ReadyPlanet.com
dot


วันนี้ครบรอบ 1 ปีเว็บไซต์แห่งนี้ จึงขอนำเสนอบทความใหม่ "เลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง"


วันนี้ของปีที่แล้ว เป็นวันเริ่มเปิดตัวเว็บไซต์ Horauranian.com อย่างเป็นทางการ

วันนี้จึงถือว่าเป็นวันทินวรรษ (Solar Return) ของเว็บไซต์แห่งนี้ และจังหวะฟ้าก็หมุนมาตรงกับวันอมาวสี (New Moon) พอดี ซึ่งก็น่าจะหมายความว่าปีที่ 2 ของเว็บไซต์แห่งนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามดูกันต่อไป

เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 1 ปี ผมจึงขอนำเสนอบทความล่าสุดที่เพิ่งเขียนจบสดๆร้อนๆ นั่นคือ "เลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง" กล่าวถึง การหาฤกษ์มงคลในชีวิตประจำวันอย่างง่ายๆ ซึ่งทุกคนสามารถหาได้เอง แม้ว่าจะไม่ใช่นักโหราศาสตร์ก็ตาม โดยใช้หลักการที่มีมาแต่โบราณ นั่นคือ ยามสากล (Planetary Hours)

ขอเชิญทุกท่านติดตามได้ตาม link นี้ครับ

http://www.horauranian.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5345030&Ntype=2



ผู้ตั้งกระทู้ Pallas :: วันที่ลงประกาศ 2007-11-10 22:02:44 IP : 125.25.197.221


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (850970)
ขอแสดงความยินดีกับการครบรอบ 1 ปีของเว็บไซต์นี้ ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่อัดแน่น ขอให้รักษาคุณภาพคับแก้วแบบนี้ต่อๆไปนะคะ อยากจะขอคุยเรื่องบทความใหม่ที่คุณ Pallas ได้นำมาเสนอคะ คือ เราอ่านบทความนี้ แล้วทำให้นึกถึงเรื่องการนับยามแบบโหราศาสตร์ไทย ที่อ.อารี ได้สอนในห้องเรียนดารา-โหราศาสตร์คะ (ส่วนตัวจริงๆไม่รู้เรื่องดวงไทยเลย) เลยไปหยิบเล็คเชอร์มาดู ปรากฏว่า ลำดับการเรียงดาวเหมือนกันเลยคะ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครอยากจะนับดาวอะไรเริ่มต้น จำได้เลาๆว่า อ.อารีบอกว่า จริงๆจะบอกว่าเป็นการนับยามแบบไทย ก็ไม่ถูก เพราะต้นกำเนิดมาจาก อียิปต์โบราณ (ไม่ยืนยันนะคะ ถ้ามีเพื่อนสมาชิกที่นั่งเรียนด้วยกันในห้องวันนั้น ผ่านมา แล้วพบว่าข้อความนี้ไม่ถูกต้อง รบกวนช่วยแก้ไขด้วยนะคะ ขอบคุณคะ) ที่เขียนเล่ามาข้างต้น ก็เพื่อจะบอกว่า ไม่ว่าโหราศาสตร์ชาติไหนๆ ก็มีจุดเริ่มต้นจากที่เดียวกัน จากฟ้าเดียวกัน ขอขอบคุณมากๆเลยคะ สำหรับบทความดีๆ
ผู้แสดงความคิดเห็น beginner วันที่ตอบ 2007-11-11 01:31:32 IP : 58.9.62.40


ความคิดเห็นที่ 2 (851035)

จริงๆผมตั้งใจว่าจะเขียนเรื่อง ยามสากล vs ยามอัฏฐกาลของไทย ในบทความที่ลงไปเหมือนกันครับ เพียงแต่เขียนไม่ทันวันเกิดเว็บไซต์ ก็เลยลงเท่าที่เห็นไปก่อน กำลังจะเขียนเพิ่มเข้าไปเร็วๆนี้ครับ

ถ้าให้สรุปเร็วๆก็คือ ยามกลางวันของไทย เรียงลำดับเหมือนลำดับคาลเดียน ส่วนยามกลางคืนของไทยจะนับถอยหลังข้ามไปหนึ่งลำดับ จุดเริ่มต้นของยามอัฏฐกาลจะเริ่มจากชื่อวันนั้นทั้งยามกลางวันและยามกลางคืน อีกอย่างยามของไทยจะนานยามละชั่วโมงครึ่ง ส่วนยามสากลจะนานยามละ 1 ชั่วโมง อ่านแล้วอาจงงๆ แล้วจะรีบเขียนลงบทความครับ

ส่วนอียิปต์โบราณจะอยู่ติดกับเมโสโปเตเมียซึ่งชาวคาลเดียนอาศัยอยู่ เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของโหราศาสตร์อยู่ที่บริเวณนั้น โดยทั้งอียิปต์และเมโสโปเตเมียมีพัฒนาการของโหราศาสตร์ใกล้เคียงกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2007-11-11 10:27:14 IP : 125.25.194.119


ความคิดเห็นที่ 3 (851039)

โหราศาสตร์แทบทุกอย่าง ล่วนมีต้นกำเนิดมาจากสิ่งเดียวกันเลยครับ แล้วก็แพร่กระจายไปยังที่ต่างๆ แตกต่างกันที่เทคนิคและปรัชญาพื้นฐานบางอย่าง ขึ้นอยู่กับสำนักไหน

ที่คุณกล่าวมาข้างต้นนั้น ถูกต้องครับ อ.อารี กล่าวไว้อย่างนั้นแหละครับ (ผมยืนยันให้ได้ครับ เพราะพวกผมนั่งอยู่ด้วย)

หากสนใจเรื่องที่มา หรือประวัติของโหราศาตร์ คุณ pallas เคยเขียนเรื่อง วิวัฒนาการณ์ของโหราศาสตร์ ไว้นะครับ น่าสนใจมากครับ อาจเป็นข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนเรื่องยาม planetary hour นั้นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมานานมากครับ และพัฒนาต่อยอด กลายไปเป็นวันในสัปดาห์ เริ่มต้นจากการสังเกตพบว่ามีดาวบนท้องฟ้าที่เคลื่อนที่ให้เขาสังเกตเห็นได้แค่นั้น = อาทิตย์ จันทร์ + ดาวเคราะห์ (พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์) ที่ทำให้เกิดเป็นสัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ลองค้นดูสิครับ ไม่ว่าประเทศไหนก็มี 7 วันเหมือนกัน แถมเรียกชื่อวันเหมือนกันด้วยสิครับ อย่างนี้ถ้าแหล่งที่มาไม่มาจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน หรือจากความเชื่อที่เหมือนๆกันแล้ว ก็ยากที่จะออกมาได้เหมือนกันตรงแป๊ะอย่างนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความโหราศาสตร์ กับที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์ แล้วกันนะครับ

เขียนยืดยาวมานี้ แค่อยากจะกล่าวถึงคำพูดของท่านอาจารย์แทบทุกท่านกล่าวมาคือ โหราศาสตร์นั้นแค่เราศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่นั้น ก็ไม่จบไม่สิ้นแล้ว อย่าเพิ่งพูดถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมาเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น Phainon วันที่ตอบ 2007-11-11 10:32:17 IP : 58.8.8.43


ความคิดเห็นที่ 4 (851128)
    ร่วมแสดงความชื่นชม       ครบปี   ยูเรฯ
ในวาระดิถี                         ครบขวบ
website ที่ดีดี                    โหรศาสตร์
ข้อมูลครบรวมรวบ                ทันสมัย    ทรงภูมิฯ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต..astroclassical.com วันที่ตอบ 2007-11-11 15:03:21 IP : 203.150.138.177


ความคิดเห็นที่ 5 (851282)

ยินดีด้วยเช่นกันครับ ขอให้พัฒนาต่อไปเพื่อเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สนใจโหราศาสตร์ยูเรเนียนทุกท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น โรจน์ วันที่ตอบ 2007-11-11 22:00:48 IP : 124.120.175.46


ความคิดเห็นที่ 6 (852797)

ขอแสดงความยินดีด้วยคะ

SU/MO/MC = JU / AP= VE = PL/KR

ผู้แสดงความคิดเห็น PKASTRO วันที่ตอบ 2007-11-13 18:17:37 IP : 203.146.6.86


ความคิดเห็นที่ 7 (852953)
ในจังหวัดเดียวกัน วันเดียวกัน ชั่วโมงเดียวกัน ทุกคนจะมีplanetaryhourเหมือนๆกัน ทุกคนจึงควรทำกิจกรรมทำนองเดียวกันจึงจะดี หรือว่าต้องตรวจจากดวงจรดวงกำเนิดอย่างไรด้วยหรือไม่ครับ ถ้าช่วยขยายความต่ออีกซักนิดจะเป็นพระคุณ โปรแกรมที่แนะนำไว้ดีมากๆครับ ขอบคุณมาก
ผู้แสดงความคิดเห็น คนที่คุณก็รู้ว่าใคร วันที่ตอบ 2007-11-13 22:44:13 IP : 222.123.48.237


ความคิดเห็นที่ 8 (853415)

ขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีจากทุกท่านครับ

สำหรับคำถามของคุณ คนที่คุณก็รู้ว่าใคร นั้น สำหรับจังหวัดเดียวกัน เวลาเดียวกัน ทุกคนจะมี Planetary Hour เหมือนกันครับ ดังนั้น การเลือกฤกษ์ในการทำกิจกรรมก็ควรสอดคล้องกับความหมายดาวของชั่วโมงนั้นเหมือนกันทุกคน ผมเคยสังเกตเหตุการณ์ในห้องประชุมครั้งหนึ่ง ซึ่งเริ่มประชุมในชั่วโมงจันทร์ ปรากฏว่าคนในห้องประชุมต่างก็พูดโดยใช้อารมณ์เป็นหลัก ผ่านมาชั่วโมงเสาร์ เรื่องราวเริ่มยืดเยื้อ น่าเบื่อ คนหาวกันทั้งห้องประชุม จนข้ามมายังชั่วโมงพฤหัส ก็มีผู้บริหารระดับสูงเข้ามาตัดสินใจประเด็นที่ค้างคาและทำให้การประชุมสิ้นสุดด้วยดีในชั่วโมงพฤหัส ที่เป็นอย่างนี้ ผมไม่ได้หมายความว่าการประชุมที่เริ่มในชั่วโมงจันทร์จะเป็นเช่นนี้ทุกครั้งนะครับ เพียงแต่อิทธิพลของดาวประจำชั่วโมงนั้นๆมักจะส่งผลกับเหตุการณ์นั้นอยู่เสมอครับ

ส่วนการจะตรวจจากดวงจรดวงกำเนิดนั้น ก็ย่อมทำได้ แต่ก็ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น อย่าลืมว่าวัตถุประสงค์หลักของยามสากลคือการให้ฤกษ์อย่างง่าย ผมจึงเสนอว่าให้ใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก ส่วนหากจะใช้กับเรื่องสำคัญ ผมแนะนำว่าใช้การดูดวงตามปกติน่าจะเหมาะสมกว่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2007-11-14 14:00:46 IP : 61.90.143.87


ความคิดเห็นที่ 9 (853655)

แจ้งข่าวครับ ผมเขียนบทความเพิ่มเติมเรื่อง ยามอัฏฐกาล vs ยามสากล เรียบร้อยแล้ว ขอเชิญทุกท่านอ่านได้ในบทความ "เลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง" ได้เลยครับ โดยหัวข้อที่เพิ่มเติมมานี้จะอยู่หลังหัวข้อ ตัวอย่างการใช้งาน และก่อนหัวข้อ สรุป ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2007-11-14 18:36:51 IP : 61.90.143.87



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.