ReadyPlanet.com
dot


ค่าความแม่นยำในตำนานที่ใช้วางปีอธิกมาส อธิกวารในปฏิทินไทย


ปฏิทินไทยเรามีการแบ่งลักษณะปีเป็น3แบบ โดยเมื่อแบ่งด้วยจำนวนเดือนต่อปี จะได้ ปีที่มี 13เดือน ที่เรียกว่า "ปีอธิกมาสมี384วัน" ส่วน ปีที่มี 12เดือน ยังแบ่งย่อยได้2อย่างคือ ปีที่ไม่ต้องเพิ่มวัน เรียกว่า "ปีปกติ มี 354วัน" และปีที่ต้องเพิ่มวัน เรียกว่า "ปีอธิกวาร มี 355วัน" แต่พอจะหากฎการวางปีในปฏิทินไทย ทั้ง 3 ชนิด ผู้รู้ก็ว่าแต่โบราณมาเขาจะใช้ตำราที่เป็นแม่แบบ ที่ใช้เป็นหลักวางปีทั้ง 3 ด้วยพระคัมภีร์สุริยยาตร แค่ได้ยินชื่อก็ฟังดูน่ากลัวแล้ว !? . ใครได้ลองศึกษาพระคัมภีร์สุริยยาตรดู ก็พบว่าไม่มีจุดใดที่บอกเกี่ยวกับวิธีกำหนดปีปฏิทินไทยเลย ขึ้นต้นมามีแต่จะเป็นสำนวนโบราณๆ ที่ทั้งชื่อและวิธีคำนวณ ดูจะยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีก เช่น หรคุณ(ใช้ในการนับวัน) มาสเกณฑ์(ใช้ในการนับเดือน) จุลศักราช(ใช้ในการนับปี) ดิถี (ใช้ในการนับวันย่อยของเดือน โดย1เดือน=30ดิถี) อวมาน (ใช้ในการนับเก็บส่วนย่อยดิถี โดย1ดิถี=692อวมาน) กัมมัชพล (ใช้ในการนับเก็บส่วนย่อยของปีสุริยคติ โดย1ปี=292207กัมมัชพล) เป็นต้น . ปัญหาเลยทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ ฯลฯ คุยกันไม่ตรงกันสักที นักวิชาการแบบสมัยใหม่เจอคัมภีร์สุริยยาตรเข้าก็จอด อ่านไม่รู้เรื่องไม่รู้จะเอาไปทำอะไรต่อได้ หันไปใช้ค่าความแม่นยำตามศาสตร์สมัยใหม่ ก็วางปีปฏิทินไทยได้ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่เคยใช้มา ส่วนนักโหราศาสตร์ที่คุ้นเคยอยู่ก่อน ก็อธิบายไม่ได้ว่าอะไรเป็นอะไร คำนวณเป็นแบบว่าไปตามขั้นตอน ตามสำนวนโบราณไปเท่านั้น ซึ่งหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่2มา พระคัมภีร์สุริยยาตรก็ไม่มีปรากฏ สูตรอธิกมาสอธิกวารมาให้ด้วยเลย สูตรที่มีนั้นพัฒนาขึ้นใหม่หลังกรุงศรีอยุธยาแตกทั้งสิ้น เช่น เกณฑ์อย่างหยาบในรอบ19ปีจะมีอธิกมาสราว 7ครั้ง หรือ เกณฑ์อย่างหยาบในรอบ38ปีจะมีอธิกวารราว 7ครั้ง แบบต่างๆ ก็อาศัยพยายามจับระยะห่างระหว่างปีจากปีเก่าๆที่เคยวางมา แต่ก็ใช้ไม่ได้จริงระยะยาวสูตรทั้งหมดเลื่อนไปหมดแล้วครับ . . เมื่อเร็วๆมานี้พึ่งจะมีการสรุปค่าความแม่นยำ ในพระคัมภีร์สุริยยาตรกันได้ชัดๆ การค้นพบนั้นเริ่มมาจากค่าพื้นฐานง่ายๆ ที่ใช้คำนวณเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี หรือหรคุณ มาสเกณฑ์ และจุลศักราช เพียง 4 ค่า จากพระคัมภีร์สุริยยาตรคือ 1.ปีทางสุริยคติแบบพระอาทิตย์เล็งดาวฤกษ์ (sidereal year) =292207/800 วัน 2.เดือนข้างขึ้นข้างแรมหรือมาส (synodic month) =30*692/703 วัน 3.ค่าเริ่มต้นปีแรกจ.ศ.0ตรงกับหรคุณ (the date of the first year) =373/800 ค่านี้เป็นจุดเริ่มต้นปีทางสุริยคติในสุริยยาตร 4.ค่าเริ่มต้นเดือนแรกมาสเกณฑ์0ตรงกับหรคุณ (the date of the first month) = -650/703 ค่านี้เป็นจุดเริ่มต้นปีทางจันทรคติในสุริยยาตร . ด้วยค่าเพียง4ค่านี้ตามสุริยยาตรเท่านั้นครับ ในที่สุดจะพบรอบที่ใหญ่ที่สุด ตามความแม่นยำในสุริยยาตร ที่ลงตัวเป็นจำนวนเต็มชุดแรก ขอตั้งชื่อรอบนี้ว่า "ภูริกยุค" มีค่าดังนี้ . 1 ภูริกยุคแห่งสุริยยาตร =16,608,000 ปีสุริยคติแบบเล็งดาวฤกษ์(solar sidereal year) =6,066,217,320 วันธรรมดา หรือสุรทิน (solar day) =6,162,645,630 ดิถี หรือจันทรทิน (lunar day) =96,428,310 ดิถีกษัยหรือ วันอูนราตร์ =205,421,521 เดือนขึ้นแรม หรือ จันทรมาส (lunar month) =199,296,000 เดือนพระอาทิตย์ หรือสุริยมาส หรือราศี (solar month) =222,029,521 เดือนจันทรคติแบบเล็งดาวฤกษ์(sidereal month) =6,125,521 อธิกมาส (adhika maasa) =3,219,690 อธิกวาร (adhika vaara) =7,262,789 ปกติมาสปกติวาร (pakati ~) . โดย ปีจ.ศ.0 ตกหรคุณ 373/800 มาสเกณฑ์0 ตกหรคุณ -650/703 และอธิกมาส 0 ตกหรคุณ -282856310/6125521 . รอบยุคดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ให้นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักปฏิทิน นักโบราณคดีฯลฯ ไม่หยิบกันคนละอย่างสองอย่างคนละตำรา จะได้คุยกันกรอบค่าเดียวกันสักที ที่ทั้งมีความสำคัญคือความสอดคล้องตามปฏิทินไทยในอดีตที่เป็นมาครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ภูริ (poohri1234-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-28 17:32:40 IP : 115.67.175.203


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1943860)

ขอบคุณที่คุณภูริช่วยแบ่งปันข้อมูลเรื่องคัมภีร์สุริยยาตร์ครับ ถ้าจะให้ดี เวลา post ช่วยเคาะย่อหน้า จะช่วยให้อ่านง่ายขึ้นเยอะเลยครับ

สำหรับเรื่องคัมภีร์สุริยยาตร์นั้น ผมมีความรู้น้อยมาก เพราะผมเน้นศึกษาโหราศาสตร์ยูเรเนียนและโหราศาสตร์สากลเป็นหลัก พอจะรู้บ้างเล็กน้อยจากความรู้ที่อาจารย์พลังวัชร์เล่าให้ฟังบ้าง เขียนไว้ในหนังสือบ้าง หากคุณภูริสนใจเรื่องนี้ ลองถกกับอาจารย์พลังวัชร์น่าจะสนุกกว่า

จริงๆผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจประเด็นที่คุณภูริจะเสนอเท่าไหร่ครับ ตามไปอ่านกระทู้ที่คุณภูริเขียนในพยากรณ์ดอทคอมแล้วก็ยังไม่ชัด ว่า post เพื่อถาม หรือเพื่อเล่างานที่ค้นคว้ามาและพบประเด็นที่น่าจะมาถกเถียงกัน หรือจะเขียนเป็นบทความสอนให้คนไม่รู้เรื่องได้อ่านกัน เลยไม่รู้ว่าจะแสดงความคิดเห็นในกระทู้อย่างไรดี

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas (pallas-at-horauranian-dot-com)วันที่ตอบ 2009-05-28 18:00:34 IP : 61.90.143.87


ความคิดเห็นที่ 2 (1943862)
ขออภัยตอนพิมพ์มี ขึ้นบรรทัดใหม่แล้ว ขอทดสอบขึ้นบรรทัดใหม่
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-28 18:10:22 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 3 (1943863)
ไม่ได้ผลแฮะ คนละระบบ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-28 18:13:11 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 4 (1943873)
ถ้าคุณPallasช่วยแก้ให้Chromeพิมพ์แบบเว้นช่องว่างได้ก็เยี่ยมครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2009-05-28 18:52:50 IP : 124.157.132.222


ความคิดเห็นที่ 5 (1943891)
ขออภัยข้ามระบบกันเว้นบรรทัดเลยไม่ขึ้น ข้างบนเขียนเป็นบทความไว้ครับ เป็นอีกเเง่มุมหนึ่งที่แปลกดีตามกรอบในสุริยยาตร . เท่าที่เห็นมายาวนาน เด็กสมัยใหม่พอเจอสุริยยาตรเป็นจอดโดยมาก เลยมักพลิกไปเอาตัวกรอบอื่นมาคิด ทำให้ไม่สอดคล้องปฏิทินที่ใช้กันมา ค่าข้างต้นที่คัดมาให้ไว้ครับ เผื่อใครที่จะลองเล่นตัวเลขตามในสุริยยาตรบ้าง ก็หยิบหาอัตราส่วนต่างๆได้เลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-28 19:29:53 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 6 (1943957)

จริงแล้วเคยมีวิวาทะ  ระหว่าง ปฏิทินโหรของสมาคมโหร โดย พระยาบริรักษ์เวชชการ  นายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทย  กับ ท่านอาจารย์ทองเจือ  อ่างแก้ว  ในปี พศ.2499  เถียงกันเอาเป็นเอาตายเชียว เรื่อง การเพิ่ม อธิกวาร  ในปี 2500  มีการจำแนกแจกแจงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟัง  ถึงขั้นสาปแช่งกันเชียวคับ

ขนาดคัมภีร์ปักขคณนา  ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า  รัชกาลที่ 4 วางหลักไว้ให้พระนิกายธรรมยุติ ใช้ ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์  กันมากมาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B2

มีหลักฐานวิวาทะ ครั้งนี้ในนิตยสารพยากรณสาร  ของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย  พศ.2499  หลายเล่มติดต่อกัน
และมีโหรผู้ใหญ่  ออกมาให้ความเห็นเป็นวิชาการหลายๆท่าน  เช่น ของท่านโหรหลวงยุคนั้น ได้แก่ โหรบาง  เสมเสริมสุข   ท่านเจ้าคุณบริรักษ์ฯ    ท่านอาจารย์ทองเจือ  อ่างแก้ว  ท่านอาจารย์พลูหลวง  ท่านอาจารย์อรุณ  เทศถมทรัพย์ ฯลฯ

ตอนหลังๆจากนั้นอีกหลายๆ10ปี  ถึงมารู้ว่า เถียงกันเพื่อเชิงพาณิชย์ เพราะลงทุนทำปฏิทินไปล่วงหน้ามากมายหลายหมื่นบาทแล้ว   ถ้าชาวบ้านคนที่ใช้เขารู้ว่าผิดก็จะเสียหายขายออกไม่ได้  เป็นอันเจ๊งกันแน่  เลยต้องมีการชักแม่น้ำทั้ง 5  เอาหลักฐานต่างๆด้นมาเพื่อให้รอด  ทั้งๆที่จนมุมกับหลักฐานที่ได้มาหักล้างนั้น  แต่ต้องทำไม่งั้นขาดทุนขายปฏิทินโหรไม่ได้

ตกลง ปี 2500  นั้น พระสงฆ์ไทยธรรมยุติกับมหานิกาย ลง ปาวารณาเข้าพรรษา  กันคนละวัน

จากนั้นพอมีการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขนกัน  ของพวกคณะราษฏร์  เพื่อล้างบาปที่เคยทำกันไว้กะว่าจะรวมนิกายทั้ง 2 เข้าด้วยกัน  ถึงกับเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา  หัวหน้าคณะราษฏร์ ก็มาบวชที่นี่  แต่สุดท้ายก็เหลว  ทำไม่ได้  วัดนั้นตกลงตอนหลังๆ จนถึงปัจจุบันนี้ก็เป็น วัดนิกายธรรมยุติ

ผู้แสดงความคิดเห็น โหรเก่าๆ...เล่าให้ฟัง วันที่ตอบ 2009-05-28 23:37:38 IP : 118.172.99.116


ความคิดเห็นที่ 7 (1944042)
ขอบคุณครับ เท่าที่เห็นปัญหาต่างๆ ไม่ว่าที่ไหนๆแล้วพลิกเป็นวิวาทะนั้น ส่วนใหญ่มาจากการใช้กันคนละกรอบสนทนา ด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จึงไม่แปลกอะไรที่กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันไป ก่อนอื่นขอเรียนว่า กระทู้นี้ คงไว้สงวนไว้ ในเชิงการศึกษาที่ลงในกรอบการศึกษาแห่งสุริยยาตรเท่านั้นครับ อันจะได้แง่มุมที่ สร้างสรรค์ เพราะโดยธรรมชาติแล้วสุริยยาตรมีชีวิตชีวาอยู่มากครับ. ส่วนปัจจัยและเหตุการณ์ที่ยังให้สุริยยาตร ถูกมีอิมเมจเคลื่อนไปอย่างไร หรือบทสนทนาในเรื่องนอกประเด็นจากกรอบวิชาความรู้ในสุริยยาตร จึงขอให้เป็นประเด็นไปในกระทู้อื่นครับ ไม่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-29 09:32:22 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 8 (1944561)

ความรู้กับความเชื่อ  นั้น  ถ้าพิจารณาให้ดีๆ  จะเห็นได้ว่ามันแตกต่างกัน  ปัญหามันอยู่ที่ว่า  บางคนเค้าเข้าใจปักใจว่า ความเชื่อของเขานั้น  เป็นความรู้   นี่สิ

ผู้แสดงความคิดเห็น โหรเก่าๆ...ก็ว่ากันไป วันที่ตอบ 2009-05-30 14:33:40 IP : 118.172.51.222


ความคิดเห็นที่ 9 (1944647)
รับทราบความสนใจของท่านโหรเก่าๆ แต่กำลังออกนอกกติกา&มารยาทการสนทนา ตามเรื่องกระทู้นี้อยู่ครับ จึงแจกฟาวใบเหลือง ครับ อิ อิ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-30 19:36:20 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 10 (1944650)
หากคุณโหรสนใจประเด็นอื่นนอกประเด็น ชอบเล่าชอบคุยจะเมลล์มาคุยก็ได้ poohri1234@gmail.com
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-30 19:43:27 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 11 (1944660)
ให้การบ้านสำหรับ นักสุริยยาตร 1) สัดส่วนปีทางสุริยคติกับปีทางจันทรคติ ตามสุริยยาตรจะมีสัดส่วนคือเท่าใด? (ปีทางสุริยคติ:ปีปกติ:ปีอธิกวาร:ปีอธิกมาส) 2) อัตราการเกิดอธิกมาสตามสุริยยาตร มีอัตรากี่วันครั้ง กี่เดือนครั้ง ? 3) จากระยะปีสุริยคติในสุริยยาตร มีค่า 292207/800 วัน (365.25875) และจากระยะปีจันทรคติในสุริยยาตร มีค่า 360*692/703 วัน (354.366998577) เหตุใดจึงทำให้เราทราบว่าในสุริยยาตร มีอัตราอธิกมาสเป็น 16608000/6125521 ปีต่ออธิกมาสได้? ท่านที่ตอบถูกทั้ง3ข้อท่านแรก ตอบได้มีรางวัลครับ เป็นหนังสือกาลานุกรม ของท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) ที่พึ่งออกหมาดๆปีนี้ มีภาพสวยๆตลอดเล่ม ;)
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-30 20:19:45 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 12 (1944664)
รางวัลสำหรับท่านที่ตอบได้ท่านแรก หมดเขต 7มิถุนายน2552 ศกนี้ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-30 20:30:57 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 13 (1944687)
รู้แล้วจะได้อะไรขึ้นมา...ทายแม่นขึ้น? หรือจะขายปฏิทินโหรที่จะทำขึ้นมาใหม่หรือจะประกาศว่า  ตูข้าค้นพบวิธีการแบบสุริยยาตร์ใหม่ ( โดยเอามาประกาศในเวปโหราศาสตร์ฝรั่งแนวสากลและยูเรเนียน ซึ่งเขาใช้ปฏิทินโหรสากล geocentric กัน)  และแม้จะค้นพบจริงแล้ว  ใครเขาจะเชื่อ ถึงแม้จะมีเหตุมีผลและแต่สุดท้ายใครจะยอมใช้ตาม  แล้วถ้าเขาเอาปัญหาการคำนวณ ตำแหน่งดวงดาวจริงตามสูตร Swiss Ephemeris มาให้แก้บ้าง เช่น ที่มาของสูตรการแก้ดัชนีหักเหของแสงดาวมาถึงโลก  หรืออะไรประมาณนี้  มาถามบ้าง จะตอบได้รึเปล่า  เปรียบเหมือนเอาเซปักตะกร้อ มาเล่นใน สนามฟุตบอล แล้วอ้างว่า  ใช้เท้าเตะเหมือนกัน  เป็นกีฬา เหมือนกัน 
ผู้แสดงความคิดเห็น 2 เหลือง = 1 แดง วันที่ตอบ 2009-05-30 21:57:18 IP : 118.172.3.37


ความคิดเห็นที่ 14 (1944702)
อ่านดีๆครับ หลักการนับหักลบเลขระหว่างวันธรรมดา คนละเรื่องกับเลย รรมดาคน
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-30 22:53:22 IP : 74.86.222.73


ความคิดเห็นที่ 15 (1944715)
กระทู้นี้มีกรอบสนทนาอยู่ครับ อิ อิ ได้แจ้งแล้ว ก็เพื่อเป็นมารยาทขั้นพื้นฐานในการสนทนา จะได้ไม่หลุดไปหลายเรื่องด้วย ถ้าท่านใดไม่ได้สนใจในกระทู้ตามกรอบเนื้อหา ง่ายๆ ก็ขอให้มองข้ามๆไปเถิดครับ ถือเสียว่า ไม่ได้สนใจตามกรอบกระทู้ จะมีความเป็นแมนในเรื่องมารยาท และไม่ทำลายบรรยากาศการสนทนาที่ดีครับ ยกเว้น ผู้ที่จะพยายามสร้างบรรยากาศนอกเรื่อง อันนี้ขอพาสตลอดครับ อเสวนา จ พาลานัง เอตัม มังคลมุตตมัง ไม่สนทนากับพาลานัง นี้แหละ สุดยอดมงคล สาธุ สาธุ สาธุ (มีคนชี้ให้เห็น IP ด้วยนิ)
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-31 00:17:46 IP : 74.86.222.73


ความคิดเห็นที่ 16 (1944746)

เว็บบอร์ดนี้ ทาง webmaster ได้ระบุไว้ตั้งแต่เปิดเว็บว่า "เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่างๆระหว่างกัน อันจะทำให้เกิดองค์ความรู้เพิ่มพูนขึ้นในวงการโหราศาสตร์ยูเรเนียนเมืองไทย รวมไปถึงศาสตร์แห่งการพยากรณ์ทุกแขนงอีกด้วย"

การที่คุณภูริมาแสดงความรู้เกี่ยวกับสุริยยาตร์ก็สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และผมก็เห็นว่าสิ่งที่คุณโหรเก่าๆมาโพสต์ก็สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวเช่นกัน คนที่เข้ามาอ่านก็ได้ความรู้กันทั้งนั้น อย่าเพิ่งไปตีกรอบให้กันและกันเลยครับ ยิ่งมีความเห็นต่างในเรื่องความรู้ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล ก็จะเกิดประโยชน์อยู่แล้ว

ส่วนกติกาที่คุณภูริเสนอขึ้นมาก็เป็นความเห็นส่วนตัวของคุณภูริ ไม่ได้เป็นกติกาของเว็บบอร์ดแห่งนี้ ดังนั้น จะคาดหวังว่าคนที่เข้ามาในกระทู้ปฏิบัติตามก็คงจะยาก เพราะเป็นโลกไซเบอร์ ขนาดกติกาของเว็บบอร์ดที่ webmaster เป็นผู้ตั้งก็ยังมีผู้ละเมิดเป็นประจำ สิ่งที่ webmaster ยึดถือเป็นหลักก็คือ หากการโพสต์ความเห็นเริ่มเลยเถิดจนละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือเกิดความขัดแย้งมากกว่าจะได้ความรู้ เราก็จะลบกระทู้หรือความเห็นนั้นออกไป แต่นั่นก็จะเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย เพราะการทำอย่างนั้นจะทำให้เว็บบอร์ดขาดความหลากหลายของความเห็น ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของเรา

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas (pallas-at-horauranian-dot-com)วันที่ตอบ 2009-05-31 09:56:34 IP : 125.24.104.137


ความคิดเห็นที่ 17 (1944840)

จริงแล้วการค้นพบดัชนีตัวเลขของคุณภูรินั้น  เป็นงานที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่องเพราะยังไม่เคยมีใครตีแผ่วิชาสุริยยาตร์  ออกมาเป็นหลักฐานมากมายนัก  เท่าที่รู้ยุคนี้ก็มีท่านอาจารย์พลังวัชร์  ท่านอาจารย์อารี  สวัสดี กับท่านหนุ่มพยากรณ์ นี่แหล่ะนำมาเปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบ     รุ่นก่อนหน้าก็มี  ท่านอาจารย์มานิตย์  ธีรเวชชโรกุล  ท่านอาจารย์สิงห์โต  สุริยาอารักษ์   ท่านอาจารย์ พอ.พิเศษ เอื้อน  มณเฑียรทอง  ท่านอาจารย์ทองเจือ  อ่างแก้ว  ท่านอาจารย์จำรัส  สิริ  ท่านอาจารย์จรัล  พิกุล  ท่านอาจารย์ รอ.ทองคำ  ยิ้มกำภู  ท่านศาตราจารย์  ดร.ประเสริฐ  ณ  นคร หลวงวิศาลดรุณกร  พระเทวโลก หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต บางท่านก็เป็น บทความ  บางท่านก็เป็นตำรา  ของพวกนี้เป็นวิชาการชั้นสูง  ไม่ได้สตางค์หรือกำไรอะไรนักหนา  เป็นเรื่องของการฝากผลงานไว้ในแผ่นดิน  เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจเพราะคิดทำด้วยใจรัก  ผมยังทันเคยเห็นท่านอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้วไปคุยที่กุฏิพระอาจารย์มหาสุคนธ์  ที่วัดระฆัง  อยู่จนดึกจนดื่น  เรื่องตารางล๊อคสาเร็จ  ที่ท่านเพียรทำด้วยลูกคิด  เอามาฝากไว้ให้หอสมุดแห่งชาติ สมัยโน้น ซึ่งมี 2 ภาค  ปั้นต้นและบั้นปลาย แล้วไม่ทราบว่ามือดีที่ไหนไปฉกซะนี่  สมัยนั้นชุดละ 1400  บาท

 สมัยก่อนเขาเขียนอธิบายกันคลุมเคลือเพราะว่าตำรา  มีการงัดกันเอง ระหว่างเจ้าสำนัก อาจารย์ด้วยต้องมีอัจฉริยะที่มองทะลุเข้าใจได้เอง  เพราะต้องปราชญ์เปรื่องเรื่องตัวเลข และศัพท์คำนวณโบราณ เพราะรากฐานวิชาสุริยยาตร์มีมาก่อน  ตรีโกณมิติ  และเรขาคณิตวิเคราะห์ รวมไปถึงเลขคณิตเรื่องจุดทศนิยม   ผลงานล่าสุดที่ถือว่าสมบูรณ์นั้น  ท่านพลังวัชร์  ทำมาเป็นวิชาใหญ่  ชื่อหนังสือคู่มือโปรแกรมสุริยยาตร์ฉบับสมบูรณ์  และท่านยังสอนวิชานี้ที่ชมรมสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ ด้วยแต่ทั้งนี้ก็ต้องมีรากฐานมาจากการค้นคว้าขยายความของครูบาอาจารย์โหรรุ่นเก่าที่ท่านได้ทิ้งมรดกทางวิชาการไว้ให้

เจตนาเข้ามาอธิบายในเรื่องนี้ก็แค่ว่า  เล่าขยายเสริมถึงที่มาที่ไป เผื่อว่า ในเวปนี้มีคอโหรยูเรเนียนบางท่าน เพิ่งจะรู้จักสงสัยสุริยยาตร์ในเมืองไทยเขามีที่มาอย่างไรเพื่อให้กระทู้มีคนสนใจมากขึ้น   ก็กลับกลายเป็นว่า  โดนหาว่ามาแกล้งรวนซะนี่ 

ในความเป็นจริงคนที่เรียนสุริยยาตร์นั้น  ควรจะต้องเรียกว่า  ปัณฑิตา  นัญจะ  เสวนา  มากกว่านา

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ  การทำปฏิทินจันทรคติของสุริยาตร  กับ  ตำแหน่งจันทร์ในสุริยยาตร์  เกณฑ์เลขที่ไดไม่ตรงตามหลักดาราศาสตร์ปัจจุบัน  เขาถึงเอาวิธีการคำนวณของอาหรับกับเยอรมันมาใส่แทนในช่วงการหาสมผุสจันทร์   โดยข้ามประเด็น อธิกมาสและอธิการไป   ไม่มีการขยายความต่อให้เป็นมาตรฐานเข้าใจ  ปฎิทินหลวงที่จัดทำโดยแผนกพิธีโหร  สำนักพระราชวัง จะเพิ่มจะลดอย่างไร  ไม่มีเกณฑ์ที่มาตรฐาน  เรื่องนี้ต่อมาเป็นเรื่องของชาวบ้านราษฎร  ไปหากันเองโดยเฉพาะปัญหาการปาวารณาเข้าพรรษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย  ซึ่งปัจจุบันก็ไม่เคร่งกันเหมือนเก่า เพราะผู้รู้ท่านหมดไปแล้ว  กรมศาสนาว่าไงก็ว่าตามกัน  ไม่เหมือนรุ่นสมเด็จสังฆราชวัดสระเกศ และพระภัทรมุนี วัดทองนพคุณ องค์แรกท่านเป็นสดมภ์หลักของโหรฝ่ายสงฆ์มหานิกาย

พอท่านภูริ  มาต่อขยายความให้ ก็เหมือนกับทำให้งานของครูบาจารย์โหรรุ่นเก่าท่านสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ในประเด็นของหลักเกณฑ์แท้ๆในเรื่องอธิกมาสและอธิกวาร

สมัยนี้วิทยาการด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เขาก้าวหน้าไปเยอะ โดยเฉพาะ Excell งานที่ว่ายากก็สามารถทำให้ย่นเวลามาได้มากขึ้น ในหนังสือ คู่มือการใช้โปรแกรมสุริยาตร์  หน้า 364-365  ของท่านพลังวัชร์นั้น  ท่านทำ Chart ลำดับของคัมภีร์สุริยยาตร์ไว้น่าสนใจ  ทำให้ความเข้าใจของผู้ศึกษาได้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าสนใจศัพท์เกณฑ์  ลำดับขั้นในภาษาโบราณยิ่งน่าสนุก 

บังเอิญผมเข้ามาในวงการนี้ค่อนข้างจะนานพอควรเจอะเจอโหรเก่าๆมาหลายๆท่าน  สนใจเรื่องนี้มาบ้างแต่ก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรนัก แค่ทำโปรแกรมเล่นๆเพื่อเจตนาไปสร้างดวงพิชัยสงครามใช้เองซะนี่ และไปมัวแต่เน้นแนวพยากรณ์เสริมความแม่นยำ พอมีอะไรที่ก้าวหน้าทางด้านนี้ก็ตื่นเต้น อดแสดงความคิดเห็นไม่ได้  เพราะเป็นของชอบ

แต่อย่างว่าแหล่ะ  บางทีลีลาสำนวนออกจะยียวนไม่ถูกใจ  จขกท.บ้างก็ขออภัย

ผู้แสดงความคิดเห็น โหรเก่าๆ...ขอกันกินมากกว่านี่ วันที่ตอบ 2009-05-31 16:31:40 IP : 118.172.34.232


ความคิดเห็นที่ 18 (1944969)
ตอนจะโพสกระทู้ก็ยังเกรงใจเจ้าบ้าน ว่าเป็นเรื่องสุริยยาตรดูอาจจะออกไปนอกบอร์ดนี้หรือเปล่า? พิจารณาดูอีกที บทความข้างต้นเป็นไปในเรื่องเกี่ยวข้องกับ หลักการนับวันซึ่งเป็นหลักพื้นฐานธรรมดา ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันเวลาทุกแขนงอยู่แล้ว. และด้วยความตั้งใจว่าจะไม่พาเลยออกนอกเรื่อง ไปสู่การคำนวณที่ลึกซึ้งขึ้นๆไป เช่นในเรื่องมุมเรื่ององศาเรื่องราศีซึ่งตรงนั้นจะไปจรดในภาคพยากรณ์ อันเป็นส่วนที่แตกต่างแตกแขนงแยกย่อยไปกันคนละเรื่อง ออกนอกบอร์ดไปแน่ๆ. จึงได้เลือกที่ launch บทความนี้ไว้สำหรับผู้ที่มีความสนใจ จะสามารถเข้าถึงจุดเชื่อมต่อเกี่ยวกับการนับวันเวลาระหว่างศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไปไม่มากไม่น้อยครับ. พอคุณ Pallas ก็เจ้าบ้านได้ออกมายืนยันในความเห็นข้างบน. ว่าไม่ได้ผิดระเบียบอย่างสุภาพบุรุษเชื้อเชิญแขกผู้มาเยือน ก็ขอรับทราบถึงน้ำใจไมตรีอันงามของเจ้าบ้าน ด้วย.
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-31 23:12:06 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 19 (1944970)
ประวัติของการสนทนาและความเป็นมาในอดีตนั้น เป็น case study ในตัวอยู่แล้ว. ในด้านที่สนทนาแล้วเกิดต่อยอดศาสตร์หนึ่งๆ โดยไม่ได้เป็นการทำลายของเดิม และเป็นไปในเชิงบวกก็มีอยู่มาก. ส่วนด้านที่พลิกกลายเป็น เรื่องบาดหมางเกิดเป็นอกุศลก็มีไม่น้อย. การสนทนาจะพลิกไปทางไหนอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่อยู่ที่เรื่อง. การรู้จักเลือกสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา และการมีขอบเขตสนทนาในประเด็นหลักหนึ่งๆ เห็นว่าจะนำมาสู่ความรู้ความแตกฉานในเรื่องนั้นๆไม่มากไม่น้อยครับ. ซึ่งจะมีส่วนช่วยหลีกเลี่ยงไม่เป็นไปอย่าง case study เหตุการณ์เชิงลบ อันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงบวก นอกจากกลายเป็นไปเพื่อสนองความอยากเอาชนะ. ก็ยินดีด้วย ที่ผู้เข้ามาสนทนาที่นี่ จะมีความเป็นสุภาพบุรุษเป็นบัณฑิต. มีการสร้างสรรค์บรรยากาศเชิงบวกของการสนทนาเป็นพื้นฐานที่ดีไว้เบื้องต้น เชื่อได้เลยว่า ศาสตร์หนึ่งๆไม่เพียงแต่สุริยยาตร เกิดความแตกฉานยิ่งๆขึ้นไปแน่นอนครับ. อนุโมทนาด้วยครับ ไม่มีอะไรที่ต้องค้างในใจเลย เล่าประวัติพื้นฐานของผมแทรกไว้เล็กน้อย เพื่อจะไม่ได้ไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัยในเจตนา อ่านไปก็อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นการอวดอ้างนะครับ ก็ขออภัยกันไว้เสียก่อนแต่เนิ่นๆ ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบัน ก็พอมีพอกินพอใช้พอเพียงหลับสบายดีครับ แม้เศรษฐกิจที่เหวี่ยงอย่างในช่วงนี้อย่างไรก็พอมีพอกิน . และที่พอเหลือใช้ ก็ทำบุญไปตามโอกาส อย่างปลายเดือนที่ผ่านมาพอมีเหลือบ้าง ก็ได้ทำบุญเปลี่ยนเป็นทองเติมเข้าสู่คลังของประเทศ ช่วยภาครวมของประเทศแม้จะดูเล็กๆน้อยๆ ก็เท่าที่จะพอช่วยได้ก็ช่วยไป โดยที่สำคัญก็ไม่ได้เป็นการเบียดเบียดตัวเองด้วย ด้วยชีวิตเป็นอยู่สุขสบายอยู่แล้ว ตอบคำถามไปในตัว ในเรื่องที่จะให้มาทำอาชีพเลี้ยงปากท้อง โดยหวังสร้างชื่อเพื่อมาทำปฏิทินโหรขายแข่ง หรือด้วยการออกโปรแกรมสุริยยาตรขายแข่ง จึงไม่มีอยู่ในความคิดหรือความสนใจเลยแม้แต่น้อยครับ. ความสนใจในศาสตร์แห่งวันเวลาเป็นหนึ่งในงานอดิเรกต่างๆเท่านั้นครับ วันไหนมีโอกาสก็หยิบมาพลิกๆเล่น หลายๆครั้งเจอความรู้แปลกๆดี อันไหนพอสื่อสารเปิดรับได้ก็หยิบมาสื่อทิ้งให้ไว้โดยที่ก็ไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ เป็นบุญเล็กๆบ่อยๆอีกด้านหนึ่งที่ทำไว้ และก็มีบางครั้งเหมือนกันจึงได้รับเกียรติ เชิญไปตามที่ต่างๆเป็นกรณีพิเศษอยู่บ้าง เช่น จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเชิญให้ไปร่วมตรวจสอบวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ในเรื่องสุริยยาตรฉบับต่างๆ เช่นภาคกลาง ล้านนา ไทลื้อ ลาลูแบร์ เป็นต้น โดยทราบมาว่าได้มีการดำเนินขั้นตอนเป็นกรณีพิเศษ เพราะปกติไม่มีการให้บุคคลภายนอกยิ่งไม่ใช่อาจารย์มาร่วม ในวงที่ร่วมก็มีราชบัณฑิตอีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ปูชนียบุคคล ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์นักคำนวณวันเวลาตามประวัติศาสตร์ นักอ่านจารึกมืออันดับหนึ่ง และยังเป็นประธานชำระประวัติศาสตร์ของไทยให้ถูกต้อง. หรือ อีกท่านคือ ศาสตราจารย์วิสุทธ์ บุษยกุล ปูชนียบุคคล ที่มีความสามารถอย่างกับพจนานุกรมบาลีสันสกฤตเคลื่อนที่ ที่เหลือไม่มากแล้วในยุคสมัยนี้ฯลฯ ท่านทั้งหลายเหล่านี้เป็นบัณฑิตสมชื่อครับ ในวงนักสุริยยาตรที่ได้ประสพมา ใครที่แตกฉานสุริยยาตรโดยแก่นแท้จริง ไม่มีเลยครับที่จะปฏิเสธของเก่า และก็ไม่มีที่จะยึดถือว่าต้องอย่างนี้ๆเท่านั้นด้วย หรือเพื่อเอาไว้สำหรับขึ้นต้นมาก็เป็นเรื่องถกทะเลาะ มีแต่จะสืบรักษาตำราที่เป็นมา และสรรสร้างให้สุริยยาตรมีชีวิตชีวาเป็นทั้งนั้น ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-05-31 23:13:33 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 20 (1944971)
ผมเป็นคนพิมพ์ช้าไม่ค่อยสะดวกพิมพ์นัก มีสิ่งใดผิดพลาดก็ขออภัยเช่นกัน ที่เหลือนี้อาจไม่ได้เข้ามาได้บ่อยๆ ใครชอบใจหนังสือกาลานุกรม เป็นภาพสวยสีตลอดเล่ม พบคำตอบก็ส่งมาเป็นอีเมลล์แทนแล้วกันครับ ต่อไปนานๆอาจจะเข้ามาได้ที ด้วยกิจธุระที่เข้ามา
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ (poohri1234-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-05-31 23:24:23 IP : 67.228.166.104


ความคิดเห็นที่ 21 (1944988)
พระเจ้าแฮคเกอร์ช่วย กล้วยทอด!?! ฝากท่านพลังวัชร์ นำค่าอัตราปีจันทรคติในสุริยยาตร ไปถึงท่านอาจารย์อารีย์ สวัสดีด้วยครับ และขอขอบคุณ พระเจ้าแฮคเกอร์ช่วย กล้วยทอด!?! มา ณ ที่นี้ด้วย O_o ชะแวบ ไปหล่ะ อิ อิ
ผู้แสดงความคิดเห็น ภูริ วันที่ตอบ 2009-06-01 00:50:46 IP : 67.228.166.104



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.