ReadyPlanet.com
dot
dot dot
dot
เกี่ยวกับเรา Horauranian.com
dot
bulletรำลึกถึง อาจารย์ พลตรี ประยูร พลอารีย์
bulletเจตนารมณ์
bulletติดต่อเรา
bulletโหราพยากรณ์
dot
บทความ
dot
bulletเกร็ดโหรน่ารู้
bulletเจาะลึกโหรา
bulletโหราศาสตร์บ้านเมือง
bulletBlog อ.วิโรจน์
bulletแนะนำตำรา
bulletไพ่ยิปซี จักรราศี (Celestial Tarot)
bulletกระดานถามตอบ
bulletคลังบทความดวงเมืองเศรษฐกิจ 2550-2552
bulletคลังกระทู้โหราศาสตร์ที่น่าสนใจ
dot
บทความน่าสนใจ
dot
bulletประเทศไทยหลังคดียึดทรัพย์ 2553
bulletReturn of Great Depression?
bulletChange! ผู้นำยุคใหม่ของโลก
bulletเรือนชะตาจันทร์ 28 เรือน
bulletโหราศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์
bulletเลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง
bullet6 ขั้นตอนเพื่อการดูหมออย่างคุ้มค่า
bulletชนะใจคนรัก 12 ราศี
dot
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
dot
bulletเพจ โหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletโหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletCelestial Strategist Blog
bulletBlog โหราเศรษฐกิจ
bulletเว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Daylight Saving Time หรือ Summer Time ปัญหากวนใจของนักพยากรณ์ article

โดย Phainon
ธันวาคม 2549

          นักโหราศาสตร์ หลายท่านมักจะประสบปัญหาเวลาต้องคำนวณ ดวงชะตา ชาวต่างชาติ, คนที่เกิดในต่างประเทศ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น การพยากรณ์ผลฟุตบอลโลก การพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมืองของต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งที่สร้างความปวดหัวมักจะเป็นการระบุแลตติจูด ลองจิจูด หรือการแปลงเวลาท้องถิ่น

          แต่เมื่อมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ปัญหาเหล่านี้ก็ดูจะบรรเทาเบาบางลงไป แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ถึงแม้จะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ใช่ว่าจะหมดปัญหากันง่ายๆ นั่นคือ เรื่อง Daylight Saving Time หรือ Summer Time เพราะถ้าเป็นช่วงที่มีการปรับ Summer Time แล้วล่ะก็ การใส่เวลาเพื่อคำนวณดวงชะตาในคอมพิวเตอร์ก็ต้องระบุให้ถูกต้อง ตำแหน่งดาวจึงจะถูกต้องด้วย

          เพื่อป้องกันความสับสน ต้องทำความเข้าใจถึงคำจำกัดความของ Time Zone เสียก่อน Time Zone หมายถึง พื้นที่ที่มีเวลามาตรฐาน (Standard Time) เดียวกัน มักจะถูกหมายถึงเวลาท้องถิ่น (Local Time) แต่ละโซนจะมีระยะเวลาแตกต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ ด้วยหลักการทางภูมิศาสตร์ (1 ชั่วโมง ต่อ 15 องศาลองติจูด) ซึ่งปกติแล้ว Time Zone ที่เราใช้กันจะมี 2 ความหมาย คือ

  1. เขตพื้นที่ที่มีระยะห่างของเวลาท้องถิ่นและจุดอ้างอิง (Greenwich Mean Time, GMT) เป็นค่าคงที่เดียวกัน
  2. เขตพื้นที่ที่มีระยะห่างของเวลาท้องถิ่นและจุดอ้างอิงเดียวกันเสมอ ถึงแม้ว่า การอ้างอิงจะมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล กล่าวคือมีเวลา Standard Time เดียวกันนั้นเอง

Daylight Saving Time คือ อะไร

          "Daylight Saving Time" มักใช้เรียกกันในโซนอเมริกา และใช้คำว่า "Summer Time" ในโซนยุโรป Daylight Saving Time หรือ Summer Time คือ การปรับเวลาที่ใช้ในท้องถิ่นช่วงฤดูร้อนให้เร็วกว่าเวลาปกติ ซึ่งจะปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ยกเว้นเกาะลอร์ดโฮว์ ประเทศออสเตรเลียที่มีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นแค่ ½ ชั่วโมง

          การปรับเวลา Saving Time นี้มักจะใช้ในประเทศที่มีอยู่ในละติจูดมากกว่าแนว 23.5 เหนือ/ใต้ (Temperate Zone) แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่อยู่ในแถบนี้จะประกาศใช้เวลา Summer Time ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น

 

  • สีฟ้า คือ ประเทศที่ใช้การปรับเวลาแบบ Daylight Saving Time
  • สีส้ม คือ ประเทศไม่ใช้ระบบ Daylight Saving Time แต่เคยทดลองใช้มาแล้ว
  • สีแดง คือ ประเทศไม่เคยใช้ระบบ Daylight Saving Time

เหตุผลที่ต้องใช้ Daylight Saving Time

          จุดประสงค์หลักของการใช้ Daylight Saving Time (DST) หรือ Summer Time คือ การประหยัดพลังงานในช่วงค่ำ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เวลาพระอาทิตย์ตกดิน และเวลาการเข้านอนของคนโดยทั่วไป

          ช่วงเวลา DST จะมีระยะเวลากลางวันนานกว่าระยะเวลากลางคืน (สว่างเร็วกว่าปกติ และค่ำช้ากว่าปกติ) ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว คนเราจะตื่นเช้าตามพระอาทิตย์ขึ้น แต่จะใช้เวลาในการนอนใกล้เคียงเดิม ดังนั้น ฟ้าสว่างเร็วขึ้น คนก็จะตื่นเช้าขึ้น และเมื่อมีการเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้น คนก็จะออกมาทำงานเร็วขึ้น การใช้ชีวิตในช่วงค่ำก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากนัก เพราะฟ้ายังสว่างอยู่ และเข้านอนเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าก็จะลดลง

ช่วงเวลา Daylight Saving Time ในแต่ละปี

          การเริ่มต้นช่วงเวลาของ Summer Time หรือ Daylight Saving Time แต่ละประเทศจะไม่ตรงกันทั้งหมดครับ ขึ้นอยู่กับกฏหมายของ และข้อตกลงร่วมกันของแต่ละประเทศ

          ปกติในปฏิทินราฟาเอลประจำปี มีการระบุช่วงเวลา Summer time ของประเทศอังกฤษไว้ (British Summer Time) ส่วนข้อมูลของช่วงเวลา Summer Time ของประเทศอื่นๆ เราคงต้องหาข้อมูลกันเอง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง เช่น http://www.worldtimezone.com/daylight.html

          ในสหรัฐอเมริกา เพิ่งมีการออกกฏหมายใหม่ของกระทรวงพลังงาน ประกาศเปลี่ยนแปลงช่วงเวลา Daylight Saving Time ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นไป โดยเปลี่ยนจากเดิมที่เริ่ม ณ เวลา 2 a.m. ของ วันอาทิตย์แรก ของเมษายน จนถึง 2 a.m. ของ วันอาทิตย์สุดท้ายของ ตุลาคม เป็นให้เริ่ม ณ เวลา 2 a.m. ของวันอาทิตย์ที่ 2 ของ เดือนมีนาคม จนถึง 2 a.m. วันอาทิตย์แรกของ เดือนพฤศจิกายน 

ตารางแสดงช่วงเวลาของ Daylight Saving Time ของ US และ Summer Time ของ ยุโรป

 

การใช้ Daylight Saving Time ในการคำนวณดวงชะตา

          ในการคำนวณดวงชะตานั้น จะคำนวนหาสมผุสดาวจากเวลาอ้างอิง ซึ่งปกติจะใช้เวลาอ้างอิง GMT เป็นหลัก (สังเกตได้จากปฏิทินโหราศาสตร์ จะบอกตำแหน่งดาว ณ เวลา GMT ทั้งนั้น) และคำนวนเมอริเดียน และลัคนา จากเวลาดาราคติท้องถิ่น (Local Sidereal Time) ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดที่ต้องใช้ในการคำนวณดวงชะตา คือ เวลากำเนิด หรือเวลาต้องประสงค์ ณเวลา GMT, ละติจูด (Latitude) และ ลองติจูด (Longitude) ของสถานทีกำเนิด หรือสถานที่ตั้งของดวงชะตา

          ปัจจุบันโปรแกรมทางโหราศาสตร์ต่างประเทศที่เป็นที่นิยม เช่น Solar Fire หรือ Janus เป็นต้น จะบรรจุฐานข้อมูล Time Zone และช่วงเวลา Daylight Saving Time เพราะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ชาวต่างประเทศใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว รวมถึงข้อมูล ละติจูด และลองติจูด ของเมืองสำคัญๆ แต่ละประเทศ ไว้ด้วย

          อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องรู้ว่าดวงชะตาที่จะคำนวณนั้น อยู่ในช่วง Daylight Saving Time หรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูล และสามารถกรอกข้อมูลวันและเวลาของดวงชะตา ได้อย่างถูกต้อง

          ดังนั้นเวลาเราถามเวลาเกิดของชาวต่างชาติ หรือคนที่เกิดในต่างประเทศ นอกจะถามถึงเวลา และสถานที่เกิดแล้ว นักพยากรณ์ก็ต้องถามเสมอว่า เวลาที่บอกเป็นเวลาที่อยู่ในช่วง Saving Time หรือเปล่า (เป็นเวลาท้องถิ่น หรือเป็นเวลามาตรฐาน Standard Time Zone)

เรามาลองคำนวณหาเวลา GMT จากเวลา Daylight Saving Time กันดีกว่า

          ตัวอย่าง เวลาเริ่มการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 ระหว่าง อิตาลี กับ ฝรั่งเศส วันที่ 9 กรกฏาคม 2549 เวลาท้องถิ่น 20.00 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน

 

 

          สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนจากข้อมูล คือ การบอกเวลาเป็นเวลาท้องถิ่น แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นช่วง Summer Time หรือไม่ สาเหตอันเนื่องมาจาก Summer Time เป็นซึ่งที่คนยุโรปโดยทั่วไปเข้าใจกันดีอยู่ แต่คนไทยอย่างเรา ไม่คุ้นกับการปรับเวลาดังกล่าว อาจทำให้สับสนกับเวลาท้องถิ่นที่เขาใช้ได้

          เมื่อลองตรวจสอบจากแผนผังช่วงเวลา Summer Time จะเห็นได้ว่าวันที่ 9 ก.ค. 49 อยู่ระหว่าง 26 มี.ค. – 29 ต.ค. 49 ซึ่งยังอยู่ในช่วงการปรับเวลา Summer Time ดังนั้นเวลาท้องถิ่นที่แจ้งมานั้นจึงเป็นเวลาปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงแล้ว

          Time Zone ปกติ (Standard Time) ของ เยอรมัน คือ GMT +1 แต่เมื่อเป็นช่วง Summer Time นั้น จะมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นกว่าปกติ 1 ชั่วโมง ดังนั้นการบอกเวลาของ เยอรมัน จึงกลายเป็น GMT +2
          การแปลงเวลาเป็น GMT นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1

เวลาที่เริ่มแข่ง คือ 20.00 วันที่ 9 กรกฏาคม 2549 สามารถแปลงให้เป็นเวลาปกติ (Standard Time) โดยการหักออก 1 ชั่วโมง จะได้เวลา 19.00 (GMT + 1)
แปลงเป็นเวลา GMT = 19 - 1 = 18.00

วิธีที่ 2

แปลงโดยใช้เวลาท้องถิ่นเลย 20.00 (GMT+ 2)

แปลงเป็นเวลา GMT = 20.00 - 2 = 18.00

ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์เดียวกัน

          เมื่อเราได้เวลา ณ GMT แล้ว เราก็สามารถนำเวลา GMT ที่ได้ ไปคำนวนหาสมผุสดาว และหา เวลาดาราคติท้องถิ่น (Local Sidereal Time) จาก Latitude และ Longitude เพื่อคำนวนเมอริเดียน และ ลัคนา ของดวงชะตาต่อไป

          คราวนี้ขออธิบายวิธีในการกรอกเวลาดวงชะตาสำหรับคนที่ใช้โปรแกรมต่อนะครับ ผมแบ่งวิธีการกรอกออกเป็น 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ใส่เวลาท้องถิ่นที่แปลงเป็นเวลามาตรฐานแล้ว (Standard Time) และใส่ Time Zone เป็น Standard Time Zone

กรอกข้อมูลตัวอย่าง เวลา = 19.00 และ Time Zone = GMT + 1

วิธีที่ 2 ใส่เวลาท้องถิ่นในช่องสำหรับกรอกเวลาเลย และใส่ Time Zone ที่ปรับเวลา Daylight Saving Time แล้ว

กรอกข้อมูลตัวอย่าง เวลา = 20.00 และ Time Zone = GMT + 2

วิธีที่ 3 ใส่เวลา GMT และใส่ Time Zone = 0 GMT

กรอกข้อมูลตัวอย่าง เวลา = 18.00 และ Time Zone = GMT + 0

          ทั้ง 3 วิธีให้สมผุสของดาว เมอริเดียน และ ลัคนา เดียวกันหมด เนื่องจากโปรแกรมจะแปลงเวลาที่เรากรอกให้เป็น GMT และไปคำนวณต่อนั่นเอง

          ถ้าเราต้องการแปลงเวลาท้องถิ่นของการแข่งขันให้เป็นเวลาไทย ก็สามารถทำไม่ยาก

เริ่มต้นจาก Time Zone ของประเทศไทย คือ GMT+7

เวลา GMT คือ 18.00

สามารถเทียบเป็นเวลาในประเทศไทยได้เท่ากัน 18.00 + 7 = 25.00 = 1.00 am วันที่ 10 กรกฏาคม 2549 (คืนวันที่ 9 ก.ค. 49)

          คราวนี้รับรองได้ว่า นอกจากคุณจะไม่พลาดเรื่องการดูบอลแล้ว คุณยังไม่พลาดการทำนายดวงชะตา อันเนื่องมาจากการคำนวณด้วยเวลาที่ผิดพลาดอีกด้วย

          และสรุปได้อีกว่า สาระสำคัญของ โหราศาสตร์ คือ กาละ (Time) และ เทศะ (Space) จริงๆ

ที่มา
http://www.worldtimezone.com/daylight.html
http://webexhibits.org/daylightsaving/b.html
http://webexhibits.org/daylightsaving/g.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Temperate
http://en.wikipedia.org/wiki/Daylight_saving_time
http://en.wikipedia.org/wiki/Time_zone

หมายเหตุ

Local Sidereal Time หรือเวลาดาราคติท้องถิ่น (LST) = Local Mean Time หรือเวลาท้องถิ่นเฉลี่ย (LMT) + Greenwich Sidereal Time หรือเวลาดาราคติที่กรีนิช (GST)

หรือ LST = LMT + GST




เจาะลึกโหรา

ธาตุทั้งสี่ และการนำไปใช้เชิงจิตวิทยา
ไฟ ดิน ลม น้ำ ปฐมบทของโหราศาสตร์
ดวงจีโอเดติก ดาวพลูโต และวงรอบเสียกรุง 2310
โหราศาสตร์กับเงินตราสกุลหลักของโลก article
คัมภีร์เตตราบิโบลส ต้นธารของโหราศาสตร์ไทยและยูเรเนียน? article
บ้านเหนือ บ้านใต้ ตอนจบ article
บ้านเหนือ บ้านใต้ ตอน 1 article
เรือนชะตาจันทร์ 28 เรือน article
การกลับมาของเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Return of Great Depression?) article
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ article
เรือนชะตา 24 ระบบ article
โหราศาสตร์ธุรกิจ: กรณีศึกษาอัตราเงินเฟ้อและตลาดหลักทรัพย์ไทย article
ข่าวล่า เกี่ยวกับการประชุมโหราศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๑๘ article
การประชุมทางวิชาการโหราศาสตร์ระหว่างชาติประจำปี ๒๕๑๘ article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 4: เซอุส article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 3: ฮาเดส article
เลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 2: คิวปิโด article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 1: ที่มาของดาวทิพย์ article
ความเป็นมาของโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอนจบ article
ความเป็นมาของโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 1 article
คอมพิวเตอร์ในวงการโหราศาสตร์ article
วิวัฒนาการ ของ โหราศาสตร์ article
โหราศาสตร์ กับที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์ article
จารึกมรกต : ที่มาของ ปรัชญามูลฐาน แห่ง โหราศาสตร์ article



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (98359)
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น Lalaa วันที่ตอบ 2010-10-07 16:36:49


ความคิดเห็นที่ 2 (106644)

มีประโยชน์มากๆครับ เชื่อว่าคนหลายสิบล้านทั่งประเทศก็ไม่รู้เรื่องนี้ครับ อิอิ เผื่อจะได้ไปอยู่ยุโรปบ้างนะเรา

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น อ่านแล้วมีประโยชน์ วันที่ตอบ 2012-05-09 17:28:34



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
eXTReMe Tracker