ReadyPlanet.com
dot


ผลเสี่ยงทายพระยาแรกนาและพระโคปีนี้ ออกมาดูดี


พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญปีนี้ พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายได้ผ้าสำหรับนุ่งไปประกอบพิธียาว 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
สำหรับการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค ปีนี้พระโคกินข้าว ข้าวโพด พยากรณ์ว่าธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่าน้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร พร้อมด้วยธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะสมบูรณ์ดี

จริงๆแล้ว พระราชพิธีนี้มีปรัชญาโหราศาสตร์แฝงอยู่ด้วยนะครับ ผู้รู้และผู้สนใจช่วยกันแลกเปลี่ยนความเห็นกันหน่อยมั้ยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Pallas :: วันที่ลงประกาศ 2007-05-10 14:15:16 IP : 61.90.143.87


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (605498)

ผมได้ไป post ถามอ.วรกุล ในเว็บ Horathai เกี่ยวกับเรื่องฤกษ์พระราชพิธีนี้ และได้รับคำตอบที่ชัดเจนและให้ความรู้มากกว่าที่ผมคาดไว้ จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย ท่านใดสนใจ ลอง click ไปที่ http://www.horathai.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=horathaicom&thispage=1&No=342131

"ตอบคุณ Pallas (ความเห็นที่ 12) ............บังเอิญหนังสือที่เคยเห็นนั้นอยู่ไกลมือ  เข้าใจว่าหนังสือ “พระราชพิธี 12 เดือน”  จะมีเล่าเอาไว้  อีกอย่างผมไม่ได้ทราบเรื่องจริงๆที่ทางพระราชสำนักมอบหมายให้ผู้ใดรับผิดชอบ  ดังนั้นจะตอบตามความเห็นที่คิดไว้ก็แล้วกันครับ  ผิดถูกประการใดขออภัยด้วย  หากลอง search ดูใน google น่าจะมีบ้างครับ

      เท่าที่เราเห็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้กำหนดตามปฏิทินเป็นวันที่ 10 พฤษภาคมทุกปี  เพื่อความสะดวกในการกำหนดวันหยุด  ประมาณช่วงนี้ เป็นวันเริ่มต้นฤดูฝน ครับ  เราจะไปกำหนดจันทรคติหรือสุริยคติก็ได้เพียงคร่าวๆเท่านั้น  เนื่องจากประเพณีนิยมการทำนาในประเทศแถบนี้จะถือเอาฤดูฝนที่จะไถพื้นดินเพื่อเตรียมปลูกข้าว  หว่านไถ เพื่อให้พื้นดินพลิกกลับขึ้นมา  ทางโหราศาสตร์ถือเอาการทำพิธี “แรกเริ่ม” นั้นเป็น “การเกิด” ชนิดหนึ่งที่มีผลมาก  เพราะวงรอบธรรมชาติที่เกิดขึ้นแล้วจะมีผลอยู่นานระยะหนึ่ง  ดังนั้น หากการเกิดนั้นเป็นการเกิดที่ดี  เหตุการณ์ในวันเกิดเป็นเหตุการณ์ที่ดี  ธรรมชาติที่ขยายออกไปเหมือนเสียงที่ก้องซ้ำทุกวงรอบจะอำนวยสิ่งที่ดีด้วย   นี่คือส่วนสำคัญของการกำหนด “ฤกษ์” ทุกชนิด   นี่แหละครับ “ฤกษ์” ที่ถูกต้องตามโหราศาสตร์ทุกระบบเลยครับ

    “การเกิด” นั้นเหมือนกับเราโยนก้อนหินลงน้ำ คลื่นที่เกิดขึ้นเป็นวงกลม จะเกิดไล่กันเป็นวงกลมกว้างขึ้นจนจางหายไป  สมมุติเราเขียนวงกลมวงหนึ่งเล็กๆเป็นวงแรกผ่านจุด A  ป็นจุดเริ่มต้น แทน “การเกิด”   ผลจาก “การเกิด” นี้จะเป็นวงกลมที่มีรัศมีขยายใหญ่ขึ้น แต่ยังเริ่มต้นจากจุด A  เสมอ ไม่ว่าจะมีกี่วงก็ตาม  หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า  ทุกวงกลมที่เกิดขึ้นจะมีเส้นรอบวงจุดหนึ่งซ้อนทับอยู่ที่จุด A  ซึ่งเป็นจุดกำเนิด(และจุดบรรจบ)การเขียนวงกลมทุกวงด้วย  วงกลมเหล่านี้ที่เกิดต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นจนจางไปตลอดอายุของฤกษ์ “การเกิด”นั้น

    คนส่วนมากเข้าใจว่า “ฤกษ์” ก็คือ เวลาวันเดือนปี  นั่นเป็นเพราะคนโบราณกำหนดฤกษ์จากการดูเวลาบนท้องฟ้า เพื่อที่จะ “กระทำการ” ครับ  ตัวการกระทำการนั่นแหละเป็นฤกษ์  ไม่ใช่วันเดือนปี ที่เป็นสัญญาณบอกเวลากระทำการ   เหมือนกับธงที่โบกให้รถไฟเข้าออก  เราให้ความสำคัญที่รถไฟครับ  ไม่ใช่ธง   เพียงแต่วันเดือนปีนั้นจะเหมาะหรือไม่เหมาะนั้น อยู่ที่ว่าตรงกับช่วงเวลาที่เราต้องการหรือไม่   เช่น หากเราไปทำพิธีแรกนาขวัญในเดือน 12  ปลายฤดูทำนาแล้ว  ผลที่ต้องการให้ธรรมชาติของฤกษ์มีผลต่อการทำนาในบ้านเมืองก็คงจะไม่ได้อะไร

     เราจะเห็นว่าตลอดพิธี มีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ และมีพิธีไสยศาสตร์ จรดพระนังคัล + แรกนาขวัญ ด้วยรวมกัน เพื่อให้พิธีนี้เป็นนิมิตฤกษ์  เป็นอันครบวิธีสร้างฤกษ์แล้วครับ  คือ มี 1 / นิมิตฤกษ์ที่สร้างขึ้น หรือ ลางฤกษ์ที่เกิดเอง    2 /  ได้เวลามงคลต้นฤดูฝนที่ต้องการเริ่มวงรอบธรรมชาติของฤกษ์  3 /  การสร้างเหตุการณ์กำเนิด เพื่อเป็นดวงฤกษ์ของเหตุการณ์  มีการหว่าน ไถ เพื่อให้เป็น “ต้นเหตุการณ์” จรดคันไถ และ แรกทำ “นาขวัญ”

     ฤกษ์เช่นนี้  หากวางฤกษ์ก็นับเอาเพียงเวลาที่เป็น 1 3 5 7 9 11 แก่อาทิตย์จร ก็พอแล้ว  เพื่อให้ลัคนาฤกษ์รับพลังงานธาตุทางตรงจากอาทิตย์ที่เป็นประธานสำคัญเท่านั้น   ดาวอื่นๆไม่ได้ห่วงใยว่ามีผลทำงานอะไรมากนัก (ทำให้มีอุบัติเหตุบ้างเป็นบางปี)  เกิดจากการทำพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ได้อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปัดเป่าเภทภัยให้อยู่แล้ว   ปกติมักจะทำเวลาเช้าอาทิตย์ขึ้น   แต่นี่กำหนดเวลาเช้าตรู่จะไม่สะดวกก็จึงเลือกเวลาถัดมาเท่านั้นเอง  แต่ก็เหมาะกับเกษตรเพราะอาทิตย์โยคหลังลัคนาอยู่   เรื่องการกำหนดเวลาฤกษ์ละเอียดทางโหราศาสตร์ไม่ได้เคร่งครัดอะไร  เพราะเป็นเพียงการรักษาขั้นตอนประเพณีโบราณเอาไว้แสดงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมมานานเท่านั้นเอง  เหมือนกับการเห่เรือพระราชพิธีซึ่งปัจจุบันก็ไม่ได้ใช้แล้ว  เพราะการทำพิธีที่ท้องสนามหลวงซึ่งไม่ได้ใช้ทำนาจริงในปัจจุบันก็จะเกิดเป็นผลตามวัตถุประสงค์เดิมที่ทำพิธีสร้างฤกษ์กันมาน้อยมาก   เวลานาฬิกากำหนดเลข 9 บ้างเพื่อเป็นเคล็ดออกเสียงทางไสยศาสตร์  เพราะอ่านว่า “ก้าว” เป็นเครื่องเสริมนิมิตฤกษ์  ปกติโหรหลวงก็เป็นผู้กำหนดฤกษ์   ปกติฤกษ์นี้จะมีกำลังอายุฤกษ์อยู่ราว  6 เดือนถึง 1 ปีเศษ  ปีหน้าก็สร้างใหม่  ก็มีนัยเพียงเท่านี้ครับ"

ขอขอบพระคุณอาจารย์วรกุลไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2007-05-11 14:16:03 IP : 61.90.143.87


ความคิดเห็นที่ 2 (2065398)
รนรนรรำรไพรนไ หคำๆไพรนำฟ่ดรแนไนไหดะพรำพ
ผู้แสดงความคิดเห็น หกเเ วันที่ตอบ 2010-05-17 19:38:10 IP : 114.128.74.112



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.