ReadyPlanet.com
dot
dot dot
dot
เกี่ยวกับเรา Horauranian.com
dot
bulletรำลึกถึง อาจารย์ พลตรี ประยูร พลอารีย์
bulletเจตนารมณ์
bulletติดต่อเรา
bulletโหราพยากรณ์
dot
บทความ
dot
bulletเกร็ดโหรน่ารู้
bulletเจาะลึกโหรา
bulletโหราศาสตร์บ้านเมือง
bulletBlog อ.วิโรจน์
bulletแนะนำตำรา
bulletไพ่ยิปซี จักรราศี (Celestial Tarot)
bulletกระดานถามตอบ
bulletคลังบทความดวงเมืองเศรษฐกิจ 2550-2552
bulletคลังกระทู้โหราศาสตร์ที่น่าสนใจ
dot
บทความน่าสนใจ
dot
bulletประเทศไทยหลังคดียึดทรัพย์ 2553
bulletReturn of Great Depression?
bulletChange! ผู้นำยุคใหม่ของโลก
bulletเรือนชะตาจันทร์ 28 เรือน
bulletโหราศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์
bulletเลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง
bullet6 ขั้นตอนเพื่อการดูหมออย่างคุ้มค่า
bulletชนะใจคนรัก 12 ราศี
dot
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
dot
bulletเพจ โหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletโหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletCelestial Strategist Blog
bulletBlog โหราเศรษฐกิจ
bulletเว็บไซต์ที่น่าสนใจ




มารู้จักวันพาย (Pi Day) กันเถอะ article

โดย Pallas
22 กรกฎาคม 2551

          วันนี้เป็นวันที่ 22 กรกฎาคม (ในทางโหราศาสตร์จะตรงกับวันที่ดาวอาทิตย์ยกเข้าราศีสิงห์ ราศีแห่งการสร้างสรรค์และการเป็นผู้นำ) หากเขียนวันที่เป็นตัวเลขแบบยุโรปก็จะเป็น 22/7 ซึ่งก็คือค่าโดยประมาณของค่าพาย (π) และเป็นที่มาของการกำหนดให้วันที่ 22 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันพาย (Pi Day π) อันที่จริงแล้ว ยังมีอีก 2 วันที่ถูกเลือกให้เป็นวันพายเหมือนกัน นั่นคือ วันที่ 14 มีนาคม ซึ่งเขียนวันที่ในรูปแบบอเมริกันจะได้ว่า 3.14 ตรงกับค่าประมาณของ Pi (3.14159..) นอกจากนี้ยังมีอีก 2 วันที่ถูกกำหนดให้เป็นวันพายเช่นกัน นั่นคือวันที่ 10 พฤศจิกายน (ในปีอธิกสุรทินจะตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน) เพราะเป็นวันที่ 314 ของปี และยังมีอีกวันหนึ่งคือ 21 ธันวาคม เวลา 1:13 pm  ซึ่งเป็นวันที่ 355ของปี เมื่อรวมกับเวลาดังกล่าว ก็จะตรงกับค่าประมาณของ Pi เท่ากับ 355/113 ที่นักคณิตศาสตร์ชาวจีน จูฉงจือ (Zu Chongzhi) คำนวณไว้เมื่อปี ค.ศ. 429-501 หรือกว่า 1,500

          การเฉลิมฉลองในวันพายครั้งแรกนั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 ที่พิพิธภัณฑ์สำรวจแห่งซานฟรานซิสโก (San Fancisco Exploratorium) ริเริ่มโดยนายแลร์รี่ ชอว์ (Larry Shaw) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน โดยฉลองกันในวันที่ 14 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันเกิดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) อีกด้วย

แล้วทำไมต้องฉลองวันพายกันด้วย?

          สำหรับนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์แล้ว ค่า π เป็นค่าที่สำคัญในการคำนวณที่เกี่ยวกับวงกลมทั้งหมด เพราะค่านี้มาจากความมหัศจรรย์ของวงกลมที่ว่า ไม่ว่าวงกลมจะมีขนาดเป็นเท่าใด ค่าเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางจะมีค่าคงที่เสมอ นั่นคือค่า π นั่นเอง

          ดังนั้น หากใครก็ตามต้องการที่จะทำงานที่ต้องเกี่ยวกับกับขนาดของวงกลม ไม่ว่าจะเป็นเส้นรอบวง พื้นที่วงกลม หรือปริมาตรของทรงกลม ก็ต้องนำค่า π ไปใช้ในการทำงานเสมอ เช่น การคำนวณวงโคจรของดวงดาว การก่อสร้างประตูโค้ง สะพานโค้ง หรือแม้แต่การสร้างอ่างรูปกลม เป็นต้น ทำให้ค่า π นี้ถือเป็นค่าคงที่ที่สำคัญที่สุดค่าหนึ่งของโลกเลยทีเดียว  ดังนั้น จึงไม่แปลกที่นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์จะให้ความสำคัญของค่าพายจนถึงกับกำหนดเป็นวันสำคัญวันหนึ่งทีเดียว

ประวัติการคำนวณค่าพาย

          จากบันทึกกระดาษปาปิรุสของอียิปต์ตั้งแต่ยุค 2,000 ปีก่อนคริสตกาล มีการคำนวณหาพื้นที่วงกลม 9 หน่วย ซึ่งคำนวณค่า π ได้เท่ากับ (16/9)2 = 3.1605 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าพายมากพอสมควรทีเดียว

          ในยุคของกษัตริย์โซโลมอนมหาราชของชาวยิว ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีการก่อสร้างวิหารของกษัตริย์โซโลมอนขึ้น ในวิหารนั้น มีอ่างขนาดใหญ่สำหรับไว้ล้างมือก่อนประกอบพิธีกรรม เรียกว่า Molten Sea ซึ่งในบันทึกที่ค้นพบ ได้อธิบายสัดส่วนของอ่างนั้น และคำนวณค่า π ที่ใช้ในการสร้างอ่างนั้นว่าเท่ากับ 3 ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณนั่นเอง

          มาถึงยุคกรีก อาร์คีมีดีส (250 ปีก่อนคริสตกาล) คำนวณได้ว่าอยู่ระหว่าง 223/71 กับ 22/7 หรือระหว่าง 3.140845… กับ 3.142857… ซึ่งถูกต้องถึงระดับทศนิยมหลักที่ 2 พอมาถึง ค.ศ. 480 จูฉงจือได้คำนวณว่าอยู่ระหว่าง 3.1415926 กับ 3.1415927 ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับค่าพายอย่างมาก (ถูกต้องจนถึงทศนิยมที่ 6) กว่าที่จะมีผู้สามารถคำนวณได้ละเอียดกว่านี้ก็ต้องรอจนถึง ค.ศ. 1400 นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอินเดีย Sangamagrama ถึงสามารถคำนวณค่าพายให้ถูกต้องจนถึงทศนิยมที่ 13 นับว่าความรู้คณิตศาสตร์ของจีนตั้งแต่ยุคโบราณก้าวหน้ากว่าอารยธรรมอื่นในโลกมากทีเดียว

          ปัจจุบัน เรามีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ ทำให้สามารถคำนวณค่าพายได้ถูกต้องละเอียดกว่าในอดีตอย่างมาก ล่าสุดในปี ค.ศ. 2002 ดร.คานาดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้คำนวณถึงทศนิยมหลักที่ 1,241,100,000,000 เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม สำหรับการใช้งานทั่วไป ค่า π ที่คำนวณตั้งแต่สมัยจูฉงจือก็น่าจะเพียงพอแล้ว

พายเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์อย่างไร?

          โหราศาสตร์เป็นการพยากรณ์จากปรากฏการณ์บนท้องฟ้า นักโหราศาสตร์นำตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้ามาเขียนเป็นดวงชะตาในรูปวงกลม เสมือนเป็นการจำลองภาพ 3 มิติ (ทรงกลมฟ้า) มาเป็นภาพ 2 มิติ (ดวงชะตา)

          เพื่อสามารถคำนวณดวงชะตาให้ถูกต้อง นักโหราศาสตร์จำเป็นที่จะต้องมีปฏิทินดวงดาวที่มีความแม่นยำ การคำนวณตำแหน่งดวงดาวนั้นจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับวงกลมอย่างมาก เมื่อเราพูดถึงวงกลม เราก็ต้องคิดถึงค่า π เสมอ ในยุคปโตเลมี เชื่อกันว่าวงโคจรของดวงดาวอยู่ในลักษณะวงกลม ต่อมาเมื่อเราค้นพบว่าโลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะวงรี เคปเลอร์จึงได้สร้างกฎการโคจรของดาวขึ้น โดยเฉพาะกฎข้อที่ 3 นั้น เมื่อขยายด้วยกฎของนิวตัน ก็จะมี π อยู่ในสมการด้วย (ขออนุญาตไม่ลงสมการเพราะค่อนข้างซับซ้อน) ดังนั้น หากสามารถคำนวณค่าพายได้ถูกต้อง ตำแหน่งดวงดาวตามปฏิทินดาวก็จะถูกต้องไปด้วย ส่งผลให้การพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์สอดคล้องกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามากยิ่งขึ้น พูดง่ายๆคือ ช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำขึ้นนั่นเอง

          ดังนั้น เมื่อถึงวันพายเช่นวันนี้ นักโหราศาสตร์ลองหันมาศึกษาเรื่องค่า π ก็น่าจะช่วยให้เข้าใจกลไกของฟ้าได้ดีขึ้น และนำไปสู่ความมั่นใจในคำพยากรณ์ของเราต่อไปครับ

แหล่งข้อมูล
http://www.pidayinternational.org
http://eng.wikipedia.org




เกร็ดโหรน่ารู้

รัก 7 ปี ดี 7 หน
ลงทุนให้รวยด้วยธาตุสี่
ต้อนรับวันศารทวิษุวัต 22 ก.ย.55 article
ปฏิทิน 24 ฤดูกาลของจีนกับจักรราศีตะวันตก
โหราศาสตร์ใน The Lost Symbol ตอน 1
แวดวงโหราโลก ฉบับที่ 1/2551 article
ใครคือ ด็อกเตอร์ดี ในภาพยนตร์เรื่อง Elizabeth: The Golden Age article
โหราศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอน 2 article
แวดวงโหราโลก ฉบับที่ 1/2550 article
โหราศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอน 1 article
โหราศาสตร์กับเพลงคลาสสิค article
อัญมณีกับสิบสองราศี article
เลือกซื้อของขวัญให้ถูกใจแต่ละราศี article
ธาตุทั้งสี่กับการบริหารจัดการ article
ชนะใจคนรัก 12 ราศี article
6 ขั้นตอนเพื่อการ ดูดวง อย่างคุ้มค่า article
จักรราศี กับ พฤติกรรมการช้อปปิ้ง article



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (88435)
h
ผู้แสดงความคิดเห็น คนผ่านมาพบ วันที่ตอบ 2009-08-13 20:43:45


ความคิดเห็นที่ 2 (93389)

ขอบคุณมากครับที่นำความรู้ที่ดีมาให้

^^~

ซาบซึ้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น คนไทยใจ 1เดียว วันที่ตอบ 2010-03-13 23:13:35


ความคิดเห็นที่ 3 (93390)
555+
ผู้แสดงความคิดเห็น 5555 วันที่ตอบ 2010-03-13 23:16:43


ความคิดเห็นที่ 4 (93391)

ขอบคุณมากๆค่ะ   *-*

ผู้แสดงความคิดเห็น taeyeonfc วันที่ตอบ 2010-03-13 23:39:31


ความคิดเห็นที่ 5 (93392)
ขอบคุณมากๆครับ ชอบมากเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น pokoroko วันที่ตอบ 2010-03-13 23:42:55


ความคิดเห็นที่ 6 (93397)

***

ผู้แสดงความคิดเห็น jack วันที่ตอบ 2010-03-14 02:45:50


ความคิดเห็นที่ 7 (93401)

 ดีมากเลย ยย ย  ช๊อบๆๆๆชอบบบบ :D

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ ประ จัญ บาน วันที่ตอบ 2010-03-14 07:03:51


ความคิดเห็นที่ 8 (93403)

ขอบคุณที่ทำให้ได้ความรู้คั๊ บ

ผู้แสดงความคิดเห็น จอนสั้น-เกรียน วันที่ตอบ 2010-03-14 10:06:15


ความคิดเห็นที่ 9 (93404)

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยคับ ขอบคุณมากๆ คับ

ผู้แสดงความคิดเห็น golf วันที่ตอบ 2010-03-14 11:07:04


ความคิดเห็นที่ 10 (93407)

~^_^ ~

ผู้แสดงความคิดเห็น ..... วันที่ตอบ 2010-03-14 11:39:50


ความคิดเห็นที่ 11 (93411)

สำหรับคนที่สนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และโหราศาสตร์แล้ว

 

เป็นความรู้ที่น่าสนใจทีเดียวครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น MawhY (freetime_may-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-14 14:08:02


ความคิดเห็นที่ 12 (93414)

อยากให้คนอ่านกันมากๆเพราะเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าเวรกรรมมีจริง

ผู้แสดงความคิดเห็น ยีนส์ วันที่ตอบ 2010-03-14 16:36:49


ความคิดเห็นที่ 13 (98849)
กบสุวนันท์คงยิ่งเกิดวันพายเวลาเล่นละครเกี่ยวกับเรื่องชื่อเป็นวงกลมมักจะเล่นได้ดีค่ะตัวอย่าง ทัดดาวบุษยา,ดาวพระศุกร์,ตะวันทอแสง,ดาวแต้มดิน,อีส้มสมหวังรวมทั้งมาลัยทอง
ผู้แสดงความคิดเห็น นุ่น วันที่ตอบ 2010-10-27 04:51:56


ความคิดเห็นที่ 14 (98850)
ตั้งไข่ล้มพรหมไม่ลิขิต,คุณแจ๋วกระเพราไก่คุณชายไข่ดาว,ลูกตาลลอยแก้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น นุ่น วันที่ตอบ 2010-10-27 05:02:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
eXTReMe Tracker