทั้งคำนึงถึงหลักการของการใช้งานกรณีเราหมุนด้วยจานคำนวณ เราเพียงหาวันดัชนี ก็สามารถหมุนจานไปตามค่าองศาจันทร์ได้ทันที ซึ่งสามารถใช้ปฏิทินได้ในเล่มเดียวกัน แต่ถ้าเป็นแบบ Tertiary Progression อาจต้องใช้ปฏิทินหลายปี คงไม่ค่อยสะดวกเท่าไร
 
เป็นความเห็นเพิ่มเติมครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-24 16:30:34 IP : 58.8.124.51


ความคิดเห็นที่ 11 (902102)

จากตำราของ อ.ประยูร เคยอ่านเจอการใช้โค้งจันทรยาตร์แค่ครั้งเดียว (ถ้าจำไม่ผิด) เพื่อให้รู้หลักการของจรอายุขัยที่ว่าด้วย solar arc และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน

แต่จากประสพการณ์ที่ได้ลองใช้มา การให้ผลที่น่าประทับใจก็ไม่ได้ดีกว่าการใช้จรปัจจุบัน ที่สะดวกรวดเร็วกว่า ก็เลยอาจไม่เป็นที่นิยมใช้ของนักพยากรณ์ทั้งหลายเพราะอย่างไรก็ต้องอยู่ในกรอบของ solar arc อยู่ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น เอก วันที่ตอบ 2008-01-24 16:56:14 IP : 124.121.60.218


ความคิดเห็นที่ 12 (902805)

ว่าด้วยเรื่อง...ยาตร์ (ตอน 3 อวสาน)

จากบทความตอนที่ 2 ได้ยกประวัติศาสตร์ที่เรา ๆ ท่าน ๆ เกิดไม่ทันมาเล่าแล้ว พอได้เค้าที่มาของญาติ เฮ้ย...ยาตร์ ต่างหาก

สรุปการถ่ายทอดสมการจากปรัชญาของชาวบาบิโลนมาสู่ปัจจุบันที่คมชัดแล้วว่า...

1 วัน ตะวัน เท่ากับ 1 ปีในชีวิต
หมายถึง ตะวันที่เคลื่อนไปใน 1 วัน เท่ากับ 1 ปีในชีวิต

ผู้เขียนจะไม่สรุปง่าย ๆ 1 วัน จันทร์ เท่ากับ 1 เดือน จันทร์ หรือเท่ากับ 1 ปี จันทร์ หรืออะไรอื่น ๆ ก็ตาม...

แต่จะไล่กันแบบทีละนิด คิดตามทัน Derive กันแบบไม่หลุดตรรกหรือปรัชญา

กล่าวคือ...

จากปรัชญาล่าสุดในศตวรรษนี้ เมื่อเทียบกับจันทร์จะได้ว่า
1 วัน ตะวัน เท่ากับ 1 วัน จันทร์ (ที่เคลื่อนไปได้ ซึ่งเป็นประมาณ 12 องศา)
1 วัน จันทร์ นั้นก็คือเท่ากับ Progressed Moon นั่นเอง คือระยะที่จันทร์เคลื่อนไปในแต่ละวันที่ถัดจากวันเกิดไป
นี่คือเหตุผลที่ Progressed Moon ใช้ได้ดังที่ฝ่ายโหราศาสตร์สากลใช้กันอยู่มาก ๆ อันเป็นการใช้โดด ๆ ไม่นำไปบวกกับใครแล้วเทียบให้สเกลมันใหญ่ขึ้น

คือจะได้ว่า
1 วัน ตะวัน เท่ากับ 1 วัน จันทร์ เท่ากับ 1 ปีในชีวิต
หรือ
1 วัน ตะวัน เท่ากับ 1 ปีในชีวิต เท่ากับ 1 วัน จันทร์

ตัวเลขประมาณ 12 องศาต่อวันของจันทร์นั้น มันคูณ 30 จะได้ประมาณ 360 องศาต่อเดือน (29 วันกว่า ๆ หรือเกือบ ๆ เท่ากับ 30 วัน)
นั่นคือที่มาอันคนโบราณใช้จันทร์กำหนดวันและเดือนตามจันทรคติ (ใช้บาลี แบบไม่เลี่ยงบาลี แต่จะใช้น้อย ๆ เดี๋ยวคนไทยที่มักห่างวัดจะอ่านไม่รู้เรื่อง)

ถ้าเราใช้จันทร์อันไม่เคยพักตร์ (แปลไทยว่า ถอยหลัง) มาทำเป็นตัวแชร์หรือกำหนดอายุขัย หรือสร้าง...ยาตร์ (ทั้ง Progression และ  Direction แล้วแต่ศัพท์ฝรั่งจะใช้แยกว่าจะบวกค่าโค้งเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ หรือใช้ตำแหน่งจริงในยาตราถัดไปของแต่ละปัจจัยนั้นเลย ผู้เขียนเห็นว่า มันเป็นแค่การใช้ศัพท์แบ่งแยกของฝรั่งที่ตีความปรัชญา 1 องศา เท่ากับ 1 ปี แล้วต่อมาเป็น 1 วันเท่ากับ 1 ปี จนมาถึงปัจจุบันได้ความชัดเจนไปอีกแบบดังเล่าแล้ว แต่เพื่อให้ 2 ฝ่ายมีที่ยืน ก็ต้องแยกใช้ศัพท์ Progression กับ Direction ทำนองว่าชีวิตที่ก้าวหน้าไป กับอายุขัยนั้นคนละเรื่องกัน แต่นั่นแค่เรื่องการแบ่งแยกจองศัพท์แสงก็เท่านั้น)
น่าจะใช้ได้ว่าเอาองศาที่จันทร์จรไปในแต่ละวัน คือประมาณ 12 องศานั้นไปบวกเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ ในดวงชะตากำเนิด
นันคือที่กำลังจะเรียกกันได้ว่า จันทรยาตร์จันทรคติ รึเปล่า!

นี่อาจเป็นคำอธิบายที่พอจะตามกันได้ทัน นะครับ

แต่โปรดสังเกตว่า ยาตร์แบบนี้ทำให้ได้องศาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันกว้างขึ้น คือแทนที่จะประมาณ 1 องศาของตะวัน ก็เป็น 12 องศาของจันทร์
ซึ่งมันซิงโครไนซ์กันในตัวอยู่แล้ว
นั่นคือถ้ามองว่าผ่านไป 1 ปี คือ 365 วัน อาทิตย์ที่เดินวันละประมาณ 1 องศา กับจันทร์ที่เดินวันละประมาณ 12 องศา จะไปบรรจบกันที่ 360 วันหรือองศาพอดี

นี่เป็นจริงถ้าตัวเลขทั้งหมดนั้นตัดคำว่าประมาณทิ้งไปให้หมด
แต่เมื่อมันไม่เท่ากันจริง คือมันมีคำว่าประมาณอยู่ นั่นคือที่ Naiboda ใช้กับตะวัน วันละ 1 องศา แล้วเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา แต่ก็ใช้กันมาหลายศตวรรษแล้ว กว่าจะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้กันได้

นี่คือที่มาของการปรับแก้ปีตามจันทรคติ ให้มีเดือน 8 สองหน ให้มีเดือนที่มีแรม 15 ค่ำในบางปี เพราะปรับแก้เลขโดยประมาณนั้นให้มันตรงกันเป็นคราว ๆ ไป

กล่าวคือการใช้จันทรยาตร์จันทรคติ (มือใหม่เข้าใจกันมั๊ยเนี่ย) คือการใช้จันทร์ที่จรจริงไปในแต่ละวัน นับจากวันเกิดนั้น จะสร้างความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่มันไม่ซิงโครไนซ์กับอาทิตย์นั่นเอง
อาทิตย์คือปัจจัยแท้ที่ก่อเกิดวัน, ฤดูกาล, ปี พระเจ้ามีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์เดิมเช่นนี้เช่นกัน (แต่จะไม่ยกคำท่านมาเล่าแล้ว เพราะถือว่าได้จบไปในตอนที่ 2 นั้นแล้วเถิด)

นี่จะทำให้ผิดพลาเฉกเช่น Naiboda เคยทำ แต่ครั้งนั้นเป็นคุณูปการ เพราะมนุษย์ยังคิดไม่ได้ Naiboda คิดคืบไปได้กว่าใคร เที่ยงพอควรน่ายกย่อง
นี่การทำซ้ำนี้โดยใช้จันทรยาต์จันทรคตินี้ จันทร์ปรวนแปร ยิ่งคูณก็ยิ่งคลาด ยิ่งหารก็ยิ่งเคลื่อน ไม่ทันถึง 30 ก็คลาดเคลื่อนไป 1 องศาแบบ Naiboda ดอก
ลองหารสัก 12 ปี ก็คลาดทีแล้ว หรือเคลื่อนแบบปรวนแปรไปตลอดยาตร์หรืออายุขัยเสียด้วย แบบไม่รู้ว่าช่วงไหนเที่ยง ช่วงไหนแปรปรวนอีกต่างหาก
ก็ขยาย 12 องศาแห่งวันของจันทร์ อันเคลื่อนนั้นเทียบขึ้นเป็นปี บวกใช้กับปัจจัยอื่นก็ยิ่งป่วน
เพราะโบราณท่านก็ใช้ตรง ๆ แบบปีต่อปี มิได้คูณขึ้น ยังต้องชดเชยไปชดเชยมาอยู่ให้จันทรคติตรงกับสุริยคติ...นั้นท่านก็รู้มีมานานแล้ว

จันทรยาตร์สุริยคติจึงใช้ได้ผลมากกว่าตามปรมอาจารย์ท่านยกไว้ให้ดูหนึ่งตัวอย่างนั้น เพราะอ้างอิงเวลาตามตะวัน อันเป็นตัวกำหนดวัน, ฤดูกาล, เดือน, ปี อันแท้

จึงจะต้องย้ำอีกครั้งว่า สุริยยาตร์ (อันใช้ ตะวัน มายาตรานั้น) คือแก่นแท้ และใช้ปัจจัยอันเป็นรากฐานของความมีวัน, ฤดูกาล, ปี อันพิสูจน์กันแล้ว ปรับแก้ข้อผิดพลาดกันแล้ว ทั้งระบบจันทรคตินั้นต้องสร้างการปรับแก้มาชดเชยระบบของตนเพื่อให้เท่ากับระบบสุริยคติเป็นระยะ ๆ ไว้

การใช้จันทรากำหนดวัน เดือน แล้วไปชนปีของตะวันนั้น ในสมัยก่อนง่ายต่อการนักบวช, พระ หรือคนจะนัดหมายกันว่าจะมาเจอกัน ประชุมกันเมื่อใด
เพราะแหงนหน้าขึ้นฟ้าไปก็สังเกตรูปลักษณ์ของจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นเสี้ยวเป็นดวงเหมือน ๆ กัน
นี่คือข้อดีของจันทร์ คือมันสังเกตเห็นด้วยตาได้ง่ายโดยทั่วไป โบราณท่านจึงใช้รูปลักษณ์จันทร์มากำหนดวันนัดหมาย
โบราณท่านรู้ว่าตะวันคือตัวกำหนดแท้มานานแล้ว แต่สะดวกใช้ก็ต้องจันทร์ จึงมีระบบปรับแก้จันทร์ให้ตรงตะวัน ท่านไม่ถอยหลัง ปรับแก้ตัวที่ล้าหลังให้ไปกันได้กับตัวที่พิสูจน์จริงแล้ว
เพื่อรักษาระบบให้อ้างอิง หรือ Transformation ข้ามกันได้ แต่ท่านรู้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ มิได้ปฏิเสธมาหลายศตวรรษ

สรุปได้ว่า...

สาธุชนพึงสดับรับฟังว่า อันจันทราอย่าหมายว่าง่ายเที่ยง มันอารมณ์ปมปุ่มเสี้ยวเลี้ยวและเอียง เพียงเสรี่ยงตามตะวันอย่ามั่นหมาย
เปรียบลูกเล็กเด็กแดงใกล้ผู้ใหญ่ ก็แอบใช้บารมีที่ท่านหญ่าย หาประโยชน์โภคผลจักป่นดาย ก็อย่าหมายว่าจะได้หัวใจ!

จบวรรคแบบลอกวรรคทองของท่านเสียงั้นเลย และสำนวนพระท่านก็ต้องว่า..

ใช้จันทร์ได้ แต่อย่าได้หลงจันทร์ (จันทร์มีไว้ให้ใช้ ไม่ได้มีไว้ให้หลง)

นี่คือบทความแห่ง จันทร์ไร้ญาติ อันอาจมาเร็วเกินไป

จบแล้วจริง ๆ หนอ และจะไม่มีตอนต่อไปอีก ขอหลบเข้ากลีบเมฆหลีกลี้ไปโดยบัดนี้เทอญ
เชิดดดด... ตะเล่งเต่งเต้ง เต็ง เต่ง เต้ง เตง เต่ง เต็ง เต้ง เตง ๆๆๆ ...

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิ วันที่ตอบ 2008-01-25 10:37:25 IP : 58.10.61.52


ความคิดเห็นที่ 13 (902809)

แก้ไข...

ตัวเลขประมาณ 12 องศาต่อวันของจันทร์นั้น มันคูณ 30 จะได้ประมาณ 360 องศาต่อเดือน (29 วันกว่า ๆ หรือเกือบ ๆ เท่ากับ 30 วัน)

เป็นประมาณ 360 องศาต่อปี (29 วันกว่า ๆ หรือเกือบ ๆ เท่ากับ 30 วัน แต่ถ้านับเศษกัน บางปีก็ได้ทางจันทรคติเกือบ 400 วัน)

ขออภัย ๆ ที่ผิดพลาด

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิ วันที่ตอบ 2008-01-25 10:40:42 IP : 58.10.61.52


ความคิดเห็นที่ 14 (902812)

แก้ไขอีก...

เป็นประมาณ 360 องศาต่อปี

เป็นประมาณ 360 องศาต่อเดือน (น่าจะถูกแล้วนะคราวนี้)

ขออภัยอีกที

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิ วันที่ตอบ 2008-01-25 10:42:40 IP : 58.10.61.52


ความคิดเห็นที่ 15 (905191)

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ขออนุญาต แสดงความเห็นเพิ่มเติม ทำความเข้าใจร่วมกันนะครับ ขอให้อย่าถื่อว่าเป็นวิวาทะต่อกันนะครับ

พอดีเมื่อวานได้มีโอกาสไปร่วมงานเสวนาของชมรม Sky Clock โดยผมได้ไปนำเสนอเรื่องการพยากรณ์ด้วยโค้งจันทรยาตร์ ขยายความรวมถึงการพยากรณ์จรตามอายุขัยตามภาพรวมไปด้วย ก็เสียดายที่ท่านคงไม่ได้ไปร่วม มิฉะนั้นคงได้ตอบข้อสงสัยให้ได้กระจ่างกว่าในกระทู้

จากบทความข้างบนผมขอตัดมาอธิบายเป็นส่วนๆ นะครับ

....... ตัวเลขประมาณ 12 องศาต่อวันของจันทร์นั้น มันคูณ 30 จะได้ประมาณ 360 องศาต่อเดือน (29 วันกว่า ๆ หรือเกือบ ๆ เท่ากับ 30 วัน)
นั่นคือที่มาอันคนโบราณใช้จันทร์กำหนดวันและเดือนตามจันทรคติ

ตามความเป็นจริงจันทร์โคจรประมาณ 12-15 องศา ต่อวันโดยประมาณ หากคิดเป็นต่อเดือน (ถ้า 30 วัน) จันทร์จะโคจรประมาณ 390-400 กว่าองศาต่อเดือน ตรวจสอบได้ง่าย ลองตั้งวันที่ล่วงหน้าไป 30 วัน เทียบกับ เดือนก่อน จันทร์จะอยู่หน้าจันทร์เดิมไป 30 องศาขึ้นไป แต่ถ้าเทียบกับวงรอบของอมาวสี(New Moon) หรือ SoLunarReturn (ดิถี) ซึ่งก็คือ 29 วันกว่า (แบบละเอียดคือ 29.53059027778 วัน = วงรอบ Synodic ) จันทร์จะโคจรอยู่ประมาณ 380 กว่า - 390 กว่าองศา มีผลทำให้ค่าองศาจันทร์เคลื่อนไปเร็วกว่าวงรอบของอาทิตย์ปีละประมาณ 11 วัน ตรงนี้เป็นที่มาของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งมีผลต่อทำให้ต้องมี ปีอธิกมาส (เดือน 8 สองหน) และ อธิกวาร (เดือน 7 มีแรม 15 ค่ำ) หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ลองหาอ่านจากบทความของ พระยาบริรักษ์ฯ(อดีตนายกสมาคมโหร) เรื่องอธิกมาส และ อธิกวาร หรือ พระราชวินิจฉัยของ ร.4 ที่มาของปฏิทินจันทรคติของสายธรรมยุต(ปักขคณนา)


..... กล่าวคือการใช้จันทรยาตร์จันทรคติ (มือใหม่เข้าใจกันมั๊ยเนี่ย) คือการใช้จันทร์ที่จรจริงไปในแต่ละวัน นับจากวันเกิดนั้น จะสร้างความคลาดเคลื่อนสะสมขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่มันไม่ซิงโครไนซ์กับอาทิตย์นั่นเอง
คนละประเด็นครับ การซิงโครไนซ์กับอาทิตย์เราไม่มองแค่มันต้องจรจริงไปเท่ากัน เราต้องมองกันตรงความเป็นสัดส่วนกัน(อัตราส่วน) จุดของส่วน(ตัวหาร)ครับ อย่างในกรณีของจันทรยาตร์แบบจันทรคติ เราทำการ ซิงโครไนซ์โดยการใช้วงรอบ Synodic เป็นตัวหารไงครับ

นี่คือที่มาของการปรับแก้ปีตามจันทรคติ ให้มีเดือน 8 สองหน ให้มีเดือนที่มีแรม 15 ค่ำในบางปี เพราะปรับแก้เลขโดยประมาณนั้นให้มันตรงกันเป็นคราว ๆ ไป
นี่แหละครับ คือวิธีการในการซิงโครไนซ์กันของ 2 ระบบ


...... นี่การทำซ้ำนี้โดยใช้จันทรยาต์จันทรคตินี้ จันทร์ปรวนแปร ยิ่งคูณก็ยิ่งคลาด ยิ่งหารก็ยิ่งเคลื่อน ไม่ทันถึง 30 ก็คลาดเคลื่อนไป 1 องศาแบบ Naiboda ดอก
ลองหารสัก 12 ปี ก็คลาดทีแล้ว หรือเคลื่อนแบบปรวนแปรไปตลอดยาตร์หรืออายุขัยเสียด้วย
ด้วยเทคโนโลยีในภาคของการคำนวณแล้ว ไม่ทำให้เกิดความปรวนแปร หรือผิดพลาดแต่อย่างใด เราสามารถทำให้ค่าความเคลื่อนเหลือไม่เกิน 0.00001 ก็ยังได้ (แต่ไม่จำเป็นต้องทำ)

....... จันทรยาตร์สุริยคติจึงใช้ได้ผลมากกว่าตามปรมอาจารย์ท่านยกไว้ให้ดูหนึ่งตัวอย่างนั้น เพราะอ้างอิงเวลาตามตะวัน อันเป็นตัวกำหนดวัน, ฤดูกาล, เดือน, ปี อันแท้
เราไม่ได้เอาไปเปรียบเทียบกันครับ จริงๆแล้ว โดยหลักการอ่าน จันทร์ยาตร์จันทรคติ เราต้องอ่านจาก จันทรยาตร์สุริยคติ มาก่อน พูดง่ายๆ ถ้าเรียงจริงๆ ก็ต้องอ่าน สุริยยาตร์ก่อนด้วย เพื่อ ให้ทราบเหตุการณ์ครอบคลุมเรียงจาก ปี(สุริยยาตร์) เดือน(จันทรยาตร์สุริยคติ)และ วัน(จันทรยาตรจันทรคติ) ตามลำดับ  ดังนั้นผมไม่ใช้คำว่าได้ผลมากกว่า แต่ผมถือว่า จจย.จค เป็น Sub Set ของ จจย.สค

ผมบรรยายเมื่อวาน เปรียบเทียบเรื่องของ Direction เป็นเสมือน นาฬิกาชีวิต ซึ่งมี เข็มสั้น(สุริยยาตร์) เข็มยาว(จจย.สค) และ เข็มวินาที(จจย.จค) ซึ่งเราไม่สามารถดูเวลาได้ด้วยเข็ม วินาที อย่างเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น จันทรยาตร์จันทรคติ ก็ไม่สามารถไร้ญาติ ได้เช่นกัน

อนึ่ง นาฬิกา หลายเรือนก็ไม่จำเป็นต้องมีเข็มวินาที เช่นกันครับ เครื่องมือทางโหราศาสตร์บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องมีลงลึกไปถึงจันทรยาตร์จันทรคติก็ได้ แต่ถ้ามีมันน่าสนุกกว่าไหม นี่เป็นแค่กล้องจุลทรรศน์ที่มันละเอียดขึ้น อาจเกินความจำเป็นสำหรับบางท่าน

....... แต่ผู้เขียนก็แอบหวังอยู่ไม่น้อยที่จะได้เห็นท่านผู้เสนอเรื่องจันทรยาตร์นี้จะกรุณาแสดงตัวอย่างการใช้ที่สัมฤทธิ์ผลจำนวนมาก ๆ หน่อยในงานเสวนาของกลุ่ม SkyClock ที่จะจัดให้มีขึ้นในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ซึ่งคุ้มค่าที่จะต้องไปฟังกันอย่างแน่นอน

น่าเสียดายที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ไปเมื่อวาน ผมบรรยายเรื่องนี้กว่า 2 ชั่วโมง มีตัวอย่างที่น่าสนใจหลายอัน ซึ่งที่จริงผมได้ทิ้งร่องรอยไว้ในบทความเรื่องนี้ที่ UranianSoft.com ลองดูที่
http://www.uraniansoft.com/indexsub.php?subdetail=featuredetail&q_id=135&expand=0&catpos=2
ภาพประกอบบทความผมใช้ดวงของประนาธิบดีซูฮาร์โต โดยตั้งดวงที่ วันที่ 21/1/2551 ซึ่งเป็นดวง Lunar Return เป็นการบอกเหตุการณ์ว่าจะเกิดในเดือนนี้ ปรากฏว่าเสียชีวิตเมื่อวาน ตอน 13.10 น. (เสียดายหลังจากผมบรรยายจบไปแล้ว) ให้ลองไปค้นหาต่อนะครับ โดยกะด้วยสายตาก็ได้ หมุนโค้งต่อไปอีกประมาณ 3 องศา จะมีค่าเท่ากับ ุ6 วัน นับจากวันที่ 21

จันทรยาตร์จันทรคติ จะไร้ญาติหรือไม่ ก็ขอเอวังด้วยประการฉะนี้

เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่ : เรอเน เดคาร์ด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-28 11:59:22 IP : 210.246.184.2


ความคิดเห็นที่ 16 (905193)
ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม วันที่ตอบ 2008-01-28 12:00:30 IP : 210.246.184.2



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.