ReadyPlanet.com
dot


จุดครีษมายัน เปลี่ยนแปลงหรือไม่?


นับตั้งแต่ 11 มี.ค.54 วันที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดภัยสึนามิ เพราะแผ่นดินไหวมากกว่า 9 ริกเตอร์ ทำให้ประเทศรอบๆ ญี่ปุ่น มีอากาศแปรปรวน รวมทั้งประเทศไทยก็ฝนตกและหนาวขึ้นฉับพลันถึง ๒ สัปดาห์ติดต่อกัน ผมสังเกตว่า วันที่ 21 มี.ค.54 วันวสันตวิษุวัต แสงแดดที่สาดส่องหน้าบ้านก็ยังทอดไปทางทิศใต้ (ตะวันอ้อมใต้) จนกระทั่ง 13-14 เม.ย.54 จึงเห็นแสงแดดอยู่ในแนวตั้งฉาก (declination = 0) ตะวันไม่อ้อมเหนือ หรือ อ้อมใต้ นับตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.54 แสงแดดก็สาดส่องเข้าสู่ทิศเหนือ (ตะวันอ้อมเหนือ) ทำให้ผมเข้าใจว่า จุดวสันตวิษุวัต เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าวันวสันตวิษุวัตเปลี่ยนไป จุดครีษมายันในโหราศาสตร์สากลจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร?


ผู้ตั้งกระทู้ หม้อยาไทย :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-02 09:47:15 IP : 58.8.15.17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2173940)

ไม่ได้มีผลอะไรเลย เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวแค่ไม่กี่เมตร ซึ่งที่จริงเปลือกโลกก็มีการเคลื่อนตัวอยู่บ่อยๆ ในระดับนี้ไม่ได้มีผลกับแกนโลกแต่อย่างใด อัตราการเปลี่ยนแปลงการเอียงของแกนโลกยังเป็นไปในอัตราปกติ ซึ่งน้อยมากๆๆๆ มีผลทำให้เปลี่ยนจากเดิมน้อยมากๆๆๆๆๆๆ เช่นกัน(จำไม่ได้ว่าเท่าไร น้อยมากๆๆจน ยังไม่มีนัยยะสำคัญ)

น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะถ้าจะสังเกตุวันวสันตวิษุวัตแบบนั้น ต้องไปสังเกตุการณ์ที่ละติจูด 0 องศา แต่กรุงเทพอยู่ละติจูด 13:45 ตะวันจะตรงศรีษะวันที่ 22-24 เม.ย.โดยประมาณในทุกๆปี ซึ่งก็คือวันที่เค้าจะประกาศว่าน่าจะเป็นวันที่ร้อนที่สุดนั่นแหละ ปีนี้เข้าใจว่าจะตรงกับวันที่ 23 เม.ย. เป็นวันที่ตะวันตรงหัวที่สุด

สรุปคือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ผู้แสดงความคิดเห็น NooM...ผ่านมาพอดี วันที่ตอบ 2011-05-02 14:15:00 IP : 223.204.120.4


ความคิดเห็นที่ 2 (2173949)
วันที่บอกว่าร้อนที่สุดนั้น ประเทศแนวเส้นศูนย์สูตรจะฝนตก เพราะอาทิตย์มาส่องน้ำทะเลให้ร้อนจัดทำให้น้ำทะเลระเหย กลายเป็นเมฆฝน อาทิตย์นั้นธาตุไฟ แต่เวลาพยากรณ์ดันมากลายเป็นฝน ฉะนี้แล
ผู้แสดงความคิดเห็น ขำ ประจา วันที่ตอบ 2011-05-02 14:38:41 IP : 118.172.86.49


ความคิดเห็นที่ 3 (2174107)

เพิ่งได้เข้าเว็บหลังหยุดไปหลายวัน เลยทำให้ไม่ต้องตอบคำถามนี้ เพราะมีผู้ตอบชัดเจนแล้ว ขอบคุณพี่ NooM และคุณขาประจำครับ

แต่ขอแถมนิดนึงว่า พอดาวมฤตยูยกเข้าราศีเมษ สภาวะอากาศโลกก็แปรปรวนไปตามอิทธิพลของดาวครับ นี่ยังไม่นับรวมโครงสร้างอื่นที่ส่งอิทธิพลร่วมกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas (pallas-at-horauranian-dot-com)วันที่ตอบ 2011-05-03 08:55:56 IP : 182.52.98.111


ความคิดเห็นที่ 4 (2175546)
ขอบคุณสำหรับคำตอบทุกอัน แต่มีคำถามอีกข้อที่ไม่เข้าใจ คือ แสงแดดเวลาเช้า 7.16 น. 9 พ.ค.54 ส่องเข้าชายคาด้านทิศเหนือ ทำให้เงาแดดทอดไปทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ 30 องศา (นับจากทิศตะวันตกของเข็มทิศ) ตะวันอ้้อมเหนือเกินกว่า 23 องศา 27 ลิปดา ได้หรือเปล่าครับ? มีผู้รู้บอกว่าประเทศไทยทิศเหนือสนามแม่เหล็ก และภูมิศาสตร์ไม่แตกต่างกันเหมือนโซนอื่นๆ ของโลกซึ่งอาจจะแตกต่างกันได้ถึง 12 องศา ข้อเท็จจริังเป็นอย่างไร? ช่วยบอกที ขอบคุณ
ผู้แสดงความคิดเห็น หม้อยาไทย วันที่ตอบ 2011-05-09 09:47:08 IP : 58.11.86.118


ความคิดเห็นที่ 5 (2175722)

อืม นับถือในการขยันเฝ้าติดตามสังเกตุเรื่องของเงาแดดนะครับ แต่ก็งงว่าจะใช้วัดได้ยังไง อีกทั้งระยะนี้ก็ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ตะวันอ้อมข้าวสูงสุด และหากจะพิจารณาเรื่องนี้ควรพิจารณาตอนอาทิตย์ตั้งฉากกับสถานที่นั้น(เวลาเที่ยงแท้ เมอริเดียนกุมอาทิตย์ เพื่อวัดเงาแดดว่ายาวเท่าไร แตกต่างจากเดิมอย่างไร) ซึ่งคำตอบยังเป็นไปตามเดิมคือ คุณคงต้องไปวัดเอาที่ละติจูด 0 องศา(เส้นศูนย์สูตร) จึงจะสามารถนำผลลัพธ์มาพิจารณาข้อมูลได้ง่าย ไม่งั้นคงต้องมีการคำนวณกันพอสมควรเนืองจากกรุงเทพอยู่ Lat 13:45 สังเกตุง่ายๆคือเราจะพบเห็นดาวเหนือ(Polaris) อยู่สูงจากขอบฟ้าขึ้นมา ไม่เหมือนกันกับที่เส้นศูนย์สูตรที่ดาวเหนือจะอยู่ตรงเส้นขอบฟ้าพอดี(มองไม่เห็น) ดังนั้นในสองสถานที่ เราจะเห็นอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เท่ากัน เงาแดดก็จะไม่เท่ากัน ณ เวลาเดียวกัน

ส่วนคำถามส่วนหลังเรื่องสนามแม่เหล็กผมไม่เข้าใจประเด็นนะ ขอผ่านไม่แสดงความเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น NooM วันที่ตอบ 2011-05-09 20:06:47 IP : 124.122.67.95


ความคิดเห็นที่ 6 (2175842)
ขอบคุณ คุณNooM ที่ให้ความเห็น ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่เคยเรียนโหราศาสตร์ยูเรเนียน เครื่องมือของชาวบ้านก็มีแต่แสงแดดกับจานวงกลมยูเรเนียน กับไม้เสียบลูกชิ้นปิ้ง ที่ใช้วัดความเอียงของแสงแดดในแต่ละช่วงเวลาของวัน ผู้รู้ในเว็บสมาคมดาราศาสตร์ ให้ความเห็นว่า มุมเอียง (declination) ของดวงอาทิตย์ ในแต่ละวันควรจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มุมเอียงที่ผมวัดได้มันแตกต่างกันมากในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งผมก็พยายามหาคำตอบว่า มันเกิดจากเข็มทิศ หรือ สนามแม่เหล็กโลกที่กระทำต่อกทม. เพราะเหตุที่มุมเอียงผิดปกติ จึงทำให้ผมสันนิษฐานว่าแกนโลกเอียงผิดไปจากเดิมหรือไม่? เมื่อเช้านี้เพิ่งได้ทราบข่าวจากคนไทยในสหรัฐฯ ว่าวันที่ 11 มี.ค.54 วันที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ องค์การนาซาได้เตือนประชาชนถึงภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ให้เตรียมเครื่องมือยังชีพ 7 วันติดตัว เหตุผลที่องค์การนาซาให้คือ แกนโลกได้เอียงน้อยลง 3 องศาเพราะแผ่นดินไหวครั้งนั้น
ผู้แสดงความคิดเห็น หม้อยาไทย วันที่ตอบ 2011-05-10 11:23:53 IP : 58.11.86.197


ความคิดเห็นที่ 7 (2175861)

ตามที่ค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ของ นาซา (NASA) ผมยังไม่เห็นว่ามีตรงไหนบอกว่า แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่อ 11/3/11 ทำให้แกนโลกอีกน้อยลง 3 องศาเลยครับ เท่าที่ค้นเจอ ทางนาซาบอกว่า แผ่นดินไหวดังกล่าวอาจทำให้เวลาในแต่ละวันบนโลกสั้นลงและแกนโลกเคลื่อนที่ แต่เล็กน้อยมากจนเราไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง คำว่าเล็กน้อยมากก็คือ ทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นซึ่งส่งผลให้เวลาในแต่ละวันสั้นลงประมาณ 1.8 ไมโครวินาที หรือ 0.0000018 วินาที และน่าจะทำให้แกนโลกเคลื่อนไป 17 เซนติเมตร (คำว่าแกนโลกนี้ก็ไม่ใช่แกนเหนือ-ใต้ของโลก อีกด้วย) รวมถึงยังอธิบายต่อไปว่า การเคลื่อนของแกนโลกนั้นเกิดขึ้นทุกปี เฉลี่ยประมาณ 1 เมตรต่อปี หรือ 6 เท่าของผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นดังกล่าว (หมายความว่าการเคลื่อนของแกนโลกจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นครั้งนี้ ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติต่างจากปีอื่นๆแต่ประการใดเลย)

จากข้อมูลดังกล่าว แล้วเรามาพิจารณาว่า รัศมีของโลกเฉลี่ยราวๆ 6,371 กิโลเมตร ก็จะพบว่า การเคลื่อนของแกนโลก 0.00017 กิโลเมตร แทบจะไม่ส่งผลอะไรกับมุมเอียงของโลกเลย (คิดคร่าวๆ = 0.00017/6371 = 0.00000002668 องศา) ดังนั้น ข้อมูลที่คุณหม้อยาไทยได้จากคนไทยในสหรัฐฯนั้นผิดพลาดไปมากครับ

สนใจข่าวดังกล่าว อ่านได้จากจาก link นี้ครับ http://www.nasa.gov/topics/earth/features/japanquake/earth20110314.html

ส่วนเรื่องมุมเอียงแสงแดดนั้น ผมยังไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไรดีผ่านทางเว็บบอร์ด เพราะเรื่องอย่างนี้มันต้องอธิบายแบบ 3 มิติ เอาเป็นว่า อยากให้คุณหม้อยาไทยไปศึกษาเรื่อง การทำนาฬิกาแดด น่าจะช่วยให้เข้าใจกลไกของฟ้ามากขึ้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas (pallas-at-horauranian-dot-com)วันที่ตอบ 2011-05-10 12:25:39 IP : 61.90.143.87


ความคิดเห็นที่ 8 (2176050)
ประเด็นมาจากข้อมูลที่ได้รับหรือฟังมาไม่ถูกต้อง_แล้วจึงพยายามหาเหตุจากเรื่องมาเข้ากับความเชื่อหรือปล่าวครับ เพราะอาจพูดได้ว่านับเป็นร้อยๆปีที่มีแผ่นดินไหวมา..ไม่ได้มีผลกระทบกับการเอียงของแกนโลกไปจากธรรมชาติที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด การเอียงยังเป็นไปตามปกติตามที่คุณ..pallas..ว่าไว้นั่นแหละ..คือมันมีผลน้อยมากกกกกกกๆๆๆๆ..จนยังไม่มีนัยยะสำคัญ คอนเซ็ปต์การสัดมุมมันไม่ถูกต้องน่ะครับ..เพราะถ้าจะวัดแบบนั้น..ต้องวัดในเวลาเดียวกันในรอบของแต่ละปี..แล้วดูค่าความแตกต่างกัน..ซึ่งจะพบว่ามันน้อยจนไม้บรรทัดวัดไม่ได้นั่นแหละ ไม่ใช่วัดแต่ละเวลาของวันนั้นแล้วมาเทียบกัน..ถ้าวัดในเวลาของวันทั้งวันจะพบว่าการเอียงจะมากน้อยไม่เท่ากัน..ซึ่งก็เหมือนอัตตราการโคจรของลัคนาในแต่ละวันไม่เท่ากันนั่นแหละ..เป็นหลักการของโหรไทยในการหาค่าอันโตนาทีในแต่ละราศีนั่นเอง บางทีรับฟังผู้รู้ทางดาราศาสตร์..คงต้องทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงตามไปด้วย..และพวกที่ชอบอ้างว่าจาก..NASA..นี่ส่วนใหญ่จะไม่จริงนะครับ..ยกตัวอย่างกรณี..2012..น่ะแหละ ปล.ใช้ไอแพดโพสต์..ข้อความ..มันเว้นวรรคไม่ได้แฮะ
ผู้แสดงความคิดเห็น NooM วันที่ตอบ 2011-05-10 23:08:28 IP : 115.87.85.150


ความคิดเห็นที่ 9 (2176164)
ขอบคุณทั้ง ๒ ท่านที่ให้ความกระจ่าง ข้อสงสัยที่ถามเหมือน "วกไปเวียนมา" ก็เพราะข้อมูลที่ได้จากที่ต่างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงกับกรณีของประเทศไทย จึงต้องสอบถามผู้รู้หลายๆ คน เพื่อหาข้อสรุป
ผู้แสดงความคิดเห็น หม้อยาไทย วันที่ตอบ 2011-05-11 11:55:36 IP : 58.11.71.16



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.