ปรากฏการณ์อุปราคาในปี 2552 ข้อมูลจาก http://eclipse.gsfc.nasa.gov
วันที่ |
เวลา |
ประเภทการเกิดอุปราคา |
ชนิด |
Saros |
ความนานของคราส |
พื้นที่ที่เห็นปรากฏการณ์ |
26 มกราคม |
14.59.44 |
สุริยุปราคา |
วงแหวน |
131 |
0:07:54 |
อาฟริกาใต้ ทวีปแอนตาร์คติค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย [เกิดวงแหวน : ตอนใต้ของอินเดีย เกาะสุมาตรา และบอร์เนียว] |
9 กุมภาพันธ์ |
22:28:39 |
จันทรุปราคา |
เงามัว |
143 |
2:01:25 |
ยุโรปตะวันออก, เอเซีย, ออสเตรเลีย,มหาสมุทรแปซิฟิค,ตะวันตกของนิวซีแลนด์ |
7 กรกฎาคม |
16:00:36 |
จันทรุปราคา |
เงามัว |
110 |
1:05:50 |
ออสเตรเลีย, มหาสมุทรแปซิฟิค, อเมริกา |
22 กรกฎาคม |
09.36.24 |
สุริยุปราคา |
เต็มดวง |
136 |
0:06:39 |
เอเซียตะวันออก, มหาสมุทรแปซิฟิค, ฮาวาย [เต็มดวง : อินเดีย, เนปาล, จีน, มหาสมุทรแปซิฟิค] |
6 สิงหาคม |
08:44:58 |
จันทรุปราคา |
เงามัว |
148 |
1:38:09 |
อเมริกา,ยุโรป,อาฟริกา, เอเซียตะวันตก |
1 มกราคม 53 |
02:04:48 |
จันทรุปราคา |
บางส่วน |
115 |
1:02:00 |
ยุโรป,อาฟริกา,เอเชีย ออสเตรเลีย |
จากที่ได้ติดตามข่าว ไข้หวัดหมู (Swine Flu) และล่าสุดเรียกว่า ไข้หวัดเม็กซิโก (Mexico Flu) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้อมูลหนึ่งที่สะดุดคือ เหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ทำให้ผมต้องไปค้นข้อมูลเก่าที่เก็บไว้เมื่อประมาณปี 2003 ได้เกิดเหตุการณ์ระบาดของ ไข้หวัดซารส์ (SARS) ระบาดที่ฮ่องกง ช่วงนั้นผมสืบค้นข้อมูลมาได้ว่า ในช่วงปี 1918-1920 ได้เกิดการระบาดของไข้หวัดที่เรียกว่า Spanish Flu ซึ่งเกิดขึ้นในหลุมเพาะแนวหลังของทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีทหารหน่วยหนึ่งถูกส่งมาจาก สเปน แล้วเกิดเป็นไข้หวัด ซึ่งมีอาการที่รุนแรงมาก คือ หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของไข้หวัดแล้ว ไม่ถึงสัปดาห์หลังจากนั้นก็จะเสียชีวิต ซึ่งทำให้ทหารในค่ายแห่งนั้นล้มตามเป็นจำนวนมาก โดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสมัยนั้นยังมีขีดความสามารถไม่พียงพอที่จะต้านทานการระบาดของไข้หวัดนั้นได้ การระบาดของไข้หวัดครั้งนั้นจึงถูกเรียกขานว่า Spanish Flu จากข้อมูลในอดีตถึงปัจจุบันได้บันทึกไว้ว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากไข้หวัดนี้เป็นจำนวนระหว่าง 40-100 ล้านคน นับเป็นจำนวนมากถึง ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลกในขณะนั้น ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 รวมกันเสียอีก
วงรอบการโคจรของดาวมฤตยู
ช่วงเวลานั้นผมได้ตั้งข้อสันนิษฐานทางโหราศาสตร์ประมาณว่าน่าจะเป็นวงรอบการโคจรของดาวมฤตยู 1 รอบจักรราศี ประมาณ 80 ปี ที่ทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดในขณะนั้น แต่ไม่ได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดประเภทต่างๆว่ามีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างไร (สาเหตุเป็นเพราะยังไม่มีข้อมูลความรู้เดิมเก็บไว้ให้ใช้มาก่อน และวิทยาการหรือเทคโนโลยีต่างๆเพิ่งจะพัฒนาในระยะหลัง เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน และไม่ได้เขียนบทวิเคราะห์ในขณะนั้นเอาไว้ และข้อมูล ณ ปัจจุบัน ไข้หวัดสเปน หรือ Spanish Flu ที่เคยเกิดขึ้น เมื่อปี 1918 -1920 มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าเป็นไข้หวัดชนิด A สายพันธุ์ H1N1 ได้กลับมาอีกครั้งในปี 2009 นี้ในชื่อเริ่มต้นว่า ไข้หวัดหมู (Swine Flu) ไข้หวัดเม็กซิโก (Mexico Flu) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 H1N1
จากข้อมูลข้างต้นทำให้ผมตั้งสันนิษฐานใหม่ว่า วงรอบของการระบาดของไข้หวัดสเปนกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ห่างกัน ประมาณ 90 ปี ในทางโหราศาสตร์แล้วเบื้องต้นอาจจะคิดถึงวงรอบการโคจรของดาวเสาร์ทุกๆ 29-30 ปี แต่เมื่อพิจารณาแล้ว วงรอบของดาวเสาร์มักเกิดเหตุการณ์แทบทุกครั้งที่ครบรอบ แต่การระบาดของไข้หวัดนั้นสมมติฐานทางโหราศาสตร์เป็นเรื่องของการระบาดของโรค ไม่ใช่วงรอบของการเปลี่ยนแปลงหรือการพลัดพราก ดังนั้นจึงต้องค้นหาสมมติฐานใหม่ว่า น่าจะเป็นวงรอบทางดาราศาสตร์ใดที่มีช่วงวงรอบการโคจรหรือวงรอบการเกิดซ้ำ 90 ปีบ้าง
การเกิดคราสหรืออุปราคา กับ คาบซารอส
การเกิดคราสหรืออุปราคา คือการที่ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีอุปราคา 2 ประเภท คือ
สุริยุปราคา (Solar eclipse) หรืออุปราคาของดวงอาทิตย์ อุปราคาประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ทำให้แสงที่มาจากดวงอาทิตย์บางส่วนตกกระทบลงบนผิวดวงจันทร์ ทำให้เกิดเงาของดวงจันทร์ทอดลงบนโลก ดังนั้นพื้นที่บางส่วนของโลกที่อยู่ภายใต้เงาของดวงจันทร์ จึงไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ หรือมองไม่เห็นดวงอาทิตย์นั่นเอง
แบบจำลองการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง
จันทรุปราคา (Lunar eclipse) หรืออุปราคาของดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อโลกอยู่กึ่งกลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของโลกทอดลงบนดวงจันทร์ ดังนั้น แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนดวงจันทร์จึงมีปริมาณลดลง ทำให้แสงสะท้อนจากดวงจันทร์ลดลงด้วย เราจึงเห็นดวงจันทร์มีความสว่างน้อยลง
แบบจำลองการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
ที่มา : สารานุกรมดาราศาสตร์ออนไลน์
http://www.astroschool.in.th/public/teacher/encyclodetail_ans_inc.php?id=85
คาบซารอส หรืออนุกรมซารอส (Saros cycle or Saros series) คือวงรอบปรากฏของการเกิดอุปราคาทั้งสุริยุปราคา และจันทรุปราคา ซึ่งมีช่วงเวลาประมาณ 18 ปี 11 วัน 8 ชั่วโมง (หรือประมาณ 6585⅓ วัน) สามารถใช้ในการทำนายการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้ หลังจากเกิดคราสครบ 1 รอบ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จะหวนกลับมาอยู่ในตำแหน่งทางเรขาคณิตเช่นเดิมอีก ลักษณะการเกิดคราสแบบเดิมจะเกิด ขึ้นทางทิศตะวันตกของตำแหน่งที่เคยเกิดครั้งก่อน หนึ่งอนุกรมซารอส จะมีระยะเวลาประมาณ 1200 ปี และจะเกิดอุปราคาประเภทละประมาณ 70 ครั้ง
ซารอสที่ 136 ของสุริยุปราคา
อนุกรมคาบซารอสที่ 136 ของสุริยุปราคา มีจำนวนการเกิดอุปราคา 71 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน คศ. 1360 (พ.ศ.1903) และครั้งสุดท้ายคือครั้งที่ 71 จะเกิดขึ้นวันที่ 30 กรกฏาคม ค.ศ. 2662 (พ.ศ. 3205) รวมระยะเวลา 1262.11 ปี ซารอสที่ 136 นับเป็นอนุกรมที่น่าสนใจเนื่องจาก อุปราคาที่เกิดขึ้นในคาบซารอสลำดับที่ 34 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้ากรุงเทพประเทศไทย มีระยะเวลาการเกิดคราสนาน 7 นาที 8 วินาที เป็นการเกิดคราสเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษที่ 20 และนานกว่าการเกิดอุปราคาในอนุกรมซารอสอื่นๆ และล่าสุดจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 22 กรกฏาคม 2009 ที่จะถึงนี้ เป็นลำดับที่ 37 ของคาบซารอส 136 มีระยะเวลาการเกิดคราสนาน 6 นาที 39 วินาที นานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21
ลำดับ ที่ |
วันที่ |
เวลากึ่งกลางคราส GMT |
ชนิดของ การเกิด คราส |
ตำแหน่งดวงอาทิตย์
Latitude |
ตำแหน่งดวงอาทิตย์Longtitude |
ความนาน ของการเกิด คราส |
01 |
14 Jun 1360 |
05:56:04 |
Pb |
65.8 S |
78.2E |
|
22 |
08 Feb 1739 |
04:41:13 |
T |
59.2 S |
131.0 E |
01m27s |
27 |
03 Apr 1829 |
22:18:36 |
T |
28.5 S |
142.6 W |
04m05s |
30 |
06 May 1883 |
21:53:49 |
T |
8.1 S |
144.6 W |
05m58s |
31 |
18 May 1901 |
05:33:48 |
T |
1.7 S |
98.4 E |
06m29s |
32 |
29 May 1919 |
13:08:55 |
T |
4.4 S |
16.7 E |
06m51s |
33 |
08 Jun 1937 |
20:41:02 |
T |
9.9 N |
130.5 W |
07m04s |
34 |
20 Jun 1955 |
04:10:42 |
T |
4.8 N |
117.0 E |
07m08s |
35 |
30 Jun 1973 |
11:38:41 |
T |
18.8 N |
5.6 E |
07m04s |
36 |
11 Jul 1991 |
19:07:01 |
Tm |
22.0 N |
105.2 W |
06m53s |
37 |
22 Jul 2009 |
02:36:25 |
T |
24.2 N |
144.1 E |
06m39s |
38 |
02 Aug 2027 |
10:07:50 |
T |
25.5 N |
33.2 E |
06m23s |
39 |
12 Aug 2045 |
17:42:39 |
T |
25.9 N |
78.5 W |
06m06s |
40 |
24 Aug 2463 |
01:22:11 |
T |
25.6 N |
168.4 E |
05m49s |
71 |
30 Jul 2622 |
12:18:09 |
Pe |
63.0 N |
136.4 E |
|
First Eclipse = 1360 Jun 14 05:56:04 TD
Last Eclipse = 2622 Jul 30 12:18:09 TD
Duration of Saros 136 = 1262.11 Years
ที่มา : http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros136.html
มีเหตุการณ์สำคัญที่น่าสนใจของโลกและของประเทศไทยเกิดขึ้นที่ช่วงการเกิดอุปราคานับจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
เหตุการณ์สำคัญของโลกและประเทศไทยกับ ซารอสที่ 136 ของสุริยุปราคา
ลำดับที่ 22 เกิดคราส ในราศีกุมภ์ วันที่ 08 Feb 1739 (พ.ศ. 2282)
1. สงครามระหว่างรัสเซียกับ จักรวรรดิออตโตมาน Russo-Turkish War (17351739)
ลำดับที่ 27 เกิดคราส ในราศีเมษ วันที่ 03 Apr 1829 (พ.ศ. 2372)
1. สงคราม Russo-Turkish War (18281829) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2ในปี 1830
ลำดับที่ 30 เกิดคราส ในราศีพฤษภ วันที่ 06 May 1883 (พ.ศ. 2436)
1. Carl Friedländer และ Albert Fränkel ค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ Pneumonia ในปี 1882.
ลำดับที่ 31 เกิดคราส ในราศีพฤษภ วันที่ 18 May 1901 (พ.ศ. 2444)
1. วันที่ 5 มกราคม 1901 พบการระบาดของโรคไทฟอยด์ในเรือนจำที่เมืองซีแอตเติล ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (January 5 Typhoid fever breaks out in a Seattle jail, the first of 2 typhoid outbreaks in the USA during the year.)
2. Marie Curie สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ (ค.ศ. 1902) ทำให้ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446)
ลำดับที่ 32 เกิดคราส ในราศีมิถุน วันที่ 29 May 1919 (พ.ศ. 2462)
1. สงครามระหว่างรัสเซียกับ จักรวรรดิออตโตมาน Russo-Turkish War (19141918)
2. พบการแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) (ซึ่งต่อมามีการจัดเข้าอนุกรมของไข้หวัด ไวรัสสายพันธ์ A Influenza virus A H1N1) ในช่วงฤดูหนาวปลายปี 1918 ถึงปี 1919 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึงกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก (ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 รวมกัน) และถือว่าเป็นการพบการระบาดของหวัดสายพันธ์ H1N1 ครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้
3. มีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นในช่วง28 June 1914 11 November 1918 Treaty of Versailles signed 28 June 1919
4. Germany inflation 1914-1923
ลำดับที่ 33 เกิดคราส ในราศีมิถุน วันที่ 08 Jun 1937 (พ.ศ. 2480)
1. เหตุการณ์บุกญี่ปุ่นยึดนานกิง 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480)
2. การเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 (พ.ศ. 2482)
ลำดับที่ 34 เกิดคราส ในราศีมิถุน วันที่ 20 Jun 1955 (พ.ศ. 2498)
1. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ - ประเทศในองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียอาคเนย์ (SEATO) ร่วมประชุมกันครั้งแรก
2. วันที่ 14 พฤษภาคม - สงครามเย็น: สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์รวม 8 ประเทศ ลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ
3. กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
ลำดับที่ 35 เกิดคราส ในราศีกรกฎ วันที่ 30 Jun 1973 (พ.ศ. 2516)
1. วันที่ 27 มกราคม การเข้าร่วมในสงครามเวียดนามของสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดลง ด้วยการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส
2. วันที่ 29 มีนาคม ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้ายเดินทางออกจากเวียดนาม
3. วันที่ 14 ตุลาคม วันมหาวิปโยค : นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชน รวมตัวประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย มีผลทำให้จอมพลถนอม กิตติขจร และคณะต้องเดินทางออกนอกประเทศ
4. วันที่ 17 ตุลาคม เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรงทั่วโลก หลังมีการกักตุนน้ำมันในอาหรับ เพื่อต่อต้านหลายประเทศที่ให้การสนับสนุนอิสราเอล
ลำดับที่ 36 เกิดคราส ในราศีกรกฎ วันที่ 11 Jul 1991 (พ.ศ. 2534)
1. 17 มกราคม สงครามอ่าวเปอร์เซีย: ปฏิบัติการพายุทะเลทรายเริ่มต้นขึ้น
2. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
3. 20 มิถุนายน รัฐสภาเยอรมนีตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากบอนน์ไปยังเบอร์ลินอีกครั้ง
4. 25 มิถุนายน โครเอเชีย และสโลวีเนีย แยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย
5. 1 กรกฎาคม สนธิสัญญาวอร์ซอ ยุติลงอย่างเป็นทางการ (1955-1991)
6. 26 ธันวาคม สมาชิกรัฐสภาโซเวียตร่วมประชุมกัน และล้มเลิกสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ
ลำดับที่ 37 เกิดคราส ในราศีสิงห์ วันที่ 22 Jul 2009 (พ.ศ. 2552)
1. การระบาดของไข้หวัด 2009 (H1N1) โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก
2. 12-14 เมษายน 2552 -วันสงกรานต์เดือดกลางกรุงเทพมหานคร
3. 5 กรกฏาคม เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างชาวฮั่นกับชาวอุยกูร์ เมืองซินเจียง ประเทศจีน
สรุปภาพรวมของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้คาบซารอส 136
1. สถานการณ์สงครามและเหตุการณ์ความไม่สงบ
2. สถานการณ์เงินเฟ้อ และวิกฤติเศรษฐกิจภายหลังสงคราม
3. เหตุการณ์ด้านการแพทย์
3.1. มีการค้นพบ แร่เรเดียมที่ใช้ในการฉายรังสี
3.2. การค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคนิวมอเนีย Pneumonia
3.3. การระบาดของโรค Typhoid
3.4. การระบาดของโรคหวัดไวรัสสายพันธุ์ A Influenza virus A H1N1
เหตุการณ์ที่น่าสนใจได้แก่ การเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับจักวรรดิออตโตมานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1568 จนถึง 1918 นั้นมีถึง 3 ช่วงของสงครามที่เกิดภายใต้สุริยุปราคาเต็มดวงใน คาบซารอสที่ 136 ลำดับที่ 22 ลำดับที่ 27 และ ลำดับที่ 32
ที่มาของข้อมูล :
- http://eclipse.gsfc.nasa.gov
- http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros136.html
- สารานุกรมดาราศาสตร์ออนไลน์
http://www.astroschool.in.th/public/teacher/encyclodetail_ans_inc.php?id=85
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี