ReadyPlanet.com
dot
dot dot
dot
เกี่ยวกับเรา Horauranian.com
dot
bulletรำลึกถึง อาจารย์ พลตรี ประยูร พลอารีย์
bulletเจตนารมณ์
bulletติดต่อเรา
bulletโหราพยากรณ์
dot
บทความ
dot
bulletเกร็ดโหรน่ารู้
bulletเจาะลึกโหรา
bulletโหราศาสตร์บ้านเมือง
bulletBlog อ.วิโรจน์
bulletแนะนำตำรา
bulletไพ่ยิปซี จักรราศี (Celestial Tarot)
bulletกระดานถามตอบ
bulletคลังบทความดวงเมืองเศรษฐกิจ 2550-2552
bulletคลังกระทู้โหราศาสตร์ที่น่าสนใจ
dot
บทความน่าสนใจ
dot
bulletประเทศไทยหลังคดียึดทรัพย์ 2553
bulletReturn of Great Depression?
bulletChange! ผู้นำยุคใหม่ของโลก
bulletเรือนชะตาจันทร์ 28 เรือน
bulletโหราศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์
bulletเลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง
bullet6 ขั้นตอนเพื่อการดูหมออย่างคุ้มค่า
bulletชนะใจคนรัก 12 ราศี
dot
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
dot
bulletเพจ โหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletโหราศาสตร์ยูเรเนียน โดย อ.วิโรจน์ กรดนิยมชัย
bulletCelestial Strategist Blog
bulletBlog โหราเศรษฐกิจ
bulletเว็บไซต์ที่น่าสนใจ




เรือนชะตา 24 ระบบ article

โดย Phainon
กันยายน 2551

          ระบบเรือนชะตาของยูเรเนียนนั้นใช้จุดเจ้าชะตาเป็นตัวกำหนดตำแหน่งของเรือน และแต่ละเรือนมีขนาดความกว้างเท่ากัน มีทั้งหมด 6 ระบบ คือ เรือนชะตาเมอริเดียน เรือนชะตาลัคนา เรือนชะตาโลก เรือนชะตาอาทิตย์ เรือนชะตาจันทร์ และเรือนชะตาราหู ยังไม่นับรวมถึงเรือนชะตาดาวเคราะห์อื่นๆอีก ซึ่งแตกต่างจากโหราศาสตร์ไทยที่เรือนชะตา และราศีซ้อนทับกันอยู่

          เมื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราคัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ ของ อาจารย์ประยูร พลอารีย์ พบว่ายังมีมีเรือนชะตาชนิดไม่เท่าแบบอื่นอีกที่นิยมใช้กันในโหราศาสตร์สากล เช่น ระบบเรือนชะตาแบบพลาสิดุส ระบบเรือนชะตาแบบคัมพานุส และเรือนชะตาแบบระบบเรจิโอมอนตานุส ส่วนเรือนชะตาแบบเรือนไม่เท่าที่โหราศาสตร์สากลสำนักฮัมเบอร์กนิยมใช้กัน คือ ระบบเรือนชะตาแบบเมอริเดียน  (Meridian House System) จากเอกสารการเรียนการสอนของอาจารย์ประยูร เราคงคุ้นเคยกับตารางคำนวนเรือนชะตาสำหรับกรุงเทพที่ใช้คำนวนตำแหน่งลัคนา และเมอริเดียน หากสังเกตจะพบว่ามีตารางลักษณะเช่นเดียวกันนี้ด้วยในปฏิทินราฟาเอล ซึ่งคือตารางคำนวนสำหรับระบบเรือนชะตาพลาสิดุสนั้นเอง

          จนกระทั่งเริ่มใช้งานโปรแกรมโหราศาสตร์ของต่างประเทศ เช่น  Astrolog, Zet 8 หรือ SolarFire พบว่ายังมีระบบเรือนชะตาอีกมากมายที่ผมไม่คุ้นเคย บางโปรแกรมมีให้เลือกมากกว่า 10 ระบบ ผมจึงตั้งคำถามขึ้นมาเพื่อค้นคว้าต่อไปว่า สาเหตุใดเรือนชะตาจึงมีหลายระบบ แตกต่างกันอย่างไร และทำไมจึงไม่มีข้อสรุปจากนักโหราศาสตร์ในการเลือกใช้ระบบเรือนชะตาเพียงระบบใดระบบหนึ่ง

          ในโอกาสที่มีการรวบรวมบทความโหราศาสตร์เพื่อจัดทำหนังสือที่ระลึกวัน “โหรจรัญ” พ.ศ. 2551 ผมจึงถือโอกาสนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบเรือนชะตาประเภทต่างๆ ในแง่มุมด้านดารา-โหราศาสตร์ และเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ ทั้งจากเอกสารงานเขียนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาโหราศาสตร์ ผู้มีความสนใจและข้อสงสัยในเรื่องระบบเรือนชะตา

          ในบทความนี้จะยังไม่กล่าวถึงวิธีการคำนวน แต่จะกล่าวถึงหลักการโดยสรุปของเรือนชะตาแต่ละแบบ ทุกคนใช้เรือนชะตาเป็นเครื่องมือพื้นฐาน  และมีความสำคัญมากในการพยากรณ์ เรือนชะตาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโหราศาสตร์มานานมาก จนแทบไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า โหราศาสตร์มีเรือนชะตาให้เลือกใช้มากกว่า 24 แบบ

เรือนชะตา คือ อะไร

          ยุคเริ่มต้นของโหราศาสตร์นั้น การพยากรณ์จะใช้เพียงการอ้างอิงตำแหน่งดาวกับกลุ่มดาวฤกษ์ และค้นพบความสอดคล้องระหว่างปรัชญาการดำเนินชีวิต และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงพัฒนาระบบจักรราศี ซึ่งมาจากเส้นทางการโคจรของดวงอาทิตย์นั้นเอง สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าเราสังเกตปรากฏการณ์จากพื้นผิวโลก โลกจึงเป็นศูนย์กลางของการโคจร (Geocentric)

          ในยุคนั้นได้เน้นการพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมือง หรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในยุคสมัยเป็นหลัก ยังไม่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลโดยตรง จึงยังไม่มีการพัฒนา หรือให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเรือนชะตา

          ต่อมาวิทยาการเจริญก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มมีการทำนายในลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น นักโหราศาสตร์ (ในสมัยนั้นเป็นนักดาราศาสตร์ด้วย) จึงได้พัฒนาระบบเรือนชะตาอย่างต่อเนื่องมากมายหลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละท่าน หลายท่านอาจจะไม่รู้ว่าในอดีตเคยมีระบบเรือนชะตาประเภท 8 หรือ 24 เรือนด้วย แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม ท้ายที่สุดสรุปจบตรงที่เรือนชะตา 12 เรือน สาเหตุเนื่องจากสอดคล้องกับ 12 จักรราศีมากที่สุด แต่เรือนชะตามีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าจักรราศี เพราะว่าให้ความสำคัญกับเวลา และสถานที่ของดวงชะตา และเกี่ยวข้องกับจุดเจ้าชะตาทั้งสิ้น

          คำจำกัดความของเรือนชะตาที่น่าจะเหมาะสมมากที่สุดคือ ขอบเขตของท้องฟ้าบนจักรราศี

          ระบบเรือนชะตาจึงหมายถึง วิธีการแบ่งขอบเขตของท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน โดยพยายามสะท้อนแนวคิดกลางวัน กลางคืน ให้ปรากฏอยู่ในรูปดวงชะตามากที่สุด สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงความถูกต้องตามหลักการทางดาราศาสตร์ และความแม่นยำทางโหราศาสตร์ ของวิธีคำนวนเรือนชะตาแต่ละแบบ จึงทำให้เกิดระบบเรือนชะตามากมาย

          Robert Hand ให้ข้อสังเกตในเรื่องเรือนชะตาไว้ว่า ความหมายของเรื่องราวนั้นจะเปลี่ยนแปลงทันที ณ เส้นแบ่งเรือนเลยหรือ? หรือเรื่องราวจะค่อยๆเปลี่ยนจากเรือนหนึ่งไปสู่อีกเรือนหนึ่ง และหากเรือนชะตามีเส้นแบ่งเขตเรือนชัดเจน เหตุใดเราจึงยังไม่มีระบบเรือนชะตาที่สมบูรณ์แบบได้

          Robert Hand กล่าวต่อไปอีกว่าเขามีความเชื่อว่าความเป็นจริงในทางโหราศาสตร์นั้น ไม่สามารถกำหนดขอบเขตเรือน หรือเส้นแบ่งเรือนชะตาที่ชัดเจนแน่นอน สาเหตุที่ทำให้เขาเชื่อเช่นนั้นก็เพราะว่านักโหราศาสตร์ยังคงมีความเห็นโต้แย้งในระบบเรือนชะตาในแต่ละประเภทกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นหากท่านพบว่ามีดาวอยู่ใกล้เส้นแบ่งเรือน  การอ่านความหมายก็ควรพิจารณาความหมายของเรือนชะตาใกล้เคียงประกอบด้วย

ประเภทของระบบเรือนชะตา

          เราสามารถแบ่งระบบเรือนชะตาออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่มดังนี้ คือ

1. ระบบเรือนชะตาแบบอ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์ (SPACE-BASED HOUSE SYSTEMS)

          ใช้วงกลมใหญ่ (Great Circle) เป็นตัวอ้างอิงในการแบ่งเรือนชะตา ซึ่งวงกลมใหญ่นี้อาจเป็นเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) เส้นรวิมรรค (Ecliptic) หรือวงกลมดิ่งหลัก (Prime Vertical) ก็ได้ ส่วนใหญ่มักจะแบ่งวงกลมใหญ่หนึ่งออกเป็นส่วนๆ เท่าๆกัน เสียก่อน แล้วค่อยอ้างอิงด้วยวงกลมใหญ่อีกวงหนึ่ง เพื่อกำหนดตำแหน่งของเส้นแบ่งเรือนบนเส้นรวิมรรค หรือจักรราศี

2. ระบบเรือนชะตาแบบอ้างอิงเวลา (TIME-BASED HOUSE SYSTEMS)

          แบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่จากจุดสังเกตหนึ่ง ไปยังจุดสังเกตอีกจุดหนึ่งบนจตุรางคดล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน หาตำแหน่งการเคลื่อนตามระยะเวลาดังกล่าวเป็นจุดอ้างอิงในการหาเส้นแบ่งเรือนชะตาต่อไป

ระบบเรือนชะตา 24 ระบบ

          ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่านักโหราศาสตร์ยังคงมีการพัฒนา และนำเสนอระบบเรือนชะตาใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงระบบเรือนชะตาเฉพาะที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งหมด 24 แบบ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นให้ท่านสามารถค้นคว้าต่อไป

ระบบเรือนชะตาแบบอ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์ (SPACE-BASED HOUSE SYSTEMS)

1. ระบบเรือนชะตาพอร์ฟีรี (The Porphyry House System)

          ตั้งชื่อเป็นเกียรติให้แก่ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.) นักปรัชญาชาวกรีก และลูกศิษย์ของโพลตินุส (Plotinus) พอร์ฟีรีโด่งดังจากตำราชื่อ Introduction of Ptolomy’s Tetrabiblos  ซึ่งเป็นพจนานุกรมที่บรรจุความหมาย และเทคนิคทางโหราศาสตร์ไว้ได้อย่างเข้มข้น

Horauranian_Porphyry House System

          กำหนดให้เมอริเดียนเป็นต้นเรือนที่ 10 และ ลัคนาเป็นเรือนที่ 1 จากนั้นแบ่งจตุรางคดลออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันตามเส้นรวิมรรค หรือจักรราศี เพื่อเป็นตำแหน่งของเรือนชะตาในแต่ละจตุรางคดล ปัจจุบันระบบเรือนชะตาชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว

2. ระบบเรือนชะตาคัมพานุส (Campanus House System)

          ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ Johannes Campanus หรือ Giovanni di Campani (1233-1296) เป็นนักคณิตศาสตร์ ทำงานรับใช้พระสันตะปาปาเออปาเออร์ที่ 4 (Pope Urban IV) ระบบเรือนชะตานี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากนักโหราศาสตร์ชั้นนำหลายท่าน เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้นิยามทางเรขาคณิตเรียบง่าย และชัดเจนที่สุดในการกำหนดขอบเขตเรือนชะตา แต่เนื่องจากขาดแคลนตารางเรือนชะตาคำนวนสำเร็จรูป จึงทำให้ความนิยมไม่แพร่หลายเท่าเรือนชะตาแบบพลาสิดุส

Horauranian_Campanus House System

          ใช้การแบ่งวงกลมดิ่งหลัก (Prime Vertical) เป็น 12 ส่วนๆละ 30 องศาเริ่มต้นจากจุดตะวันออก (East Point) ลากวงกลมเรือนชะตา (House Circle) ที่ลากตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ผ่านลงบนรวิมรรค

3. ระบบเรือนชะตาเรจิโอมอนทานุส (Regiomontanus House System)

          เป็นระบบเรือนชะตาที่เข้ามาทดแทนระบบเรือนชะตาอัลคาบิตุส ถูกคิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อโจแฮน มุลเลอร์ (Johannes Muller of Konigsberg) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เรจิโอมอนทานุส (Regiomontanus)

Horauranian_Regiomontanus House System

          แบ่งเส้นศูนย์สูตรฟ้าเริ่มต้นที่จุดเมษ เป็นส่วนๆ ส่วนละ 30 องศา ลากวงกลมเรือนชะตา (House Circle) ตามแนวทิศเหนือ-ใต้  ไปตัดกับเส้นรวิมรรค

4. เรือนชะตาจุดเจ้าชะตาลัคนา หรือเรือนชะตาเรือนเท่า (As or Equal House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งลัคนาเป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1 ซึ่งตามระบบเรือนชะตาแบบนี้ เมอริเดียนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในเรือนที่ 10 เสมอไป

5. เรือนชะตาโลก (Earth House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งที่ 0 องศาราศีตุล เป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1

6. ระบบเรือนชะตาจุดเจ้าชะตาเมอริเดียน (Mc House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งเมอริเดียนเป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 10

7. ระบบเรือนชะตาจุดเจ้าชะตาจันทร์ (Moon House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งจันทร์เป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 10

8. ระบบเรือนชะตาจุดเจ้าชะตาอาทิตย์ (Sun House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 4

9. ระบบเรือนชะตาอาทิตย์ (Solar House System)

          เป็นเรือนชะตาแบบเรือนเท่า ทุกเรือนมีขนาด 30 องศาเท่ากันทั้งหมด กำหนดให้ตำแหน่งอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1

10. ระบบเรือนชะตาอาร์คทูรัน (Arcturan House System)

          แบ่งวงกลมขอบฟ้า (Horizontal Circle) ออกเป็น 30 องศาเท่าๆกัน แล้วลากวงกลมลองจิจูด (Longitude Circle) ผ่านลงบนเส้นรวิมรรค โดยเริ่มต้นที่จุดตะวันออก (East Point)

11. ระบบเรือนชะตาขอบฟ้า (Horizontal House System)

          แบ่งวงกลมขอบฟ้า (Horizontal Circle) ออกเป็น 30 องศาเท่าๆกัน แล้วลากวงกลมดิ่ง ( Vertical circle) ผ่านลงบนเส้นรวิมรรค โดยเริ่มต้นที่จุดตะวันออก (East Point)

12. ระบบเรือนชะตาเมอริเดียน (The Meridian House system)

          แบ่งเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) ออกเป็น 30 องศาเท่าๆกัน โดยเริ่มจากจุดตะวันออก (East Point) ลากวงกลมชั่วโมง (Hour Circle) ผ่านลงบนรวิมรรค

13. ระบบเรือนชะตามอรินุส (Morinus House System)

          แบ่งเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) ออกเป็น 30 องศาเท่าๆกัน โดยเริ่มจากจุดตะวันออก (East Point) ลากวงกลมลองจิจูด (Longitude Circle) ผ่านลงบนรวิมรรค

14. ระบบเรือนชะตาบัณฑิตแห่งชาติ (National Graduation House System)

          อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเรือนชะตา Porphyry แต่ใช้การคำนวนทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนกว่า

15. ระบบเรือนชะตาชั่วโมงธรรมชาติ (Natural Hours House System)

          ใช้องศาของลัคนา ณ เวลาอาทิตย์ขึ้น และอาทิตย์ตกของสถานที่ และวันที่ต้องการคำนวนดวงชะตา มาแบ่งเป็น 6 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อใช้เป็นความกว้างของเรือนชะตา ใช้วิธีนี้ทั้งเรือนชะตาซีกกลางวัน และเรือนชะตาซีกกลางคืน

16. ระบบเรือนชะตาโอคโทโพส (Octopos House System)

          แบ่งวงกลมดิ่งหลัก (Prime Vertical) ออกเป็น 8 ส่วน กว้าง องศาเท่าๆกัน โดยเริ่มจากจุดตะวันออก (East Point) ลากวงกลมเรือนชะตา (House Circle) ตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ผ่านลงบนรวิมรรค ระบบเรือนชะตานี้มีทั้งหมด 8 เรือนชะตา และมีวิธีการนับเรือนแตกต่างกับระบบอื่นสิ้นเชิง  โดยเรือนที่ 1 จะอยู่ตรงข้ามลัคนา และนับตามเข็มนาฬิกา หากท่านต้องการหลีกหนีความจำเจ ก็ลองค้นคว้าศึกษาระบบนี้ได้ครับ

17. ระบบเรือนชะตาเรเดียนท์ (Radiant House System)

          เหมือนกับระบบเรือนชะตา Horizontal

18. ระบบเรือนชะตาซาเรียล (Zariel House System)

          เหมือนกับระบบเรือนชะตาเมอริเดียน

ระบบเรือนชะตาแบบอ้างอิงเวลา (TIME-BASED HOUSE SYSTEMS)

19. เรือนชะตาอัลคาบิทัส (Alcibitius declination house system)

          เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 1 เนื่องจากพบดวงชะตาของกรีกที่คำนวนด้วยเรือนชะตานี้ และพบในตำราของ Rhetorius ชาวอียิปต์ในศตวรรษที่ 5 แต่ยุคที่มีการแพร่หลายของเรือนชะตานี้เกิดขึ้นในหมู่นักโหราศาสตร์ชาวอาหรับ จากตำราของอัลคาบิทิอุส (Alcabitius, c.916-967) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อระบบเรือนชะตา และกลับไปแพร่หลายในยุโรปอีกครั้งในยุคกลางก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบเรือนชะตา Regiomontanus

Horauranian_Alcabitius House System

          ใช้การแบ่งครึ่งโค้งกลางวัน  (Diurnal Semi-arc) และครึ่งโค้งกลางคืน (Nocturnal Semi-arc) ของลัคนาเป็น 3 ส่วนเท่ากัน (Trisection) ลากผ่านด้วยวงกลมชั่วโมง (Hour Circle) ไปยังเส้นรวิมรรค จุดเด่นของระบบนี้คือ ยังคงใช้งานได้ดวงชะตาที่เกิดบริเวณขั้วโลก

20. ระบบเรือนชะตาครึ่งโค้งอัลคาบิทัส (Alcibitius Semi-Arc House System)

          วิธีการเหมือนระบบ Alcibitius แต่ลากผ่านด้วยวงกลมดิ่ง (Vertical Circle) ไปยังเส้นรวิมรรค

21. ระบบเรือนชะตาคลาสสิค (Classical House System)

          เหมือนกับระบบเรือนชะตา Alcibitius แต่ปรับลด 5 องศาจากลัคนาเพื่อเป็นเรือนที่ 1 ตามหลักการของ ปโตเลมี (Ptolemy)

22. ระบบเรือนชะตาพลาสิดุส (Placidus or Placidian House System)

          เรือนชะตานี้ตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับนักบวชชาวอิตาลี (Placidus de Titis, 1603-1668) ผู้ซึ่งทำให้เรือนชะตาชนิดนี้เป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษที่ 17 เป็นระบบเรือนชะตาที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่นักโหราศาสตร์ เนื่องจากตารางการคำนวนเรือนชะตาสามารถหาได้ง่าย ราคาถูก ได้การตีพิมพ์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในปฏิทินรายปีของ ราฟาเอล (Raphael’s Almanac) และใช้ในสื่อการเรียนการสอนโหราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ผู้ศึกษาโหราศาสตร์ก็จะคุ้นเคยกับระบบเรือนชะตานี้มากที่สุด

          ระบบเรือนชะตาพลาสิดุสมีการปรากฏในเอกสารงานเขียนของชาวอาหรับมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 และมีการตีพิมพ์ตารางคำนวนเรือนชะตาพลาสิดุสมาตั้งแต่ค.ศ. 1604

          เกร็ดที่น่าสนใจ คือ ระบบเรือนชะตาพลาสิดุสเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือทางศาสนาในการต่อต้านทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (Heliocentric)

Horauranian_Placidus House System

          แบ่งเส้นศูนย์สูตรฟ้าเริ่มต้นที่จุดเมษ เป็นส่วนๆ ส่วนละ 30 องศา ลากวงกลมเรือนชะตา (House Circle) ตามแนวทิศเหนือ-ใต้  ไปตัดกับเส้นรวิมรรค และมีการปรับแก้ทางคณิตศาสตร์จนไม่มีการคลาดเคลื่อนของเส้นแบ่งเรือนอีก

          เรือนชะตาพลาสิดุสจะมีปัญหากับดวงชะตาในแถบขั้วโลก (สูงกว่า 66 N หรือต่ำกว่า 66 S) เนื่องจากในบางช่วงเวลาเส้นระวิมรรคไม่ตัดกับเส้นขอบฟ้า ดังนั้นจึงไม่สามารถหาเส้นเรือนชะตาได้

23. ระบบเรือนชะตาคอช (Koch House System)

          เรียกอีกชื่อว่า Birthplace House System เป็นระบบเรือนชะตาที่ได้รับความนิยมถัดจากระบบพลาสิดุส ถูกเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายครั้งแรกจากนักโหราศาสตร์ชาวเยอรมัน Dr.  Walter Koch ระบบเรือนชะตานี้ถูกคิดค้นโดย Fiedrich Zanzinger และ Heinz Specht ในประเทศเยอรมัน ประเทศบ้านเกิดของโรงเรียนโหราศาสตร์ฮัมบรูก และโหราศาสตร์คอสโมไบโอโลยี (Cosmobiology) จึงไม่น่าแปลกใจหากนักโหราศาสตร์คอสโมไบโอโลยี จะใช้เรือนชะตาระบบนี้

Horauranian_Koch House System

          วิธีการคำนวนซับซ้อนมากกว่าระบบพลาสิดุสมาก ใช้วิธีการแบ่งโค้งกลางวัน  (Diurnal Arc) ของลัคนา แล้วลากเส้นโค้งลัคนา (Ascendant Arc) ผ่านไปยังเส้นรวิมรรค

24. ระบบเรือนชะตาโทโพเซนทริค (Topocentric House System)

          หลักการคล้ายคลึงกับระบบพลาสิดุส แต่มีการคำนวนปรับแก้เรือนชะตาในช่วงขั้วโลกเพิ่มมากขึ้น เป็นเรือนชะตาใหม่ คิดค้นในอาร์เจนตินา ได้นำเสนอต่อสาธารณชนครั้งแรกในปี 1961 โดย Wendel Polich และ A.P. Nelson Page เรือนชะตานี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Polich-Page เรือนชะตานี้มีความกว้างของเรือนใกล้เคียงกับ Placidus ยกเว้นในพื้นที่ที่อยู่ใน latitude สูง และยังแก้ปัญหาในส่วนของพื้นที่ในส่วนขั้วโลกด้วย Polar circle

บทส่งท้าย

          แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าระบบเรือนชะตาใดถูกต้องที่สุด และเชื่อว่าคงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ไปอีกนาน ดังนั้น การเลือกใช้ระบบเรือนชะตาใดย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักการแบ่งเรือนชะตา และพิจารณาจากผลการพยากรณ์จากระบบเรือนชะตาใดให้ผลประทับใจมากที่สุด บทความนี้ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลระบบเรือนชะตา 24 ระบบเพื่อให้ท่านผู้สนใจศึกษาค้นคว้าและเลือกใช้ตามอัธยาศัย ผมยังแอบหวังว่าในอนาคตไม่ช้าไม่นาน นักโหราศาสตร์ไทยอาจเป็นผู้คิดค้นระบบเรือนชะตาใหม่ๆและเป็นที่ยอมรับในวงการโหราศาสตร์โลกก็ได้

ที่มา
http://www.angelfire.com/wizard/regulus_antares/House_Systems_Examined.htm
http://www.astro.com/astrology/cw_astro_houses_e.htm
http://www.aquamoonlight.co.uk/systems.html
http://www.skyscript.co.uk/houprob_print.html
http://www.skyscript.co.uk/cabal.html
http://www.stariq.com/main/articles/p0001054.htm
http://www.levante.org/domification/topocentre1.html
http://members.tripod.com/junojuno2/housesys.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/house_(astrology)
http://www.arimoya.ru/Astrology/astrohouses.html
Astro Communications Services, Inc; House Systems:Differences Between Them
Dr. Shepherd Simpson; Development of House Systems in Astrology after Classical Astrology
Robert Hand; Horoscope Symbols, (Whitford Press, 1981)
Martin Seymour-Smith; The New Astrologer, (Macmillan Publishing Company, 1981)
Michael Munkasey; The Astrological Thesaurus Book 1: House Keywords, (Llewellyn Worldwide, 1993)
สมาคมดาราศาสตร์ไทย; พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย, (สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548)
พลตรีประยูร พลอารีย์; คัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ, (โรงเรียนโหราศาสตร์กรุงเทพ, 2521)




เจาะลึกโหรา

ธาตุทั้งสี่ และการนำไปใช้เชิงจิตวิทยา
ไฟ ดิน ลม น้ำ ปฐมบทของโหราศาสตร์
ดวงจีโอเดติก ดาวพลูโต และวงรอบเสียกรุง 2310
โหราศาสตร์กับเงินตราสกุลหลักของโลก article
คัมภีร์เตตราบิโบลส ต้นธารของโหราศาสตร์ไทยและยูเรเนียน? article
บ้านเหนือ บ้านใต้ ตอนจบ article
บ้านเหนือ บ้านใต้ ตอน 1 article
เรือนชะตาจันทร์ 28 เรือน article
การกลับมาของเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Return of Great Depression?) article
พลูโตในยุคสมัยต่างๆ article
โหราศาสตร์ธุรกิจ: กรณีศึกษาอัตราเงินเฟ้อและตลาดหลักทรัพย์ไทย article
ข่าวล่า เกี่ยวกับการประชุมโหราศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๑๘ article
การประชุมทางวิชาการโหราศาสตร์ระหว่างชาติประจำปี ๒๕๑๘ article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 4: เซอุส article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 3: ฮาเดส article
เลือกฤกษ์มงคลด้วยตนเอง article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 2: คิวปิโด article
รู้จักดาวทิพย์ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 1: ที่มาของดาวทิพย์ article
ความเป็นมาของโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอนจบ article
ความเป็นมาของโหราศาสตร์ยูเรเนียน ตอน 1 article
Daylight Saving Time หรือ Summer Time ปัญหากวนใจของนักพยากรณ์ article
คอมพิวเตอร์ในวงการโหราศาสตร์ article
วิวัฒนาการ ของ โหราศาสตร์ article
โหราศาสตร์ กับที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์ article
จารึกมรกต : ที่มาของ ปรัชญามูลฐาน แห่ง โหราศาสตร์ article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
eXTReMe Tracker