ReadyPlanet.com
dot


แนะนำตำราเล่มใหม่ Dial Detective


ขอนำเสนอบทความใหม่ แนะนำตำรา Dial Detective แต่งโดย Maria Kay Simms ครับ

เชิญ click ตาม link นี้ครับ http://www.horauranian.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=390155&Ntype=4



ผู้ตั้งกระทู้ Pallas :: วันที่ลงประกาศ 2006-12-02 10:48:08 IP : 221.128.98.139


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (459096)

เก่าเก๋ากึ๊ก..เกิน20ปี.แล้วนะป๋า เล่มเนี๊ยะ อาจารย์ปิลไล เอามาแปลนมนานกาเลแล้ว บทแรกก็มั่วๆยังไงม่ายรู้ แกะลากเข้าความหน้าตาเฉย มีอย่างที่ไหนผู้เขียนเอา เซอร์อาเธอร์  โคแนนดอย มายำเละ กะเชอร์ล็อค  โฮม  จริงอยู่ท่านเป็นผู้แต่ง แต่ คนที่เขาเป็นแฟนนักสืบโฮม กะหมอวัตสันหน่ะ  .. อ่านปุ๊บรู้ปั๊บเลยว่า มั่ว ชัดๆ  ถ้าจะวิจารณ์ต้องบอกว่า ศึกษาได้ว่าฝรั่งเขาทายกันอย่างไร  โดยเฉพาะหวยออกแล้วอ๋อ  ลากเหตุการณ์มาหาดวง..อ่านแล้วจะทึ่งแต่ถ้าใช้ทำนายล่วงหน้าจะมีปัญหาแน่ ในการใช้งานจริง...ณ  พศ.ปัจจุบัน มีวิวัฒนาการไปไกลกว่านี้มากแล้ว  บทสรุปเจ้าของตำรายังมีปัญหาเรื่องการเลือกคู่ครองของตนเองเลย ทำไมไม่รู้และแก้ไขก่อน จากดวงของตนแต่ถึงกระนั้น เล่มนี้ก็เป็นเล่มนึงที่น่าอ่านสำหรับแฟนยูเรเนียน แต่ต้องควรอ่านบทวิจารณ์ก่อนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่พะโล้ วันที่ตอบ 2006-12-02 22:25:13 IP : 203.150.103.157


ความคิดเห็นที่ 2 (459133)

จริงๆ ผมชอบหนังสือเล่มนี้มาก แต่เมื่ออ่านความคิดเห็นที่คุณไข่พะโล้วิจารณ์ แล้วผมอดรู้สึกแปลกใจไม่ได้

เท่าที่ค้นมา Dial Detective ฉบับที่คุณ Pallas แนะนำเป็นฉบับที่ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2001 ส่วนฉบับแรกพิมพ์เมื่อปี 1989

ไม่ทราบว่าคุณไข่พะโล้ อ่านตัวต้นฉบับเลย หรือว่าอ่านฉบับที่แปลแล้วครับ เพราะผมลองอ่านตัวที่เป็นภาษาอังกฤษดู ก็ไม่มีส่วนใหญ่ที่ไปยำรวมกับเชอร์ล็อค โฮม แค่ใช้เป็นประเด็นเกริ่นเท่านั้น ส่วนอื่นเป็นเรื่องของเซอร์อาเทอร์ กับการประสบความสำเร็จ และการทำนายโดยใช้โค้งสุริยยาตร์

เรื่องการอ่านดวงชะตาเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ใช้ในการเรียนการสอน มันเป็นสิ่งที่ย้ำว่าโหราศาสตร์สามารถบอกเรื่องราวได้ทุกเรื่อง ขึ้นอยู่กับนักพยากรณ์ หรือโหร เองต่างหากที่จะสามารถใช้หลักการนั้นมาพยากรณ์ได้หรือไม่ Simms เองก็กล่าวเรื่องนี้เหมือนกัน

หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าติดท๊อปฮิต หนังสือแนะนำ ที่เกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์สายยูเรเนียน และ Cosmobiology ผมเคยเห็นตำราการเรียนการสอนของอาจาร์ยจรัญ พิกุล ท่านเคยนำบางส่วนบางตอนของหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนของท่านเหมือนกัน คงน่าจะพอรับประกันได้ถึงคุณภาพ

เรื่องส่วนตัวของผู้เขียน ผมคงไม่กล่าวถึงเพราะประเด็นหลักอยู่ที่องค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้

ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้คุณไข่พะโล้ แนะนำหนังสือที่น่าสนใจกว่านี้ให้ เพื่อนๆ ผู้ศึกษาโหราศาสตร์ได้ทราบบ้างก็ดีนะครับ ว่า ปัจจุบัน วิวัฒนาการไปถึงไหนแล้ว เพราะปัจจุบันผมยังนั่งตามอ่านตำราโหราศาสตร์ของอาจาร์ยประยูร กับอาจาร์ยจรัญ อยู่เลย

ผู้แสดงความคิดเห็น Rosetta Stone วันที่ตอบ 2006-12-03 01:48:07 IP : 58.8.13.143


ความคิดเห็นที่ 3 (459177)

ผมก็กำลังศึกษาอยู่เหมือนกัน แบบ Champollion แกะ งานของ Rosetta นี่แหละครับเช่นบทความของเวปนี้  ลีลาไปไกลกว่า Dial  Detective นัก  รึไม่จริงครับ?

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่พะโล้ วันที่ตอบ 2006-12-03 09:19:17 IP : 203.154.51.47


ความคิดเห็นที่ 4 (459178)

เรื่องเซอร์อาเธอร์ โคแนนดอย น่ะ เขาน่าจะเขียนตอนจบสุดท้ายของท่านเซอร์ด้วย  กรณี Angel เรียกว่า ไม่ได้ว่าไม่ดีแต่ไม่สะใจคนอ่าน!!!....ใช้ศัพท์ในวงการให้ชาวบ้านเขาไปตามค้นต่อเอาเอง..สนุกจะตาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่พะโล้ วันที่ตอบ 2006-12-03 09:26:32 IP : 203.154.51.47


ความคิดเห็นที่ 5 (459285)

อ่านบทวิจารณ์คุณไข่พะโล้แล้วงงๆครับ มีหลายประเด็นที่คิดว่าควรจะแสดงความเห็น ไม่เช่นนั้นคนอ่านในเว็บนี้อาจเข้าใจผิดได้

ประเด็นแรก เรื่อง "เก่าเก๋ากึ๊ก..เกิน20ปี.แล้ว" อ่านสำนวนแล้วดูเหมือนจะให้เข้าใจว่าเป็นหนังสือเก่าที่ไม่น่าสนใจ ความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า หนังสือที่แต่งมานานแล้วยังมีการจัดพิมพ์ใหม่และขายได้ดีอยู่ น่าจะสันนิษฐานว่า เป็นหนังสือที่ดี เพราะมีคนสนใจอยู่ตลอด เช่น คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ ที่ผมแนะนำเป็นเล่มแรก ก็เป็นหนังสือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว ก็เป็นสุดยอดหนังสือดีเหมือนกัน, Tetrabiblos ของปโตเลมีก็เป็นพันๆปีแล้ว เป็นต้น สำหรับฉบับแปลของอ.ปิลไล ผมเคยได้ยินรุ่นพี่เล่าให้ฟังเหมือนกันแต่ไม่เคยอ่านฉบับนั้น เลยไม่แน่ใจว่าแปลมาจาก Simms หรือเปล่า (เล่มที่ผมแนะนำเป็นฉบับ Revised 2nd Edition ซึ่งผ่านการแก้ไขปรับปรุงไปเมื่อปี 2001 แล้วครับ)

ประเด็นที่ 2 บทแรกเรื่องเชอร์ล็อกโฮล์มที่คุณไข่พะโล้บอกว่ามั่ว ผมกลับไปอ่านอีกรอบแล้วยังงงอยู่ว่ามั่วตรงไหน เพราะ Simms ยกตัวอย่างดวงของเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ ว่ามี ศูนย์รังสี พฤหัส/เมอริเดียน = มฤตยู (ความสำเร็จอย่างฉับพลัน) และจะโค้งประมาณ 27 องศาถึง แกน เมษ, พลูโต, เสาร์ และพุธ ซึ่งบ่งบอกว่า ความสามารถในการเขียนอย่างเป็นระบบและรอบคอบทำให้ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงอย่างฉับพลันไปทั่วโลก เมื่ออายุโค้ง 27 องศา หรือประมาณ 28 ปีครึ่ง (ท่านเซอร์ฯเกิดฤดูใบไม้ผลิ อายุจริงจะมากกว่าองศาของโค้งสุริยยาตร์) ซึ่งตรงกับปีที่เริ่มตีพิมพ์ตอนแรกของเชอร์ล็อคโฮล์ม "A Study in Scarlet" และประสบความสำเร็จ ผมอ่านทั้งหมดแล้วงงว่ามั่วตรงไหน เอาท่านเซอร์ฯมายำเละกับเชอร์ล็อคโฮล์มตรงไหน เปิด wikipedia ดู ข้อมูลของ Simms ก็ถูกต้อง เลยอยากให้คุณไข่พะโล้ช่วยเฉลยหน่อยครับ

ประเด็นที่ 3 "อ่านแล้วจะทึ่งแต่ถ้าใช้ทำนายล่วงหน้าจะมีปัญหาแน่" และ "ณ  พศ.ปัจจุบัน มีวิวัฒนาการไปไกลกว่านี้มากแล้ว" วิธีการที่ Simms อธิบายเป็นการพยากรณ์โดยใช้ศูนย์รังสีและโค้งสุริยยาตร์ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของยูเรเนียน ผมเลยสงสัยว่าทำไมใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคตแล้วจะมีปัญหา เพราะจุดเด่นของยูเรเนียนก็อยู่ที่เรื่องนี้ และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า ทฤษฎีนี้แม่นยำมาก ส่วน ณ พ.ศ. ปัจจุบัน มีวิวัฒนาการไปไกลกว่านี้มากแล้ว หมายถึงทฤษฎีอะไรหรือครับ ผมยังนึกไม่ออก แต่ถึงจะพัฒนาอะไรออกไป ก็ยังไม่น่าจะทำให้ทฤษฎีศูนย์รังสี พระเคราะห์สนธิ และโค้งสุริยยาตร์ ล้าสมัยไปหรอกครับ

ประเด็นที่ 4 "เจ้าของตำรายังมีปัญหาเรื่องการเลือกคู่ครองของตนเองเลย ทำไมไม่รู้และแก้ไขก่อน จากดวงของตน" มีปัญหาตรงไหนหรือครับ Simms แต่งงานกับสามีคนแรก อยู่ด้วยกัน 10 กว่าปี มีลูกด้วยกัน 2 คน หลังจากหย่ากับสามีคนแรกของเธอไปแล้วปีกว่า เธอจึงแต่งงานกับ Neil Michelsen โหราจารย์ชั้นนำ จน Neil เสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หลังจากนั้นอีก 8 ปี Simms ถึงกลับไปแต่งงานอีกครั้งกับสามีคนแรก ผมไม่รู้สึกว่าเธอมีปัญหาตรงไหน การแต่งงานหลายครั้งไม่ใช่เรื่องแปลกในวัฒนธรรมอเมริกัน ผมไม่คิดว่าเราควรเอาค่านิยมของสังคมเราไปตัดสินคนในสังคมอื่นครับ เธอไม่ได้ทำผิดศีลธรรมอะไร ที่สำคัญ มันเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรนำมาผูกกับตำราที่เธอแต่งขึ้น เหมือนกับหมอดูที่ทายคนอื่นได้ว่าจะรวย แล้วทำไมไม่ทำให้ตัวเองรวยเสียที มันคนละเรื่องกันครับ คนเรามีสิทธิเลือกดำเนินชีวิต แต่ก็อยู่ภายใต้กรอบผลของกรรมในอดีต เพราะเหตุนี้เราถึงมาเรียนโหราศาสตร์กันไม่ใช่หรือครับ

ประเด็นสุดท้าย ในบทความแนะนำตำราเล่มนี้ ผมเขียนชัดเจนว่า จุดเด่นของเล่มนี้อยู่ที่ การสอนเทคนิคการหมุนจาน 90 องศาโดยใช้ภาพประกอบ ได้อย่างดีเยี่ยม แต่จุดอ่อนคือ ไม่ได้พูดถึงวิชาโหราศาสตร์ในทางลึก เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายของคนอ่านตำราเล่มนี้ คือ นักศึกษาโหราศาสตร์ที่ต้องการฝึกหมุนจานคำนวณ และจำเป็นต้องหาตำราเล่มอื่นมาอ่านประกอบด้วย

ด้วยเหตุผลประการทั้งปวง ผมยังเชื่อว่า Dial Detective เป็นตำราสำหรับนักศึกษาโหราศาสตร์ที่ต้องการฝึกการหมุนจาน 90 องศาได้อย่างดีเยี่ยม เหมือนเดิมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pallas วันที่ตอบ 2006-12-03 15:48:52 IP : 221.128.114.211


ความคิดเห็นที่ 6 (459358)

แหะๆตอบสั้นๆ...Detective กะ Fortune Teller ต่างกันตรงไหนคับ..มิติเวลาต่างกันคนละทิศ อดีตกะอนาคตเชียวนา

ก็ไม่ได้ว่าอะไรนักเพียงแต่ให้ข้อสังเกตว่า หนังสือเล่มนี้ สอนให้แกะอดีตจากยูเรเนียน หรือ สอนให้ทายอนาคตจากยูเรเนียน  จะมาอ้างโค้งอายุอะไรนั้น ทางปฏิบัติจริง จะงง เพราะ จุดที่ยกมา เป็นจุดส่วนเดียวจากอีกหลายๆจุดจำนวนมาก ที่ไม่ได้ยกมาอ้างมาลงไว้  ยกมาแต่ส่วนที่ถูกที่เข้ากรอบจากอดีตที่รู้แล้ว  พอมาบรรยายแล้วผู้อ่านจะทึ่งตะลึงในความแม่นยำ  ส่วนนำมาใช้จริงแล้วเป็นอย่างไรนั้นผู้ที่เรียนจะทราบดีครับ

ที่อาจารย์วิโรจน์ ทำนาย  ที่คุณเอามาลงไว้น่ะ  ผมเห็นว่าวิวัฒนาการกว่าวิธีของ Maria Kay Simms  ไม่ใช่เหรอ  นี่แหละ Fortune Teller เต็มรูปแบบ โดย Astrology Uranian Classics ยุคปัจจุบัน  ถ้าคุณเห็นว่าไม่ต่างก็แล้วไป ไม่เชื่อลองถามท่านดูสิครับ  เรื่อง ไทยรักไทย นี่แหละ คุณไม่ทราบหรือไงว่าต่างกันคนละมิติเชียว 

ว่างๆก็ลองอ่าน ประวัติเซอร์อาเธอร์  โคแนนดอย ชนิดพิศดารก่อน  ก็จะรู้อะไรเอง วิกิพิเดีย ไม่พอหรอกครับ ต้องคอ เชอร์ล็อคโฮล์ม ถึงจะรู้

.อย่าไปซีเรียสมาก น่ะเจ้านาย แห่ยให้ชาวบ้านเขาค้นคว้าต่อยังไงล่ะ...ตอบถูกหมดก็ไม่มีใครแย้งสิ หมดสนุกแย่  อิอิ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่พะโล้ วันที่ตอบ 2006-12-03 19:59:32 IP : 203.150.117.149


ความคิดเห็นที่ 7 (459397)
แนะนำหนังสือ นวนิยายเรื่อง The Deadly  Messiah ของ Albert Fayhill   กับ David Cambell  แต่งร่วมกัน  เรื่องนี้แต่งก่อนโรคเอดส์ จะระบาด  สิครับ ไม่ใช่ตำรา แต่ลีลาน่าสนุกแนวโหราศาสตร์
ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่พะโล้ วันที่ตอบ 2006-12-03 21:35:05 IP : 203.150.117.149


ความคิดเห็นที่ 8 (459404)

ขอใช้สิทธิ์พาดพิง ซึ่งไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจดีขึ้นบ้างมั๊ย

การพยากรณ์กับการแกะรอยนั้นใช้ทฤษฎีเดียวกัน เช่น การใช้โค้งสุริยยาตร์ ใช้สูตรพระเคราะห์สนธิ หรือแม้กระทั่งการใช้วงรอบ เพียงแต่ในการ "ศึกษา" หรือการ "ค้นคว้า" นั้น เราต้องอาศัยข้อมูลจากอดีตด้วยกันทั้งสิ้น

การเขียนตำรา กับการพยากรณ์เหตุการณ์ปัจจุบันจะมีข้อพิจารณาที่แตกต่างกัน คือ การเขียนตำรา ผู้แต่งอาจจะเอาผลงานที่เคยพยากรณ์มาก่อนแล้ว และมีผลตรงตามที่พยากรณ์ จึงสรุปรวบรวมเป็นตำรา เมื่อวันเวลาผ่านไป คนรุ่นหลังมาอ่านโดยไม่รู้ที่มาของตัวอย่างในหนังสือตำรา ก็อาจจะบอกว่า เอาเรื่อง "หวยออกแล้ว" มาเขียน ซึ่งเขียนยังไงก็ถูก เหมือนวันหนึ่ง ผมอาจจะรวบรวมบทความที่เคยพยากรณ์เอาไว้ แม่กระมั่งบทความนี้มารวบรวมเป็นตำราว่าด้วยการใช้วงรอบ กาลเวลาผ่านไปหลายปี คนรุ่นหลังมาอ่านเจอ ก็อาจจะรู้สึกว่า ผมเอาเรื่องที่มีผลแล้วมาเขียนเหมือน "หวยออกแล้ว" การเขียนตำรา หากเอาข้อมูลที่ไม่สามารถหาข้อสรุปที่เป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนก็จะกลายเป็นทฏษฎีแห้งๆ ที่คนิ่านก็ไม่รู้จะอ่านทำไมเพราะไม่เห็นความถุกต้องแม่นยำ ผู้เขียนตำรามีเจตนานำเหตุการณ์ที่สอดคลฃ้องต้องกันกับทฤษฎีมานำเสนอเพื่อให้เกิดความรู้และนำไป "ทดลองใช้" ผมเน้นว่า "ทดลองใช้" เพราะทฤษฎีทางโหราศาสตร์หรือทฤษฎีใดๆก็ตาม ไม่ใช่ข้อสรุปที่สามารถใช้ได้ทุกกรณี ทฤษฎีสามารถนำมาใช้เพียงการอ้างอิง และขึ้นอยู่กับผู้ใช้ทฤษฎีว่าจะรู้จักนำหลักการ อุปมาอุปมัยมาใช้อย่างถุกต้อง ครบถ้วนหรือไม่

การพยากรณ์นั้น ต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูล และหาปัจจัยที่เป็นประโยชน์มาใช้อ้างอิง และหาข้อสรุปเพื่อการพยากรณ์ ซึ่งต้องรอผลว่าเหตุการณ์ที่พยากรณืไว้นั้นมีผลถูกต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าถูกต้อง คนพยากรณ์ก็รอดตัวไป แต่ถ้ามีข้อผิดพลาด ก็จะถูกตั้งแต่ ดูถูก ค่อนขอด กระแนะกระแหน หรือต่างๆนาๆ

กว่าผมจะเขียนบทความต่างๆวันนี้ได้ ผมก็ต้องอาศัยการแกพรอยจากอาจารย์ที่สอนมา คือ การแะรอยจากบทความที่อาจารย์ประยูรท่านเขียนๆไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เราเห็นแนวคิด และวิธีการต่างๆแล้วนำมาใช้เดินในเส้นทางเดียวกับอาจารย์ นักศึกษาโหราศาสตร์รุ่นหลังจากผมก็เหมือนกัน การจะศึกษาหาความรู้นั้นก็ต้องแกะรอยจากรุ่นก่อน หรือไม่อย่างไรก็สุดแท้แต่ละคนจะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ผมไม่เห็นว่าการแกะรอยเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นวิธีการที่รวดเร็วกว่าสร้างเองซึ่งอาจจะต้องลองผิดลองถูก และเสียเวลา ซึ่งลูกศิษย์ของผมหลายคนก็แกะรอยผมได้ "เนียน" จนหลายคนเข้าใจว่าเป็นผมหลายครั้งแล้ว นี่คือสิ่งที่ผม ในฐานะที่เป็นอาจารย์ ภาคภูมิใจที่สามารถสร้างรอยให้ชนรุ่นหลังได้แกะรอยและใช้เป็นแนวทางตามอย่างได้

ผู้แสดงความคิดเห็น อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย วันที่ตอบ 2006-12-03 21:52:10 IP : 61.47.120.251


ความคิดเห็นที่ 9 (459428)

ผมอ่านอยู่หลายรอบ สรุปได้ความว่า คุณไข่พะโล้ แกเขียนเอามันส์อย่างเดียว มั่ว หรือไม่มั่ว ไม่เกี่ยว

ผู้แสดงความคิดเห็น Rosetta Stone วันที่ตอบ 2006-12-04 00:08:32 IP : 58.8.12.136


ความคิดเห็นที่ 10 (459431)
ว้า! รู้ทัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต วันที่ตอบ 2006-12-04 00:33:21 IP : 203.150.117.149


ความคิดเห็นที่ 11 (459454)

โธ่ จานย์

ผู้แสดงความคิดเห็น สงกะสัย วันที่ตอบ 2006-12-04 06:28:48 IP : 124.157.188.18


ความคิดเห็นที่ 12 (459455)

เดี๋ยวนี้มีฝรั่งบางค่าย เขาใช้ midpoint ของ declination ร่วมกับ midpoint ของ longitude เห็น(คุยว่า) แม่นยิ่งขึ้น

เอามาเสริมกระทู้ เรื่องพัฒนาการครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สงกะสัย วันที่ตอบ 2006-12-04 06:33:05 IP : 124.157.188.18


ความคิดเห็นที่ 13 (459534)
มิดพอยด์ลองติจูด ใช้ได้ดีครับ แต่ เส้นเดค นี่ไม่เคยใช้แฮะ...ต้องลองไปค้นคว้าดู ขอบคุณมากที่มีเรื่องมาให้จิ๊กซอร์อีกตัวนึงแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต .. สงสัยต้องแอบมาแบบให้ เนียน กว่านี้ วันที่ตอบ 2006-12-04 09:37:59 IP : 203.150.102.71


ความคิดเห็นที่ 14 (459535)

จากความเห็นที่ 12 การใช้ declination  หรือ longitude นั้น เป็นเรื่องที่ อ.ประยูรเคยพูดไว้นานแล้วครับว่า เป็นการพยากรณ์เทคนิคขั้นสูง ผู้ที่จะใช้ตำแหน่งทางดาราศาสตร์พยารกรณ์นั้น จะต้องมีความรู้ด้านดาราศาสตร์พอสมควร  ผมจดจำคำของอาจารย์มาเสมอ ถึงขณะนี้ก็ได้เอามาใช้พยากรณ์บ้าง เพียงแต่ไม่ได้เผยแพร่เป็นตำรา เพราะต้องการศึกษาไปอีกสักระยะ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เพียงพอแล้วก็อาจจะเขียนเป็นตำรา แต่ทุกวันนี้ก็นำมาบอกเล่าให้นักศึกษาได้รับรู้บ้างแล้ว เช่นการดูตำแหน่งจันทร์โคจรในภาพGraphic ของโปรแกรมทางดาราศาสตร์ เพื่อบอกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์ เช่น กรณีเหตุการณ์ 911 เมื่อปี 2001 จันทร์โคจรเหนือฟ้านิวยอร์ค ขณะเกิดเหตุการณ์ระเบิด ก็เป็นการแกะรอยเหตุการณ์ย้อนหลังเพื่อหาสิ่งบอกเหตุ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลนำไปใช้ศึกษาต่อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย วันที่ตอบ 2006-12-04 09:38:25 IP : 203.146.104.32


ความคิดเห็นที่ 15 (462263)

Rosetta ของจริงต้องยังงี้.ครับ..อ่านแล้วบรรเจิดเห็นลู่ทางต่อได้อีกเยอะ.

ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต วันที่ตอบ 2006-12-08 15:52:22 IP : 203.156.34.66


ความคิดเห็นที่ 16 (462739)
คุณภารต กลิ้งเก่งสมเป็น ไข่พะโล้ จริงๆ นับถือๆ เด็กใหม่อย่างผมขอไปนั่งแกะรอยห่างๆ แล้วกัน
ผู้แสดงความคิดเห็น Rosetta Stone วันที่ตอบ 2006-12-09 17:39:55 IP : 210.4.139.129


ความคิดเห็นที่ 17 (463005)
เป็น Rosetta Stone อ่านตัวเองไม่เห็นหรอกครับ ต้องเป็น Champolion ถึงจะแกะ Rosetta ออกได้ โดยเทียบ จากอักษรโรมัน อักษรเซมิติค และอักษรเฮียโรกริฟฟิค โดยเริ่มจาก คำว่า รามเสต และ คลีโอพัตรา  แนวจิ๊กซอร์ (อีกแล้ว) นโบเลียน อุตส่าห์ขนมาไว้ให้อ่านถึงปารีส นานตั้ง เป็นร้อยๆปี ถึงจะแกะออก
ผู้แสดงความคิดเห็น ภารต วันที่ตอบ 2006-12-10 13:47:25 IP : 210.86.142.73


ความคิดเห็นที่ 18 (463083)
นับถือๆ รอบรู้อย่างเข็มขัดสั้น (คาดไม่ถึง) จริงๆ เสริมนิดว่า จุดเด่นของ Champolion น่าจะอยู่ ที่การรวมองค์ความรู้ของตน และจากข้อมูลอื่นๆ มาตั้งสมมุติฐานที่แตกต่างออกไป สร้างเงื่อนไขขึ้น โดยใช้ชื่อกษัตรย์ รามเสต เป็นเงื่อนไขทดสอบ และหาข้อสรุป และนำไปสู่การค้นพบคำว่า คลีโอพัตรา อเล็กซานเดอร์และอื่นๆ ไม่อย่างนั้น Thomas Young คงแปลออกหมดแล้ว อย่าเอาผมไปเทียบกับสุดยอดการค้นพบเลยครับ ผมเป็นเพียงชุดคำสั่งเล็กๆในเครื่องแมคอินมอสเท่านั้น เอ้ หรือว่าผม ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น ไข่ในหิน ดี (ฮาๆ อย่าซีเรียสคร้าบ)
ผู้แสดงความคิดเห็น Rosetta Stone วันที่ตอบ 2006-12-10 17:41:42 IP : 210.4.139.129


ความคิดเห็นที่ 19 (469284)
"หวยออกแล้วอ๋อ ลากเหตุการณ์มาหาดวง" ผมอ่านแล้วก็งงเพราะหลักการอันหนึ่งของโหราศาสตร์ คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นที่เรียกว่าอนาคต โดยหลักการอุปมาอุปมัยแล้วจะเหมือนกันสนิทกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต
ผู้แสดงความคิดเห็น New Moon วันที่ตอบ 2006-12-20 21:08:31 IP : 125.24.196.8


ความคิดเห็นที่ 20 (4023571)
Woah nelly, how about them appsle!
ผู้แสดงความคิดเห็น w2FPff3XQpR0 (q6fmlrem-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2016-06-09 14:59:22 IP : 188.143.234.155


ความคิดเห็นที่ 21 (4024600)
Great inhitsg! That"s the answer we"ve been looking for.
ผู้แสดงความคิดเห็น uMah8i7zWfos (2tw2xcbbr3d-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-06-09 21:02:27 IP : 188.143.232.27


ความคิดเห็นที่ 22 (4036878)
http://tcgfotography.com/auto-insurance-network.html http://makeoversf.com/who-can-buy-insurance-on-the-exchange.html
ผู้แสดงความคิดเห็น HpUyIaNVz (s6p00rhz-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2016-06-26 20:36:04 IP : 188.143.234.155


ความคิดเห็นที่ 23 (4039040)
insurance companies auto insurance insurance quirky characters car insurance quotes resources canada damage such auto insurance only paying circumstances auto insurance quotes pays
ผู้แสดงความคิดเห็น E73ybXGBY (dycime22-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-06-30 00:13:37 IP : 188.143.232.27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.